9 แนวทาง 'ซ่อม' บาท อย่างเป็นรูปธรรม

ส่อง 9 แนวทางซ่อมค่าเงินบาท หากทำได้จะสามารถแก้ปัญหาค่าเงินบาทได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน มาดูกันว่าตรงไหนคือจุดอ่อน ตรงไหนต้องกำจัดปรับแก้ให้ดีขึ้น เดิมที ผู้เขียนตั้งใจว่าจะเขียนภาคจบของ 10 คำทำนายในอีก 10 ปีข้างหน้า

แต่ด้วยประเด็นค่าเงินบาทร้อนแรง และส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเสนอของผู้เขียนโดยตรง จึงขออนุญาตนำเสนอ 9 แนวทางที่จะแก้ปัญหาค่าเงินบาท และโครงสร้างเศรษฐกิจไทยระยะยาวได้ ดังนี้

1.ภาครัฐต้องเปลี่ยน Mindset เพราะปัญหาค่าเงินบาทแข็ง เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่เกิดจากความผิดพลาดของนโยบายการเงิน การคลัง และนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจไทยเป็นหลัก อาการบาทแข็ง เงินเฟ้อต่ำ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่อง การลงทุนต่ำ ความสามารถในการแข็งขันลดลง เป็นกลุ่มปัญหาที่เกิดจากรากเหง้าเดียวกันทั้งสิ้น คือ แนวนโยบายที่อนุรักษ์นิยมและคำนึงถึงเสถียรภาพจนเกินไป รวมถึงไม่มีการพิจารณาปัญหาเป็นองค์รวม จึงต้องมีการแก้ปัญหาแบบบูรณาการ ถ้าเพียงคิดแต่ว่าปัญหาค่าเงินบาทเป็นปัญหาของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพียงองค์กรเดียว ก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาได้

2.ธปท.ควรศึกษาความสัมพันธ์ของเงินเฟ้อในไทย ว่าเกิดจาก Demand pull หรือจากเศรษฐกิจที่ร้อนแรงขึ้นทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาไม่เคยมี ดังเห็นได้จากความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันกับเงินเฟ้อไทย ที่อยู่ในระดับสูงถึง 60-70% บ่งชี้ว่าเงินเฟ้อไทยส่วนใหญ่เป็น Cost push ทั้งสิ้น ซึ่งนั่นแปลว่า การใช้ดอกเบี้ยนโยบายมาคุมเงินเฟ้อที่เป็นผลจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นความคิดที่ผิด ต้องคุมที่อัตราแลกเปลี่ยนเนื่องจากประเทศไทยต้องนำเข้าน้ำมันที่เป็นปัจจัยการผลิตและการขนส่งที่สำคัญ เมื่อใดที่ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น บาทก็จะต้องแข็งเพื่อ Offset และทำให้เงินเฟ้อไม่ขึ้นมาก แต่เมื่อใดที่ราคาน้ำมันถูก บาทก็สามารถอ่อนได้

3.สภาพัฒน์หรือ สศช. ควรศึกษาความสัมพันธ์ของภาคส่วนเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกสินค้าและบริการทั้งหมด (โดยเฉพาะการท่องเที่ยว) ในเชิงจุลภาคเนื่องจากประเทศไทยเป็น Small-open economy การส่งออกทั้งสินค้าและบริการเป็นแหล่งรายได้หลักของไทย (กว่า 70% ของ GDP) หากรายได้จากการส่งออกและท่องเที่ยวรูปเงินบาทดีขึ้น อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องก็จะดีขึ้น ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่า รายได้ของภาคเศรษฐกิจไทยเกี่ยวข้องกับการส่งออกและการท่องเที่ยวโดยรวมไม่น้อยกว่า 85% (ส่งออกสินค้า 70% ของเศรษฐกิจไทย ส่งออกบริการที่รวมการท่องเที่ยว 15%)

