5 ช่องทางผลกระทบ ศก.ไทย จากการชะลอตัวเศรษฐกิจจีน

หากกล่าวถึงเศรษฐกิจที่เติบโตใน ระดับสูงต่อเนื่อง แน่นอนว่า หนึ่งในนั้น คือ เศรษฐกิจจีน โดยหากย้อนไปในช่วงปี 2000-2010 เศรษฐกิจจีนเติบโตเฉลี่ยถึง 10.4% ต่อปี ต่อมาหลังจากปี 2011 จีนเริ่มมีเศรษฐกิจชะลอลง เนื่องจากต้องการจัดการกับปัญหา

หนี้สูงของหลายบริษัทและรัฐวิสาหกิจ โดยแม้เศรษฐกิจจีนจะชะลอลงในช่วงหลัง แต่กลับมีบทบาทมากขึ้นต่อเศรษฐกิจไทย ผ่านหลายช่องทาง (จะกล่าวในส่วนต่อไป)

อย่างไรก็ดี ในช่วงปลายปี 2018 ที่สงครามการค้าเริ่มขึ้น ทำให้เกิดการชะลอตัวเพิ่มเติมต่อเศรษฐกิจจีน โดยจาก คาดการณ์ล่าสุดของ IMF (ณ ต.ค. 2019) คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวเพียง 6.1% ในปี 2019 เทียบกับปี 2018 ที่ขยายตัว 6.6% ขณะที่ในปี 2020 IMF คาดเศรษฐกิจจีน จะขยายตัวเพียง 5.8% ซึ่งนับเป็นอัตราเติบโตที่ต่ำที่สุดของจีน ในรอบเกือบ 30 ปี นับตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา

ทั้งนี้ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนที่มีสาเหตุสำคัญมาจากความขัดแย้งทางการค้า มีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในหลายช่องทาง ดังนี้

1) ผ่านการส่งออกที่หดตัว โดยการ ที่สินค้าจีนหลายประเภทมียอดขาย น้อยลงในตลาดสหรัฐ เนื่องจากโดนกีดกัน ทางการค้า จึงทำให้จีนมีการผลิตสินค้าเหล่านั้นน้อยลงด้วย ซึ่งไทยเองนับเป็นประเทศสำคัญที่มีการส่งออกวัตถุดิบ ขั้นกลางไปยังจีน เพื่อผลิตสินค้าดังกล่าว (อยู่ใน supply chain การผลิตของจีน)

ดังนั้น ไทยจึงได้รับผลกระทบจากการส่งออกสินค้าวัตถุดิบที่ลดลงด้วย อาทิ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ, แผงวงจรไฟฟ้า, เคมีภัณฑ์, ยางพารา และ ผลิตภัณฑ์ไม้ นอกจากนี้ การส่งออกไทย ไปจีนในสินค้าอื่น ๆ เช่น สินค้าอุปโภคบริโภคก็มีการชะลอตัวเช่นกัน เพราะเศรษฐกิจจีนในภาพรวมที่ชะลอลงย่อม ส่งผลให้มีการนำเข้าสินค้าจากประเทศอื่น ลดลงเช่นเดียวกัน

นอกจากนั้น การที่ภาคส่งออกของจีน มีการหดตัวต่อเนื่องก็ยังส่งผลทำให้เศรษฐกิจประเทศอื่น ๆ ที่พึ่งพาจีน มีการ ชะลอตัวตามไปด้วย เช่น ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, เวียดนาม, ออสเตรเลีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น ซึ่งจากการศึกษาของอีไอซีพบว่า ยิ่งประเทศที่มีการพึ่งพาจีนมาก (วัดจากสัดส่วนการส่งออก ไปจีนเทียบกับการส่งออกทั้งหมดของแต่ละ ประเทศ) การส่งออกของไทยไปยังประเทศ ดังกล่าวก็จะยิ่งชะลอ/หดตัวมากกว่า ซึ่งนับเป็นผลกระทบเพิ่มเติมทางอ้อมต่อเศรษฐกิจไทยผ่านการส่งออกที่ลดลง

