ถ้าจีนจะเป็นผู้นำจัดระเบียบโลก แค่โครงการ Belt & Road Initiative คงไม่พอ

การที่อิตาลีและลักเซมเบอร์กตัดสินใจเข้าร่วมในโครงการ BRI ของจีน เหมือนเป็นระฆังเตือนทั้งวอชิงตันและบรัสเซลส์ ว่าอิทธิพลของจีนที่มีต่อโลกขณะนี้มันลามเข้าสู่แกนในของ Eurorean Union แล้ว

EU กำลังกังวลว่าการขยายอิทธิพลของ BRI เข้าไปในยุโรปจะทำให้จีนสามารถโปรโมท "โมเดลทางเลือกใหม่ของธรรมาภิบาลโลก" ที่จะเป็นการท้าทายอำนาจของริเบอรัลแห่งโลกตะวันตก ..ไม่เฉพาะแค่เอเซียแล้ว แต่จะเป็นไปทั่วโลกเอาเลย

ตั้งแต่การ launch โครงการ BRI เมื่อปี 2013 มาแล้วที่จีนได้ปล่อยให้เงินกู้ไปแล้วถึง $2 แสนล้าน ...พร้อมกับการลงทุนที่จะตามมาอีกรวมกัน $1.3 ล้านล้านก่อนปี 2027

หลายเสียงเตือนไว้ว่า BRI ก็เป็นโครงการระดับเดียวกับ Marshall Plan ของสหรัฐที่เป็นโปรแกรมการฟื้นฟูเศรษฐกิจของยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นจุดเริ่มของศตวรรษแห่งจักรวรรดิ์อเมริกัน

แต่ขนาดของ BRI ด้านจำนวนเงิน..มากกว่าขนาดของ Marshall Plan ถึง 12 เท่า แสดงถึงความมุ่งมั่นที่มากกว่าในการปรับเปลี่ยนสังคมโลก โดยสร้างสถาบันและกฎระเบียบใหม่ๆที่สะท้อนถึงผลประโยชน์ของจีน

จีนมุ่งที่จะเข้ามาแทนที่สหรัฐในการเป็นศูนย์กลางของสังคมโลก อย่างไรก็ตาม หลังสงครามโลกครั้งที่สองมา สหรัฐมีการเก็บเกี่ยวทั้งประสบการณ์และทรัพยากรที่ต้องใช้ในการควบคุมสังคมโลก..แบบที่ว่าเหนือกว่าสิ่งที่จีนได้เตรียมการไว้แล้วในตอนนี้เลย

BRI ไม่อาจเทียบได้ไม่ว่าทั้งสเกลหรือผลที่ได้จากโปรแกรม Marshall Plan โดยเฉพาะเมื่อรวมกับโครงการช่วยเหลือต่างๆของสหรัฐในยุคนั้น

ในขณะที่การใช้จ่ายเพื่อโครงสร้างพื้นฐานของจีนได้กระจายออกไปทั่วโลก โครงการช่วยเหลือของสหรัฐหลังสงครามโลกทำได้มากกว่า มีการพิทักษ์ประชาธิปไตยในช่วงสงคราม และการสร้างโลกใหม่อีกหลายปีหลังจากนั้น ค่าใช้จ่ายมันสูงมาก แต่ได้ผลดีในด้านช่วยให้โลกฟื้นตัวเร็วจากสงครามที่โหดร้าย ส่งผลให้สหรัฐเป็นผู้นำของโลกได้อย่างถูกต้อง

ฝ่ายสนับสนุนโครงการ BRI เน้นย้ำว่าขณะนี้จีนต้องเผชิญกับงานที่ยากยิ่งที่จะนำโลกออกให้พ้นจากอิทธิพลของสหรัฐ EU และญี่ปุ่น..มากกว่าเมื่อตอนที่สหรัฐต้องเผชิญเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะตอนนั้นยังมีแค่สหภาพโซเวียต

นี่ยังไม่ได้กล่าวถึงสิ่งที่เลวร้ายและซากปรักหักพังที่ตามมาหลังสงครามโลก สงครามทำให้สูญเสียชีวิตไปนับหลายสิบล้านคน ทำลายเมืองใหญ่ๆไปหลายเมืองทั่วยุโรปและเอเซีย ทำให้ผู้คนนับร้อยล้านอยู่ภาวะขาดแคลนอาหาร

นักเขียน John Dos Passos ยุคนั้นเขียนเตือนไว้ว่า "อเมริกันกำลังสูญเสียชัยชนะที่ได้มาในยุโรป" หลายคนกลัวว่า ความรุ่งเรืองของโลกกำลังถึงจุดพังทลาย

