“อังกฤษ : ใช้เงินกระดาษปล้นความมั่งคั่งอินเดีย​ 45 ล้านล้านอย่างไร ? ”

... มีเรื่องราวที่เล่าขานกันโดยทั่วไปในสหราชอาณาจักรว่า “การล่าอาณานิคมที่อินเดีย” นั้นน่ากลัวที่สุดเท่าที่เคยมีมา และไม่ได้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญต่อจักรวรรดิอังกฤษใดๆเลย หากแต่ว่าการที่อังกฤษต้องบริหารประเทศอินเดียกลับเป็นค่าใช้จ่ายต่อ

“จักรวรรดิอังกฤษ” เหมือนเป็นความเมตตาอย่างทราบซึ้งที่อังกฤษต้องปกครองเอาอินเดียเป็นเมืองขึ้น

... แต่ปรากฏว่างานวิจัยใหม่โดยนักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง Utsa Patnaik ซึ่งตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ได้ให้รายละเอียดข้อมูลด้าน “ภาษีและการค้าเกือบสองศตวรรษ” ที่เจ็บปวด Patnaik คำนวณว่า “จักรวรรดิอังกฤษ” ได้สูบเลือดเนื้อจากอินเดียไปแล้วเกือบ 45 ล้านล้านดอลลาร์ในระหว่างช่วงปี 1765 ถึง 1938

… มองอย่างคร่าวๆ เงิน 45 ล้านล้านดอลล่าร์มีค่ามากกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศประจำปีของสหราชอาณาจักรถึง 17 เท่าในทุกวันนี้

... สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

… มันเกิดขึ้นผ่าน “ระบบการค้า” โดยก่อนยุคอาณานิคมนั้น “อังกฤษ” ซื้อสินค้าเช่น สิ่งทอและข้าวจากผู้ผลิตชาวอินเดียและจ่ายให้พวกเขาตามปกติซึ่งส่วนใหญ่เป็น “เงิน ซิลเวอร์” เช่นเดียวกับที่พวกเขาทำกับประเทศอื่น ๆ แต่บางอย่างเปลี่ยนไปในปี 1765 หลังจาก “บริษัทอินเดียตะวันออก” ที่เป็นบริษัทเอกชนที่ได้รับอนุญาตจากราชินีอังกฤษให้มาค้าขายแข่งกับยุโรปชาตื่นๆ เช่น โปรตุเกสและสเปน ได้เข้าควบคุมอนุทวีปและจัดตั้ง “การผูกขาดการค้าของอินเดีย”

... ก่อนปี 1857 เป็น “บริษัทอินเดียตะวันออก” ของจักรวรรดิอังกฤษที่ปกครองอินเดีย ไม่ใช่รัฐบาลอังกฤษโดยตรง และเอกชนรายนี้ก็กดขี่ชาวอินเดียแบบไร้ความเป็นธรรมโดยทั้งการผูกขาดการค้าในอินเดีย และยังจัดการขูดรีดภาษีจาก “คนอินเดีย” มากมายแบบได้เปล่า และก็เอาเงินรายได้ประจำปีจากนั้นเอง หนึ่งในสามมาซื้อสินค้าท้องถิ่นของอินเดียไปขายให้ชาวอังกฤษ เป็นการจัดการที่ไม่ต้องเสียเงินเลย

... กล่าวอีกนัยหนึ่งแทนที่จะจ่ายเงินสำหรับสินค้าอินเดียจากกระเป๋าของพวกเขา พ่อค้าชาวอังกฤษกลับได้ซื้อของจากคนอินเดียแบบฟรี เพราะ "ซื้อ" จากชาวนาและช่างทอผ้าโดยใช้เงินที่เพิ่งถูกกดขี่บังคับขู่เข็ญไปจากคนอินเดีย

... ในตอนนั้น “คนอินเดีย” เองก็ไม่เข้าใจว่าตัวเองถูกหลอกใช้กดขี่จากเจ้าอาณานิคมอังกฤษ เพราะว่าคนที่มาเก็บภาษีจากชาวนา คนทอผ้านั้น เป็นคนอินเดียที่เป็นนายหน้าตัวแทนของอังกฤษ ( หลายคนอาจจะเข้าใจและพลอยเกลียดคนอินเดียเอง ... เหมือนปตทรพีเราตอนนี้ก็โกยเงินออกให้ผู้ถือหุ้นต่างชาติ ตัวเองที่เป็นตัวแทนต่างชาติก็ได้ด้วย ) ส่วนคนอินเดียตัวแทนที่มาซื้อสินค้าท้องถิ่นก็เป็นคนอีกคณะกัน เพราะอังกฤษก็เจ้าเล่ห์ ที่ไม่ใช้ตัวแทนของตนชุดเดียวกัน ที่จะทำให้คนอินเดียจับพิรุธได้

... และสินค้าต่างๆที่อังกฤษซื้อเพื่อส่งกลับบ้านก็เช่น เหล็ก ยางมะตอย ไม้ ก็ส่งกลับไปตามโรงงานอุตสาหกรรม ที่ตอนนั้นเริ่มเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม ดังนั้นอินเดียจึงคือผู้อยู่เบื้องหลังของความเจริญเติบโตของ “การปฏิรูปอุตสาหกรรมสมัยใหม่ของอังกฤษ”