4.กระทรวงการคลัง ควรเสนอกฎหมายยกเลิกการยึดเป้าหมายเงินเฟ้อในการทำนโยบายการเงิน และหันไปใช้เป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยนแทนโดยหากอัตราแลกเปลี่ยนมีความสำคัญทั้งด้านเสถียรภาพราคา (คุมเงินเฟ้อได้) และการเติบโตเศรษฐกิจ (เพราะเศรษฐกิจส่วนใหญ่เกี่ยวข้องโดยตรงหรือโดยอ้อมกับรายได้การส่งออกสินค้าและบริการในรูปเงินบาท) อัตราแลกเปลี่ยนก็ควรเป็นเป้าหมายหลักในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ โดยเฉพาะนโยบายการเงิน แทนที่จะไปยึดเป้าหมายเงินเฟ้อโดยใช้ดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือ เนื่องจากในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา การใช้ดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือในการทำนโยบายการเงินนั้นไม่สามารถทำให้เงินเฟ้ออยู่ในเป้าหมายได้ แต่ส่งผลลบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทย

5.ธปท. ควรปรับเปลี่ยนเป้าหมายนโยบายการเงินจากการผลักดันให้เงินเฟ้ออยู่ในกรอบ 1-3% เพียงเป้าหมายเดียว (แต่ไม่สามารถบรรลุได้ เนื่องจากมีเป้าหมายอื่น ๆ ทับซ้อนและไม่ประกาศเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น เป้าหมายการคุมหนี้ครัวเรือน เป้าหมายการดำรงเงินกองทุนของสถาบันการเงินต่อสินทรัพย์เสี่ยง เป็นต้น)เป็น 3 เป้าหมายชัดเจน คือ (1) ดัชนีค่าเงินบาท (NEER หรือค่าเงินบาทไทยเทียบกับสกุลคู่ค้าคู่แข่ง) จะต้องอ่อนค่าลง 20% ใน 3 ปี (เพื่อให้กลับมาอยู่ในระดับเดียวกับค่าเงินภูมิภาค) (2) ค่าเฉลี่ยเงินเฟ้อใน 3 ปีข้างหน้าจะต้องอยู่ที่ 3% และ (3) หนี้ครัวเรือนกลับไปอยู่ที่ระดับ 70% ของ GDP ใน 3 ปี

6.ธปท. ควรปรับเปลี่ยนโครงสร้างคณะกรรมการนโยบายการเงินโดยเพิ่มจำนวนคณะกรรมการจาก 7 เป็น 10 ท่าน โดยในอีก 3 ท่านคือ (1) ผู้ทรงคุณวุฒิในตลาดการเงินและตลาดอัตราแลกเปลี่ยน (2) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ และ (3) นักวิชาการอิสระ โดยหน้าที่หลักของคณะกรรมการนโยบายการเงินคือ ผลักดันเป้าหมายนโยบายการเงินใหม่ให้ได้ตามเป้า

7.กระทรวงการคลังควร ปรับ พรบ. วินัยการเงินการคลังโดยตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนดังนี้ (1) งบลงทุนจะต้องมีสัดส่วนเกิน 25% ของงบประมาณรัฐ ตามกรอบความยั่งยืนการคลัง (2) อัตราการเบิกจ่ายงบลงทุน จะต้องได้ 90% ของงบประมาณ ณ สิ้นปีงบประมาณ (3) มีการตั้งคณะกรรมการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนในกรอบของคณะรัฐมนตรี และให้สศช. นำเสนอวิธีการที่เป็นรูปธรรมในการผลักดันสัดส่วนการลงทุนภาครัฐต่อ GDP จาก 6% เป็น 10% ใน 3 ปีข้างหน้า