2) ผ่านการท่องเที่ยวที่ลดลงจากแนวโน้มเดิม โดยแม้ว่านักท่องเที่ยวจีน จะเดินทางเข้าไทยอย่างต่อเนื่อง หลังเหตุการณ์เรือล่มที่ภูเก็ตเมื่อปลายปี 2018 แต่จากการศึกษาพบว่าการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจีนในครั้งเหตุการณ์เรือล่มใช้ระยะเวลานานกว่าเหตุการณ์วิกฤตในครั้งก่อนหน้า โดยครั้งล่าสุดใช้เวลาเกือบ 4 เดือนในการฟื้นตัว เทียบกับ เหตุการณ์ระเบิดศาลพระพรหมที่ใช้เวลาเพียง 2 เดือน และเหตุการณ์ปราบทัวร์ศูนย์เหรียญที่ใช้เวลาเพียง 3 เดือน

นอกจากนี้ การฟื้นตัวดังกล่าวยัง กลับมาไม่เท่ากับค่าเฉลี่ยแนวโน้มในอดีต สะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีน ในช่วง 10 เดือนแรกที่ขยายตัว เพียง 3.6% เทียบกับค่าเฉลี่ยอัตรา ขยายตัว 10 เดือนแรก 3 ปีย้อนหลัง (2016-2018) ที่มีค่าสูงถึง 10.6% ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า การที่เศรษฐกิจจีนชะลอตัวย่อมส่งผลถึงรายได้ประชาชนที่ลดลง ทำให้นักท่องเที่ยวจีนมีแนวโน้มเดินทางเข้าไทยลดลงอีกด้วย

3) ผ่านการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่ลดลง จากสถิติเมื่อปี 2018 พบว่ามากกว่า 43% ของการโอนเงินของต่างชาติทั้งหมดเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ในไทยเป็น นักลงทุนจีนและฮ่องกง ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับนักลงทุนสัญชาติอื่น สะท้อนว่านักลงทุนจากจีนและฮ่องกงมีความสำคัญต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ของไทยในช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ดี เนื่องจากเศรษฐกิจจีนที่มีการชะลอตัวในปีนี้ จึงทำให้ยอดโอนเงินของนักลงทุนจีนและฮ่องกง ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2019 ลดลงมากถึง 36%

ทำให้ยอดรวมการโอนเงินเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์จากต่างชาติทั้งหมดหดตัว กว่า 31.1% ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการที่เศรษฐกิจจีนชะลอตัวจะส่งผลต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ของไทย ซึ่งนับเป็น ผลกระทบเพิ่มเติมของภาคอสังหาริมทรัพย์ของไทยในปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการ LTV ที่จัดทำเมื่อต้นปี 2019

4) ผ่านการเข้ามาตีตลาดของสินค้าจีน บางประเภท เนื่องจากสินค้าจีนบางส่วนได้รับการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐ จึงทำให้มีกำลังการผลิตเหลือ จีนจึงอาจระบายสินค้าดังกล่าวไปยังประเทศอื่น เพื่อเป็นการหาตลาดใหม่ โดยไทยก็เป็น หนึ่งในประเทศที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบ ในส่วนนี้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าสินค้าที่เข้าข่ายลักษณะดังกล่าวในปัจจุบัน ได้แก่ เหล็ก, อะลูมิเนียม, เครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภท และผักผลไม้บางประเภท (สะท้อนจากตัวเลขนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากจีนที่เป็นบวกหลังจากมีสงคราม การค้า เทียบกับการนำเข้าสินค้านั้น ๆ ในประเทศอื่นที่มีค่าเป็นลบ)