นี่ไม่ใช่แค่วิกฤติของยุโรปเท่านั้น แต่มันเป็นหมายถึงพื้นฐานภูมิรัฐศาสตร์ของทั้งโลกกำลังเสี่ยงที่จะพังลง ความยิ่งใหญ่ของบริเตนกำลังถึงจุดเสื่อม ทำให้กลัวไปว่าวิกฤติเศรษฐกิจจะทำให้อังกฤษต้องถอนตัวจากฐานะทางยุทธศาสตร์ทั่วโลกและทำให้สหรัฐต้องเข้ามาเติมช่องว่างก่อนที่สหภาพโซเวียตจะเข้ามาชิงเสียก่อน

นั่นคือสิ่งที่เรียกว่า Truman Doctrine ..ซึ่งรับรองให้การช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและการทหารต่อกรีซและเตอรกี ซึ่งมีความสำคัญอยู่ในเขตอิทธิพลของอังกฤษอยู่แล้วมานับหลายศตวรรษ ..ฝ่ายอเมริกันเองก็หวังที่จะไม่ต้องใช้จ่ายมากนักในเขตอิทธิพลของอังกฤษในที่อื่นๆทั่วโลก

และแล้วก็เกิดคำถามที่ยากจะตอบ: จะทำยังไงดีกับเขตยึดครองเยอรมัน ..อย่างที่ Herbert Hoover เคยให้ข้อสังเกตุไว้ "สถานะของชาวเยอรมันได้จมลงสู่ระดับต่ำมากที่สุดในรอบร้อยๆปีในประวัติศาสตร์โลกตะวันตก"

ถ้าไม่มีพลังของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากเยอรมันต่อทวีปยุโรป การฟื้นฟูเศรษฐกิจของยุโรปก็เป็นอันไม่ต้องหวัง

สหรัฐและพันธมิตรจะฟื้นฟูเศรษฐกิจของเยอรมันยังไงโดยไม่ให้เยอรมันสามารถมีอำนาจเหนือยุโรปทั้งทวีปได้อีก

คำตอบของอเมริกาก็คือ ..launch โปรแกรมช่วยเหลือต่างประเทศ และสร้างระบบป้องกันทวีปยุโรปในลักษณะรวมตัวกันเป็นกลุ่มประเทศผ่านทาง Truman Doctrine และองค์การนาโต้ ..รัฐบาลทรูแมนขยายเงินให้กู้เป็น $10,000 ล้านในปี 1946 และ 1947 โดย $3,750 ล้านในจำนวนนี้ให้กู้แก่อังกฤษ ..แต่ทั้งหมดนี้ก็ไม่อาจแก้ปัญหาวิกฤติได้ ..จนต้องมี Marshall Plan

ทรูแมนได้รับอนุมัติจากสภาให้ใช้เงิน $17,000 ล้านในช่วงระยะ 4 ปี แต่จริงๆแล้วใช้ไปทั้งหมด $13,500 ล้าน

พอถึงปี 1951 เศรษฐกิจของยุโรปก็ฟื้นตัว แต่ก็เกิดพร้อมกับการคุกคามของสงครามโลกครั้งใหม่มากขึ้น ทำให้สหรัฐต้องปรับเปลี่ยนการช่วยเหลือเป็นด้านการทหารมากขึ้น

ผู้ที่คิดว่า BRI มีการทุ่มการลงทุนมากกว่า Marshall Plan คาดผิดไปสองเรื่อง: หนึ่ง..พวกเขาเปรียบเทียบมูลค่าในอดีตจากเรื่องของเงินเฟ้อ สอง..พวกเขาละเลยเรื่องของโปรแกรมการช่วยเหลืออื่นๆของสหรัฐ

ปรับตามค่าเงินเฟ้อ เงินที่ใช้ไปใน Marshall Plan $1.35 หมื่นล้าน เทียบได้กับค่าเงินปัจจุบัน $1.3 แสนล้าน น้อยกว่าสิบเท่าของขนาดของ BRI ..ค่าเงินเฟ้อมีส่วนสำคัญในการเปรียบเทียบกับมูลค่าสินค้า หรืออาหาร

แต่..โครงการ Marshall Plan ไม่ได้เกี่ยวกับสินค้าโดยตรง..ถ้าจะเปรียบเทียบสัดส่วนให้แม่นยำขึ้น ควรเปรียบเทียบเป็นเปอร์เซนต์ของ GDP ....นั่นคือ สหรัฐตัดส่วนของ GDP ของตนกี่เปอร์เซนต์ไปใช้ในโครงการ

