ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ "สหรัฐฯโดดเดี่ยวตัวเอง"

ช่วงสองสามวันมานี้ผมได้อ่านบทความและความคิดเห็นในสื่อต่างๆของไทยเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของทรัมป์ โดยเฉพาะเรื่อง American First หรือ Americanism พบว่ามีความเข้าใจผิด "อย่างร้ายแรง"

เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สหรัฐฯอยู่เรื่องหนึ่งคือเรื่องที่สื่อและนักวิชาการของไทยหลายคนเปรียบเทียบนโยบายดังกล่าวของทรัมป์เหมือนกับการที่ "สหรัฐฯโดดเดี่ยวตัวเองก่อน WWII" ข้อเท็จจริงคือ "สหรัฐฯไม่เคยโดดเดี่ยวตัวเอง" ผมจะเล่าที่มาให้ฟังย่อๆนะครับ

ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลังสิ้นสุดสงครามนโปเลียน ประเทศมหาอำนาจยุโรปในขณะนั้นนำโดยอังกฤษ ปรัสเซีย ออสเตรียและรัสเซียก็มาประชุมกันที่กรุงเวียนนา เรียกว่า "คองเกรสแห่งเวียนนา" จุดประสงค์ที่เป็นทางการคือป้องกันไม่ให้เกิดสงครามในยุโรปอีก แต่การประชุมนี้มีเบื้องหลังคือฝ่ายสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของยุโรป นำโดยเจ้าชายเมตเตอนิกของออสเตรียต้องการจะกำจัดอิทธิพลของการปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ.1789

เพื่อรักษาอำนาจของสถาบันกษัตริย์ในประเทศต่างๆของยุโรป พูดง่ายๆคือคองเกรสแห่งเวียนนา เบื้องหน้าก็ดูเหมือนการประชุมเพื่อสันติภาพ แต่เบื้องหลังคือเป็นการรวมกลุ่มพันธมิตรของระบอบกษัตริย์ของยุโรปรวมตัวกันเพื่อจัดการกับขบวนการเสรีนิยมและขบวนการปฏิวัติต่างๆนั่นเอง เรียกว่าระบอบเมตเตอนิก

ทีนี้ลองย้อนไปดูชื่อมหาอำนาจยุโรปที่มีบทบาทหลักในคองเกรสอีกทีนะครับ จะพบว่ามีอังกฤษประเทศหนึ่งที่ไม่เข้าพวก กล่าวคือปรัสเซีย ออสเตรียและรัสเซีย (รวมถึงราชวงศ์บูร์บงของฝรั่งเศสที่กลับมาปกครองหลังนโปเลียนถูกโค่นล้ม) ล้วนแต่เป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ทั้งสิ้น แต่อังกฤษปกครองในระบอบรัฐสภา จำกัดอำนาจของกษัตริย์ไปนานแล้วตั้งแต่สมัยกฎบัตรแมกนาคาตาและการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ อังกฤษจึงไม่เห็นด้วยกับพวกยุโรปเท่าไหร่นัก

ต่อมาอาณานิคมของสเปนในทวีปอเมริกาใต้ก่อกบฎ จะประกาศเอกราช พวกยุโรปก็เตรียมจะยกกันไปช่วยสเปนปราบกบฎ ซึ่งจะกระทบผลประโยชน์ทางการค้าของอังกฤษ ตรงจุดนี้เองครับที่สหรัฐฯเข้ามามีบทบาท เพราะอังกฤษประเทศเดียวสู้ยุโรปทั้งหมดไม่ไหว (ก่อนหน้านี้แค่นโปเลียนคนเดียว อังกฤษก็กระอักเลือดแล้ว) อังกฤษก็เลยไปตกลงกับสหรัฐฯ ให้ประธานาธิบดีของสหรัฐฯในขณะนั้นคือนายเจมส์ มอนโร (James Monroe) ประกาศหลักการมอนโร (Monroe Doctrine) ห้ามยุโรปมายุ่งกับทวีปอเมริกา