8.สศช.ร่วมกับกระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ ควรนำเสนอแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้านการขนส่งทั้งแผนระยะยาว 3 ปี และแผนปฏิบัติการระยะเร่งด่วน 1 ปี โดยเน้นโครงการที่มีแผนงานไว้อยู่แล้ว เช่น รถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ สถานีขนส่งสินค้า Motorway และท่าเรือ และให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และสำนักงบประมาณ นำเสนอแผนการในการระดมทุน โดยให้อยู่ในแนวคิดที่ว่าภาครัฐจะระดมทุนและดำเนินโครงการที่กระทรวงคมนาคมเสนอเองทั้งหมด โดยไม่จำเป็นต้องดำเนินการผ่านการร่วมทุนภาครัฐและเอกชน (PPP) เพื่อความรวดเร็ว ไม่ล่าช้า แต่ยังจะอยู่ในกรอบความยั่งยืนทางการคลัง (โดยหนี้สาธารณะไม่เกิน 60% ของ GDP)

9.สศช. กระทรวงการคลัง ธปท. และสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ ควรนำเสนอแผนที่เป็นรูปธรรมในการเปิดเสรีการค้า บริการ การเงินและเงินทุน และการเคลื่อนย้ายแรงงานตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยเพิ่มสัดส่วนการเปิดเสรีในธุรกิจบริการ การเงิน และแรงงานมีฝีมือให้เป็นไปตามกรอบ ASEAN Framework Agreement on Services (AFAS), Financial Sub-sectors Liberalization และ MRA on Architectural and Engineering services ที่ปัจจุบันล่าช้าเกินกว่ากรอบแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

ผู้เขียนเชื่อว่า การปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน การผลักดันการลงทุนภาครัฐ และการเปิดเสรีต่าง ๆ จะเป็นส่วนเหนี่ยวนำให้การลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้น ทำให้การลงทุนรวมของไทยเพิ่มขึ้น บัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลง รวมถึงทำให้ภาคการผลิตไทยเกิดการแข่งขัน สามารถสร้างสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูง ผู้ผลิตสามารถมีกำลังต่อรองด้านราคาได้มากขึ้น ทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นและเงินบาทอ่อนลงได้

หากทางการไทยสามารถดำเนินตามแนวทางที่เสนอแนะแล้วนั้น จะสามารถแก้ปัญหาค่าเงินบาทอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนได้

[บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องใด ๆ กับหน่วยงานที่ผู้เขียนสังกัดอยู่]

โดย ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์ | คอลัมน์ GLOBAL VISION

Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ส่อง 9 แนวทางซ่อมค่าเงินบาท หากทำได้จะสามารถแก้ปัญหาค่าเงินบาทได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน มาดูกันว่าตรงไหนคือจุดอ่อน ตรงไหนต้องกำจัดปรับแก้ให้ดีขึ้น

เดิมที ผู้เขียนตั้งใจว่าจะเขียนภาคจบของ 10 คำทำนายในอีก 10 ปีข้างหน้า แต่ด้วยประเด็นค่าเงินบาทร้อนแรง และส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเสนอของผู้เขียนโดยตรง จึงขออนุญาตนำเสนอ 9 แนวทางที่จะแก้ปัญหาค่าเงินบาท และโครงสร้างเศรษฐกิจไทยระยะยาวได้ ดังนี้

1.ภาครัฐต้องเปลี่ยน Mindset เพราะปัญหาค่าเงินบาทแข็ง เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่เกิดจากความผิดพลาดของนโยบายการเงิน การคลัง และนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจไทยเป็นหลัก อาการบาทแข็ง เงินเฟ้อต่ำ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่อง การลงทุนต่ำ ความสามารถในการแข็งขันลดลง เป็นกลุ่มปัญหาที่เกิดจากรากเหง้าเดียวกันทั้งสิ้น คือ แนวนโยบายที่อนุรักษ์นิยมและคำนึงถึงเสถียรภาพจนเกินไป รวมถึงไม่มีการพิจารณาปัญหาเป็นองค์รวม จึงต้องมีการแก้ปัญหาแบบบูรณาการ ถ้าเพียงคิดแต่ว่าปัญหาค่าเงินบาทเป็นปัญหาของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพียงองค์กรเดียว ก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาได้

