“สงครามกลางเมืองกัมพูชา​ กับการชักใยของมหาอำนาจในอดีต”

... ก่อน 1941 “กัมพูชา” เป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส... 1941 “ญี่ปุ่น” บุก “กัมพูชา ปีนี้ กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ ได้สวรรคตลง “ฝรั่งเศส” ได้เลือกหลานพระนัดดาพระองค์คือกษัตริย์นโรดม สีหนุ ได้ขึ้นครองราชย์ต่อ

... เนื่องจากฝรั่งเศสต้องการใช้สถาบันกษัตริย์เพื่อเป็นเครื่องมือหรือ “หุ่นเชิด” ต่อการธำรงอำนาจของตนต่อไป ( แบบเดียวกับกษัตริย์เบ๋าได๋ ของเวียตนาม ที่เป็นหุ่นเชิดของฝรั่งเศส )

... วันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1945 กองทหารญี่ปุ่นที่ยึดครองอินโดจีนของฝรั่งเศสอย่างหลวม ๆ ตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 1940 ได้เข้าปลดอาวุธฝรั่งเศสทั่วอินโดจีน และให้เจ้าหน้าที่ชาวฝรั่งเศสลาออกจากตำแหน่งการปกครองรวมทั้งมีการ “ติดอาวุธให้แก่ชาวกัมพูชา” และ “ปลุกกระแสชาตินิยมต่อต้านฝรั่งเศส” มาใช้เพื่อต้านทานการรุกของฝ่ายสัมพันธมิตรที่คาดว่าจะเกิดในปีนั้น ( คนเขมรถูกญี่ปุ่นหลอกให้มาจับอาวุธรบกับทหารฝรั่งสัมพันธมิตร โดยคนเขมรมองว่า ญี่ปุ่นมาช่วยตนรบกับพวกฝรั่งผิวขาวใจดำคือนักล่าอาณานิคม หรือตอนนั้นคือทหารสัมพันธมิตร ) โดยพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุทรงออกมาประกาศเอกราชและยกเลิกสนธิสัญญาและพันธะกรณีทั้งปวงที่มีต่อฝรั่งเศสออกเสีย และสร้างข้อตกลงกับญี่ปุ่นแทน

... 1945 ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ยอมถอนอำนาจออกจากกัมพูชา โลกเคลื่อนเข้าสู่ยุค "สงครามเย็น" มีการไล่ล่าหาแนวร่วมบริวารและดินแดนที่เป็นภูมิศาสตร์ที่สำคัญ

… 9 พฤศจิกายน 1953 “กัมพูชา” ได้เอกราชจาก “ฝรั่งเศส”

... 2 มีนาคม 1955 พระนโรดม สีหนุ ได้สละอำนาจแล้วให้พระบิดาคือ “สมเด็จพระนโรดม สุรามฤต” ขึ้นครองราชย์แทน หลังการสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหนุ ผู้เป็นพระราชโอรส เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ( ภายใต้สังกัดพรรคสังคมราษฎร์นิยมของพระองค์เอง ) พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤตจึงได้ทรงขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเมี่อวันที่ 3 มีนาคม 1955

... 15 มิถุนายน​1962 ( 2505 )​, เหมือนเป็นของขวัญให้กับ​กัมพูชา​จากประเทศมหาอำนาจที่มีอำนาจเหนือศาลโลก​ ที่ตัดสินมอบตัว​ "ปราสาทเขาพระวิหาร" ให้เป็นของกัมพูชา​ ด้วยคะแนนเสียงไม่เอกฉันท์​ 9​ต่อ​3 , นักวิเคราะห์บางสายบอกว่าเป็นการเอาใจเพื่อดึงหวังกัมพูชามาอิงแอบเป็นบริวารอเมริกา​ เพื่อให้ตีตัวออกห่างจาก "จีนแดง" และคอมมิวนิสต์มากขึ้น​ ( หน้าฉากกัมพูชาประกาศตัวเองว่าเป็นประเทศวางตัวเป็นกลางใน​ "สงครามเย็น" ตลอดมา​ )​

... 27 สิงหาคม 1963 กัมพูชาตัดความสัมพันธ์กับ “เวียดนามใต้” ที่ตอนนั้นปกครองโดยโงดิญเยียม หุ่นเชิดของ “อเมริกา” หลังจากนั้นไม่นานจนกระทั่ง โงดิญเยียม ก็ถูกสังหารเมื่อ 2 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน อเมริกาเริ่มไม่พอใจกัมพูชาที่ให้เวียตกงใช้เส้นทางผ่านดินแดนเพื่อมาทำสงครามในเวียตนามใต้