ถ้าใช้เทียบกับส่วนของ GDP ..สเกลที่แท้จริงของ Marshall Plan ก็จะเห็นได้ชัดขึ้น โปรแกรมการช่วยเหลือของสหรัฐทั้งหมดก็จะชัดขึ้น ..ทรูแมนขอจากคองเกรส $17,000 ล้านในปี 1947 นั่นคือเกือบ 7% ของ GDP หรือ $1.4 ล้านล้านในค่าเงินปัจจุบัน ประมาณคร่าวๆคือจำนวนที่จีนจะลงทุนใน BRI ..จำนวนที่ใช้ไปจริงที่ $13,500 ล้านเท่ากับค่าปัจจุบัน $1 ล้านล้าน ..แต่จีนใช้ไปแล้วรวม 6 ปีเพียง $2 แสนล้าน

Marshall Plan เป็นเพียงส่วนเดียวของแผนการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจทั้งหมดของสหรัฐ ในปี 1941 ปธน.แฟรงกลิน รูสเวลท์เริ่มโปรแกรมให้เงินกู้เพื่อพยุงฐานะของอังกฤษช่วงสงคราม ซึ่งในที่สุดสหรัฐก็เพิ่มเงินกู้รวมเป็น $43,000 ล้านให้กับประเทศนับสิบๆ รวมทั้งอังกฤษ สหภาพโซเวียตและฝรั่งเศส

นั่นมันเท่ากับประมาณ $4 ล้านล้านของเงินปัจจุบัน ..ก้อนใหญ่เมื่อเทียบกับ GDP ...และส่วนใหญ่ไม่ได้มีการชำระคืน

ภายหลังสงคราม..สหรัฐขยายวงเงินกู้เพิ่มไปอีก $10,000 ล้าน หรือ $9 แสนล้านในปัจจุบัน ด้วยเงื่อนไขที่ถูกสุดๆ ..อังกฤษเพิ่งชำระคืนงวดสุดท้ายไปเมื่อปี 2006 นี่เอง

จากปี 1941 ถึง 1951 สหรัฐใช้ไปรวมๆกันแล้ว ถึง $6 ล้านล้านในค่าเงินปัจจุบัน..สำหรับเงินช่วยเหลือต่างประเทศในโครงการทั้งสามนั้น

ตัวเลขนี้ ไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเข้าครองพื้นที่ในเยอรมันและญี่ปุ่น หรือเงินช่วยประเทศอื่นๆย่านเอเซียและแปซิฟิค

แต่สถิติก็ให้แค่บางส่วนของเรื่องราวทั้งหมด ..เงินช่วยส่วนใหญ่ของ BRI อยู่ในรูปเงินให้กู้ หลายอย่างก็อยู่ในรูปการลงทุนที่ไม่ก่อประโยชน์มากนัก และเสี่ยงที่จะเป็นกับดักหนี้ในหมู่ผู้รับเงินกู้

แผน Marshall Plan ระมัดระวังเรื่องการเกิดกับดักหนี้ในหมู่ประเทศยุโรป จึงมีเงื่อนไขในสัญญา ปรับให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและเป็นสกุลเงินท้องถิ่นของประเทศคู่สัญญา ..การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นมาตลอดทำให้เกิดเป็นหุ้นส่วนที่ดีและพัฒนาต่อมาจนกลายเป็น European Union ในที่สุด

Volker Berghahn แห่งมหาวิทยาลัย Columbia University บอกว่า Marshall Plan ช่วยกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนของสหรัฐที่มาช่วยสปาร์คการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของยุโรปช่วงปี 1950s

อเมริกากลายมาเป็นผู้นำของโลกเพราะความผูกพันธ์ในพันธะต่อชัยชนะที่มีต่อนาซีเยอรมันและจักรวรรดิ์ญี่ปุ่น เพื่อสร้างโลกใหม่ทันทีที่สงครามสงบลง และปกป้องพันธมิตรของตนจากคอมมูนิสต์โซเวียต ..ทั้งหมดนี้ด้วยต้นทุนที่เกินความเข้าใจของคนยุคปัจจุบัน

ถึงแม้ BRI จะได้ขยายอิทธิพลของจีนออกไปได้ทั่วทั้งเอเซียและยุโรป ..scope ใหญ่ๆของมันก็ไม่ใช่การปรับรูปแบบของระบบสากลปัจจุบันเอาเสียเลย

Cr.Sayan Rujiramora

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

#forex #ลงทุน #pepperstone #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

XM

FCA, ASIC,IFSC,
CySec
1000 : 1 1 pips – Micro
1 pips – Standard

0 pips - Ultra low
$5 0.01 lots View Profile
Visit Website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"