ทั้งนี้ การเข้ามาของสินค้าจีนดังกล่าวอาจทำให้ผู้ผลิตของไทยได้รับผลกระทบ จากการแข่งขันกับสินค้าจีนที่ส่วนมากจะมีต้นทุนที่ถูกกว่า

5) ผ่านการลงทุนจากบริษัทข้ามชาติที่มีจุดประสงค์หลบหลีกผลกระทบ ของสงครามการค้า โดยในปัจจุบัน บริษัท ที่มีที่ตั้งการผลิตในประเทศจีนได้รับ ผลกระทบจากการเพิ่มภาษีนำเข้าของสหรัฐ ดังนั้น หากสถานการณ์ยังไม่ปรับตัวดีขึ้น ก็มีแนวโน้มที่บริษัทดังกล่าวจะตัดสินใจ ย้ายฐานการผลิตออกมาจากประเทศจีน เพื่อหลบหลีกภาษีนำเข้าที่จัดเก็บโดยสหรัฐ ซึ่งภูมิภาคอาเซียนนับเป็นเป้าหมาย อันดับแรกของบริษัทเหล่านี้ เนื่องจากมีความใกล้กับประเทศจีน, มีศักยภาพด้านแรงงานในการผลิต, มีโครงสร้างพื้นฐานพร้อม และค่าแรงไม่ได้สูงมากเกินไป

โดยประเทศที่จัดอยู่ในอันดับต้น ๆ ในความสนใจด้านการย้ายฐานการผลิตก็คือ ไทย, เวียดนาม, อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ซึ่งในปัจจุบันแต่ละประเทศก็พยายามออกมาตรการเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติดังกล่าว รวมถึงไทยที่ได้ออกมาตรการ Thailand Plus ไปใน ช่วงเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนต่างชาติ

ทั้งนี้ หากพิจารณาสถิติการขอลงทุนจากจีนของ BOI พบว่า ในช่วงครึ่งปีแรกปี 2019 มีการขยายตัวของมูลค่าลงทุนที่ได้รับอนุญาตมากถึง 128% ซึ่งส่วนหนึ่ง อาจสะท้อนได้ว่านักลงทุนมีความสนใจ ในการย้ายฐานการผลิตมาที่ไทย อย่างไรก็ดี ตัวเลขสถิติจาก BOI เป็นเพียงมูลค่าการขอรับสิทธิที่ยังไม่มีการลงทุนจริง การขยายตัวดังกล่าวจึงเป็นเพียงแค่สัญญาณการลงทุนที่อาจเกิดขึ้น ได้ในอนาคตเท่านั้น

จากที่เศรษฐกิจจีน ปี 2020 ยังมี แนวโน้มชะลอต่อเนื่อง ดังนั้น เศรษฐกิจไทย จึงยังมีโอกาสได้รับผลกระทบผ่านทั้ง 5 ช่องทางที่ได้กล่าวไปข้างต้น ซึ่งจะเป็น ปัจจัยท้าทายต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ไทยในระยะต่อไป ทั้งนี้ หากความขัดแย้ง ระหว่างจีนและสหรัฐปรับตัวดีขึ้นจาก การเจรจา phase 1 ก็อาจส่งผลดีต่อ เศรษฐกิจไทยผ่านช่องทางการส่งออกที่จะปรับดีขึ้น

อย่างไรก็ดี ยังมีอีกหลายปัจจัยใน ประเทศกดดันการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีหน้า อาทิ เงินบาทแข็งค่า, หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง, ระดับ หนี้เสียที่เริ่มปรับสูงขึ้น, ผลกระทบของ มาตรการ LTV ต่อภาคอสังหาริมทรัพย์ และปัญหาเชิงโครงสร้างด้านการ กระจุกตัวของภาคธุรกิจขนาดใหญ่ (market concentration)

คอลัมน์ มองข้ามชอต: พนันดร อรุณีนิรมาน
นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธ.ไทยพาณิชย์

Source: ประชาชาติธุรกิจ

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"