2.ธปท.ควรศึกษาความสัมพันธ์ของเงินเฟ้อในไทย ว่าเกิดจาก Demand pull หรือจากเศรษฐกิจที่ร้อนแรงขึ้นทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาไม่เคยมี ดังเห็นได้จากความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันกับเงินเฟ้อไทย ที่อยู่ในระดับสูงถึง 60-70% บ่งชี้ว่าเงินเฟ้อไทยส่วนใหญ่เป็น Cost push ทั้งสิ้น ซึ่งนั่นแปลว่า การใช้ดอกเบี้ยนโยบายมาคุมเงินเฟ้อที่เป็นผลจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นความคิดที่ผิด ต้องคุมที่อัตราแลกเปลี่ยนเนื่องจากประเทศไทยต้องนำเข้าน้ำมันที่เป็นปัจจัยการผลิตและการขนส่งที่สำคัญ เมื่อใดที่ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น บาทก็จะต้องแข็งเพื่อ Offset และทำให้เงินเฟ้อไม่ขึ้นมาก แต่เมื่อใดที่ราคาน้ำมันถูก บาทก็สามารถอ่อนได้

3.สภาพัฒน์หรือ สศช. ควรศึกษาความสัมพันธ์ของภาคส่วนเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกสินค้าและบริการทั้งหมด (โดยเฉพาะการท่องเที่ยว) ในเชิงจุลภาคเนื่องจากประเทศไทยเป็น Small-open economy การส่งออกทั้งสินค้าและบริการเป็นแหล่งรายได้หลักของไทย (กว่า 70% ของ GDP) หากรายได้จากการส่งออกและท่องเที่ยวรูปเงินบาทดีขึ้น อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องก็จะดีขึ้น ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่า รายได้ของภาคเศรษฐกิจไทยเกี่ยวข้องกับการส่งออกและการท่องเที่ยวโดยรวมไม่น้อยกว่า 85% (ส่งออกสินค้า 70% ของเศรษฐกิจไทย ส่งออกบริการที่รวมการท่องเที่ยว 15%)

4.กระทรวงการคลัง ควรเสนอกฎหมายยกเลิกการยึดเป้าหมายเงินเฟ้อในการทำนโยบายการเงิน และหันไปใช้เป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยนแทนโดยหากอัตราแลกเปลี่ยนมีความสำคัญทั้งด้านเสถียรภาพราคา (คุมเงินเฟ้อได้) และการเติบโตเศรษฐกิจ (เพราะเศรษฐกิจส่วนใหญ่เกี่ยวข้องโดยตรงหรือโดยอ้อมกับรายได้การส่งออกสินค้าและบริการในรูปเงินบาท) อัตราแลกเปลี่ยนก็ควรเป็นเป้าหมายหลักในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ โดยเฉพาะนโยบายการเงิน แทนที่จะไปยึดเป้าหมายเงินเฟ้อโดยใช้ดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือ เนื่องจากในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา การใช้ดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือในการทำนโยบายการเงินนั้นไม่สามารถทำให้เงินเฟ้ออยู่ในเป้าหมายได้ แต่ส่งผลลบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทย

5.ธปท. ควรปรับเปลี่ยนเป้าหมายนโยบายการเงินจากการผลักดันให้เงินเฟ้ออยู่ในกรอบ 1-3% เพียงเป้าหมายเดียว (แต่ไม่สามารถบรรลุได้ เนื่องจากมีเป้าหมายอื่น ๆ ทับซ้อนและไม่ประกาศเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น เป้าหมายการคุมหนี้ครัวเรือน เป้าหมายการดำรงเงินกองทุนของสถาบันการเงินต่อสินทรัพย์เสี่ยง เป็นต้น)เป็น 3 เป้าหมายชัดเจน คือ (1) ดัชนีค่าเงินบาท (NEER หรือค่าเงินบาทไทยเทียบกับสกุลคู่ค้าคู่แข่ง) จะต้องอ่อนค่าลง 20% ใน 3 ปี (เพื่อให้กลับมาอยู่ในระดับเดียวกับค่าเงินภูมิภาค) (2) ค่าเฉลี่ยเงินเฟ้อใน 3 ปีข้างหน้าจะต้องอยู่ที่ 3% และ (3) หนี้ครัวเรือนกลับไปอยู่ที่ระดับ 70% ของ GDP ใน 3 ปี