โดยที่สหรัฐฯก็จะไม่ไปยุ่งกับยุโรปเช่นกัน พอสหรัฐฯออกมาขวาง พวกยุโรปก็ต้องยอมถอยครับ หลังจากนั้นคองเกรสแห่งเวียนนาก็ค่อยๆลดบทบาทลงไปจนกระทั่งประมาณปี ค.ศ.1848 ก็เกิดคลื่นการปฏิวัติอย่างขนานใหญ่ในยุโรป เป็นอันสิ้นสุดระบอบเมตเตอนิก
จากสองย่อหน้าที่ผ่านมา (บางท่านอาจสงสัยว่านี่ย่อแล้วหรือนี่ 555+) จะเห็นได้ว่าหลักการมอนโรนั้นเกิดจากสหรัฐฯทำข้อตกลงแบ่งผลประโยชน์กันกับอังกฤษครับ คืออังกฤษได้ขัดขวางอิทธิพลของมหาอำนาจยุโรปและรักษาผลประโยชน์ทางการค้า

ส่วนสหรัฐฯได้ทวีปอเมริกาทั้่งเหนือและใต้เป็นเขตอิทธิพลของตัวเองคนเดียวอยู่ร้อยกว่าปี (ถ้าคิดว่าสหรัฐฯแทรกแซงตะวันออกกลางเยอะ ลองไปค้นประวัติดูนะครับว่าประเทศต่างๆในแถบละตินอเมริกาโดนสหรัฐฯแทรกแซงกี่รอบ) สหภาพโซเวียตพึ่งจะเจาะเข้าละตินอเมริกาได้ช่วงสงครามเย็นครับ ดังนั้น "สหรัฐฯไม่เคยโดดเดี่ยวตัวเอง" แต่เป็นการแบ่งผลประโยชน์กันกับมหาอำนาจอื่นครับ

แล้วทำไมคนไทยถึงเข้าใจว่าสหรัฐฯโดดเดี่ยวตัวเองก่อน WWII คำตอบง่ายมากครับ ท่องตามๆกันมาในหลักสูตร ผมยังจำได้แม่นเลยเพราะผมก็เคยท่องแบบนี้มาก่อน ถึงแม้หลักสูตรไทยถึงระดับมัธยมปลายจะไม่มีเรียนประวัติศาสตร์อเมริกาโดยละเอียดก็จริงแต่เนื้อหาเรื่องสงครามโลกนี่มีทุกชั้นเรียน และเนื้อหาก็จะบอกสาเหตุที่สหรัฐฯร่วมสงครามโลกช้าหรือไม่เข้าเป็นสมาชิกสันนิบาตชาติ (LN) ว่าเป็นเพราะสหรัฐฯโดดเดี่ยวตนเองตามหลักการมอนโร เนื้อหาส่วนนี้เป็นจริงครึ่งหนึ่งคือหลักการมอนโรทำให้สหรัฐฯไม่อยากมายุ่งกับยุโรป แต่หลักการมอนโรไม่ใช่การโดดเดี่ยวตนเอง หรือไม่ยุ่งกับประเทศอื่นตามที่หลายคนเข้าใจครับ

ประวัติศาสตร์เป็นรากฐานของปัจจุบัน เมื่อเราเข้าใจประวัติศาสตร์ผิด ก็จะลามมาถึงปัจจุบันด้วย ผมเห็นคนจำนวนมากเชื่อว่านโยบาย Americanism ของทรัมป์คือไม่ยุ่งกับประเทศอื่น เป็นความเข้าใจผิดอย่างมากครับ สหรัฐฯจะยังคงมีบทบาทสำคัญในการเมืองโลกเพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบและวิธีคิดใหม่ จากเดิมที่ทำเพื่อประโยชน์ของกลุ่มทุนหรืออีลิทหาผลประโยชน์ในระดับโลก ให้ประเทศต่างๆเปิดเสรีทางการค้าให้กลุ่มทุนข้ามชาติไปลงทุนหาผลประโยชน์ (เรียกว่า Globalism) ก็จะเปลี่ยนกลับไปคิดถึงคนอเมริกันเป็นหลัก เอางาน เอาสวัสดิการต่างๆกลับไปให้คนอเมริกัน (เรียกว่า Americanism) เป็นนโยบายแบบชาตินิยม (Nationalism) อย่างหนึ่งนั่นเองครับ

สรุป ทั้งนโยบาย Monroe Doctrine ของเจมส์ มอนโรและนโยบาย Americanism ของทรัมป์ไม่ใช่การโดดเดี่ยวตัวเองแต่อย่างใด

12.11.2016
ภาพจาก quotesgram.com/ เป็นภาพประธานาธิบดีมอนโรของสหรัฐฯ
การทูตและการทหาร Military & Diplomacy

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman

ลงทะเบียนเรียนพื้นฐานการลงทุนฟรี!!!!
https://goo.gl/sDFLHO

    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"