... ยิ่งกว่านั้น จักรวรรดิอังกฤษ ยังสามารถขายสินค้าส่วนเกินจากอินเดียและตะวันออกไปให้กับประเทศเพื่อนบ้านในยุโรปอีกด้วย ในราคาที่สูงกว่าที่พวกเขาซื้อจากคนอินเดีย มากกว่าเท่าตัว

... ซึ่งจาก “การกดขี่ขูดรีดภาษีของคนอินเดียมาซื้อสินค้าจากอินเดียไป” ไปขายให้บ้านตัวเองและยุโรปจนรวยและชาวอินเดียจนลงทุกวัน ทำให้เกิดการต่อต้านครั้งใหญ่ในปี 1857 ในที่สุดก็เปลี่ยนมาให้ “รัฐบาลอังกฤษ” ปกครองอินเดียแทน “บริษัทอินเดียตะวันออก” จากปี 1858 เป็นต้นไป ที่เรียกสมัยนี้ว่า “ราชาอังกฤษ” หรือ British Raj

... อังกฤษเริ่มผ่อนปรนลงบ้างเพื่อลดแรงต่อต้าน โดย “ลดการผูกขาดการค้าในอินเดียลง” โดยให้คนอินเดียสามารถค้าขายกับประเทศในยุโรปโดยตรงมากขึ้น แทนที่จะต้องผ่านอังกฤษผูกขาดแบบเดิม

... แต่อังกฤษก็มาแบบเหนือเมฆกว่านั้น สร้าง “นวัตกรรมในการขูดรีดอินเดียแบบใหม่” โดยการออก “ตั๋วเงินกระดาษที่อังกฤษควบคุม” โดยบอกว่าถ้าอินเดียหรือประเทศอื่นในยุโรปจะค้าขายตรงกันเองก็ได้ แต่ต้องอาศัยการซื้อขายผ่าน “ตั๋วเงินกระดาษของอังกฤษ” นี้เท่านั้น ( เหมือนกับที่ “อเมริกา” ในปัจจุบัน 2019 ทำกับการซื้อขายน้ำมัน การซื้อขายสินค้าในตลาดโลกส่วนใหญ่ หรือ การโอนเงินนานาชาติ เพื่อจะควบคุมการค้าผ่านเงินกระดาษตัวเอง ทำให้เงินกระดาษตัวเองมีค่ามากขึ้นเรื่อยๆ )

... “โดยจักรวรรดิอังกฤษ เปลี่ยนนโยบายจากการผูกขาดการค้า มาเป็นการผูกขาดด้วยการเงินแทน”

... How did this work? Basically, anyone who wanted to buy goods from India would do so using special Council Bills - a unique paper currency issued only by the British Crown.

... และวิธีเดียวที่จะได้ “ตั๋วเงิน” หรือ “เงินกระดาษ” เหล่านั้นมีทางเดียวคือซื้อจากลอนดอนด้วย “ทองคำหรือเงินซิลเว่อร์” ดังนั้นผู้ค้าขายทั้งสองฝั่งจะต้องจ่ายลอนดอนเป็นทองคำเพื่อรับ “ตั๋วเงินกระดาษ” จากนั้นใช้ตั๋วเงินเพื่อชำระสินค้าให้ผู้ผลิตจากอินเดีย และเมื่อชาวอินเดียได้ตั๋วเงินกระดาษจากการขายสินค้านั้น ก็นำ “ตั๋วเงินกระดาษ” ไปเข้าบัญชีที่สำนักงานอาณานิคมในท้องถิ่น เพราะพวกเขาต้องแลกตั่วเงินกระดาษนั้นอีกครั้งเพื่อจะถูก "จ่ายเป็นเงินรูปี” เงินที่เพิ่งเก็บแบบขูดเลือดเนื้อจากพวกเขา ดังนั้นพวกเขาไม่ได้จ่ายจริง พวกเขาถูกโกง เพราะก็เอาเงินภาษีที่พวกเขาจ่ายให้อังกฤษมาจ่ายคนอินเดียเหมือนเดิม ( หลัง 1858 อังกฤษลดการผูกขาดการค้าก็จริง แต่ไม่ได้ลดการขูดรีดภาษีคนอินเดีย ยังเก็บกินนิ่มๆ กินฟรีเหมือนเดิม )

... ด้วยระบบนี้ ทำให้ “ตั๋วเงินกระดาษของอังกฤษ” ได้รับความนิยมแพร่หลายมาก และในเวลาเดียวกัน พวกเขาก็สามารถสะสมความมั่งคั่งจาก “ทองคำและเงินซิลเว่อร์” จากบรรดาผู้ซื้อผู้ขายมากขึ้นเรื่อย สมกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าจะเป็น “ผูกขาดทางการเงิน” แทนการผูกขาดทางการค้า

… Meanwhile, London ended up with all of the gold and silver that should have gone directly to the Indians in exchange for their exports.