6.ธปท. ควรปรับเปลี่ยนโครงสร้างคณะกรรมการนโยบายการเงินโดยเพิ่มจำนวนคณะกรรมการจาก 7 เป็น 10 ท่าน โดยในอีก 3 ท่านคือ (1) ผู้ทรงคุณวุฒิในตลาดการเงินและตลาดอัตราแลกเปลี่ยน (2) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ และ (3) นักวิชาการอิสระ โดยหน้าที่หลักของคณะกรรมการนโยบายการเงินคือ ผลักดันเป้าหมายนโยบายการเงินใหม่ให้ได้ตามเป้า

7.กระทรวงการคลังควร ปรับ พรบ. วินัยการเงินการคลังโดยตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนดังนี้ (1) งบลงทุนจะต้องมีสัดส่วนเกิน 25% ของงบประมาณรัฐ ตามกรอบความยั่งยืนการคลัง (2) อัตราการเบิกจ่ายงบลงทุน จะต้องได้ 90% ของงบประมาณ ณ สิ้นปีงบประมาณ (3) มีการตั้งคณะกรรมการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนในกรอบของคณะรัฐมนตรี และให้สศช. นำเสนอวิธีการที่เป็นรูปธรรมในการผลักดันสัดส่วนการลงทุนภาครัฐต่อ GDP จาก 6% เป็น 10% ใน 3 ปีข้างหน้า

8.สศช.ร่วมกับกระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ ควรนำเสนอแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้านการขนส่งทั้งแผนระยะยาว 3 ปี และแผนปฏิบัติการระยะเร่งด่วน 1 ปี โดยเน้นโครงการที่มีแผนงานไว้อยู่แล้ว เช่น รถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ สถานีขนส่งสินค้า Motorway และท่าเรือ และให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และสำนักงบประมาณ นำเสนอแผนการในการระดมทุน โดยให้อยู่ในแนวคิดที่ว่าภาครัฐจะระดมทุนและดำเนินโครงการที่กระทรวงคมนาคมเสนอเองทั้งหมด โดยไม่จำเป็นต้องดำเนินการผ่านการร่วมทุนภาครัฐและเอกชน (PPP) เพื่อความรวดเร็ว ไม่ล่าช้า แต่ยังจะอยู่ในกรอบความยั่งยืนทางการคลัง (โดยหนี้สาธารณะไม่เกิน 60% ของ GDP)

9.สศช. กระทรวงการคลัง ธปท. และสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ ควรนำเสนอแผนที่เป็นรูปธรรมในการเปิดเสรีการค้า บริการ การเงินและเงินทุน และการเคลื่อนย้ายแรงงานตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยเพิ่มสัดส่วนการเปิดเสรีในธุรกิจบริการ การเงิน และแรงงานมีฝีมือให้เป็นไปตามกรอบ ASEAN Framework Agreement on Services (AFAS), Financial Sub-sectors Liberalization และ MRA on Architectural and Engineering services ที่ปัจจุบันล่าช้าเกินกว่ากรอบแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

ผู้เขียนเชื่อว่า การปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน การผลักดันการลงทุนภาครัฐ และการเปิดเสรีต่าง ๆ จะเป็นส่วนเหนี่ยวนำให้การลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้น ทำให้การลงทุนรวมของไทยเพิ่มขึ้น บัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลง รวมถึงทำให้ภาคการผลิตไทยเกิดการแข่งขัน สามารถสร้างสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูง ผู้ผลิตสามารถมีกำลังต่อรองด้านราคาได้มากขึ้น ทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นและเงินบาทอ่อนลงได้

หากทางการไทยสามารถดำเนินตามแนวทางที่เสนอแนะแล้วนั้น จะสามารถแก้ปัญหาค่าเงินบาทอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนได้

[บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องใด ๆ กับหน่วยงานที่ผู้เขียนสังกัดอยู่]

โดย ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์ | คอลัมน์ GLOBAL VISION

Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"