... ระบบที่เอาเปรียบนี้หมายความว่า แม้ในขณะที่อินเดียมีส่วนเกินทางการค้าที่ดี กับประเทศอื่นๆของโลก ส่วนเกินทางการค้าที่กินเวลานานถึงสามทศวรรษในต้นศตวรรษที่ 20 มันกลับแสดงให้เห็นว่าเป็น “การขาดดุลในบัญชีระดับชาติ” เพราะรายได้ที่แท้จริงของการส่งออกอินเดีย กลับไปลงที่จักรวรรดิอังกฤษหมด “ตั๋วเงินกระดาษก็ขายดี ทองคำก็มากขึ้นเรื่อยๆ”

... ยิ่งกว่านั้นเมื่อนักธุรกิจอินเดียจะสร้างพัฒนาธุรกิจก็ต้องกู้ยืมเอาตั๋วเงินกระดาษจากอังกฤษเสียอีก ยิ่งทำให้อังกฤษเก็บกินค่าต๋งฟรี และแม้ว่าอินเดียจะค้าขายได้กำไรหรือขาดทุนอังกฤษก็มีแต่ได้กับได้ เสือนอนกิน

... ก่อนหน้านี้ “จักรวรรดิอังกฤษ” ก็เอาเงินส่วนต่างจากการผูกขาดการค้าและเก็บภาษีจากคนอินเดียเหล่านี้ ไปลงทุนในการแทรกแซง “จีน” เป็นเป้าหมายต่อไป จนเกิดเป็นสงครามฝิ่น เช่นตอนนั้นราชวงศ์ชิงห้ามการค้าขายฝิ่น แต่อังกฤษก็สร้างเครือข่ายของข้าราชการและพ่อค้าชาวจีนที่เห็นแก่ได้ ( เหมือนนักการเมือง นักธุรกิจไทยก่อนวิกฤติปี 2540 ) เพื่อจะดันการค้าฝิ่นในจีนให้เกิดขึ้น จนสุดท้ายจีนก็แพ้อังกฤษใน “สงครามฝิ่น” ด้วยเงินจากอินเดีย

... ดังที่ Patnaik ชี้ให้เห็น "ค่าใช้จ่ายในการทำสงครามเพื่อพิชิตดินแดนนอกเขตแดนของอินเดียทั้งหมดของอังกฤษนั้นถูกมองว่ารายได้มาจากอินเดียเป็นหลัก"

... และนั่นไม่ใช่แค่นั้น “จักรวรรดิอังกฤษ” ยังใช้ส่วยจาก “อินเดีย” นี้เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของระบบทุนนิยมในยุโรปและของการตั้งถิ่นฐานภูมิภาคต่างๆทั่วโลกของชาวยุโรป เช่นใน ”แคนาดาและออสเตรเลีย” ดังนั้นไม่เพียงแต่การทำให้เป็นอุตสาหกรรมของสหราชอาณาจักรเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการทำให้เป็นอุตสาหกรรมของโลกตะวันตกด้วยที่เป็นการขูดเลือดมาจากดินแดนอาณานิคมอย่างเช่นอินเดีย

... Patnaik ระบุว่าช่วงเวลาทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันสี่ช่วงในอาณานิคมอินเดียตั้งแต่ปี 1765 ถึง 1938 สามารถคำนวณการขูดรีดแต่ละครั้งและจากนั้นบวกด้วยอัตราดอกเบี้ยที่พอเหมาะ ( ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ซึ่งต่ำกว่าอัตราตลาด) ของแต่ละช่วงเวลา เมื่อรวมเข้าด้วยกันเธอพบว่า “การไหลออกของมูลค่าเงินจากอินเดียไปอังกฤษ” ทั้งหมดมีมูลค่าถึง 44.6 ล้านล้านดอลลาร์ ตัวเลขนี้เป็นการคิดแบบเบาะๆ เธอกล่าวว่านี่ยังไม่รวมถึง “หนี้” ที่อังกฤษสร้างไว้ให้กับ “อินเดีย” ในช่วง “ราชาอังกฤษ” อีกด้วย

... “อังกฤษ” ใช้ระบบนี้ สร้างอาณานิคมไปทั่วโลก แล้วผูกเงินปอนด์ให้เป็นที่ยอมรับและจำเป็นในการค้าไปทั่วโลก แล้วก็เก็บสะสมทองคำมากจน “ลอนดอน” กลายเป็นศูนย์กลางการเงินของโลกจนถึงทุกวันนี้, และปัจจุบันนี้ “อเมริกา” ก็กำลังใช้วิธีเดียวกัน ทั้งการค้าน้ำมัน การค้าระหว่างประเทศ การโอนเงินผ่าน SWIFT ล้วนใช้ผ่านเงินดอลล่าร์ แต่วันนี้ “จีน” กำลังจะเขย่าบัลลังก์ของพวกเขา

คลิก

Cr.Jeerachart Jongsomchai

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

XM

FCA, ASIC,IFSC,
CySec
1000 : 1 1 pips – Micro
1 pips – Standard

0 pips - Ultra low
$5 0.01 lots View Profile
Visit Website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"