... ในปี 1965 ( 2508 ) กษัตริย์นโรดมสีหนุ มีนโยบายเอียงซ้ายมากขึ้น ในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 1965 พระนโรดม สีหนุได้ยุติข้อตกลงกับ "อเมริกา" งดรับความช่วยเหลือและหันไปรับความช่วยเหลือจาก "จีนและสหภาพโซเวียต" และใน คศ. 1966 มีข้อตกลงระหว่างจีนและพระนโรดม สีหนุมากขึ้นจนมี “กองทหารเวียดนามเหนือและเวียดกง” เข้ามาตั้งอยู่ในกัมพูชาตะวันออก และยอมให้ใช้ท่าเรือสีหนุวิลล์เพื่อขนส่งอาวุธและอาหารให้กับเวียดกง

… ในปีเดียวกัน พระนโรดม สีหนุยอมให้ นายพลลอน นอล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่นิยมอเมริกาปราบปรามกิจกรรมของฝ่ายซ้าย ทำให้สมาชิกกรมประชาชนส่วนหนึ่งหนีไปฮานอย พระนโรดม สีหนุเสียความนิยมไปส่วนหนึ่งเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจ สินค้าที่ควรส่งออกถูกส่งไปให้เวียดกง กองกำลังคอมมิวนิสต์ในประเทศติบโตขึ้นเรื่อยๆ การเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 11 กันยายน ฝ่ายอนุรักษนิยมได้คะแนนเสียงถึง 75%. ลอน นอลได้เป็นนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีคือพระสีสุวัตถิ์ สิริมตะ ซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามกับพระนโรดม สีหนุ ความตึงเครียดในสังคมเพิ่มขึ้น และยังช่วยส่งเสริมการเติบโตของพรรคคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ชนบท

... 18 มีนาคม 1970 “นายพลลอนนอล” ทหารคนสนิทของกษัตริย์นโรดมสีหนุ ได้ทำรัฐประหารล้มเจ้า เจ้านายตัวเอง โดยการสนับสนุนของ “อเมริกา” และตั้งระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐไม่มีกษัตริย์ และแต่งตั้งตัวเองเป็นประธานาธิบดีและประมุขแห่งรัฐ เป็น “จุดเริ่มต้นของ สงครามกลางเมืองเขมร” อย่างแท้จริง

... จอมพล ลอน นอล เกิดเมื่อ​ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1913 - 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1985 ลอน นอล เป็นชาวกัมพูชาเชื้อสายจีน เกิดที่จังหวัดไพรแวง เป็นบุตรชายของลอน ฮิล ข้าราชการระดับสูงของจังหวัดเสียมราฐ และจังหวัดกัมปงธม ปู่ของเขาเป็นชาวเขมรต่ำ ( แขมร์กรอม , กรอม แปลว่าต่ำ ) จากจังหวัดเตยนินห์ในเวียดนาม และมีย่าเป็นลูกครึ่งเขมร-จีน เป็นนายทหารและนักการเมืองกัมพูชา เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกัมพูชาสองสมัย และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมอีกหลายครั้ง

... ลอน นอลได้สถาปนาสาธารณรัฐเขมรขึ้นปกครองกัมพูชาระหว่างปี 1970 ถึง 1976 ในขณะนั้นได้เกิดสงครามกลางเมืองกับ “เขมรแดง” ( ที่จีนแดงหนุนหลัง ) ลอน นอลตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ และลี้ภัยไปอยู่อินโดนีเซีย ก่อนจะย้ายไปอาศัยใน “อเมริกา” ในช่วงบั้นปลายชีวิตเขามีปัญหาเรื่องสุขภาพ และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1985 ที่แคลิฟอร์เนีย

... 17 เมษายน 1975 “เขมรแดง” กับ “พระนโรดมสีหนุ” ได้ร่วมมือกันขับไล่ “หุ่นเชิดของอเมริกา” อย่างนายพลลอนนอลออกจากประเทศไป ( เพราะตอนนั้น “อเมริกาอ่อนแอ” และมีแผนจะถอนทหารออกจากอินโดจีน ) เพราะว่าไซง่อนหรือเวียตนามใต้จวนจะแตกให้เวียตนามเหนือ และในวันที่ 30 เมษายน คศ. 1975 ไซง่อนก็แตกให้ฝ่ายเหนือ ทั้งนี้พระนโรดมสีหนุเป็นหุ่นเชิดของรัฐบาลเขมรแดงช่วงปี ค.ศ. 1975–1976 เพื่อจับมือกันสกัดการขยายอิทธิพลของ “เวียตนามคอมมิวนิสต์” ที่กำลังฮึกเหิมหลังจากยึดไซง่อนได้

… นับตั้งแต่ “สตาลิน” ผู้นำของโซเวียตรัสเซียเสียชีวิตในปี 1953 ก็ทำให้ทั้ง “จีนแดง” และ “โซเวียตรัสเซีย” ขัดแย้งกันทางความคิด ทำให้เกิดการล่าแข่งขันการหาลูกน้องบริวารสหายสังคมนิยมไปทั่วโลก รวมทั้งใน​ "อินโดจีน" นั้น จีนสนับสนุนเขมรแดง ในกัมพูชา ขณะที่โซเวียตรัสเซีย หนุนเวียตนาม ตามมาด้วยสงครามระหว่างกันตามแนวพรมแดนจีน​รัสเซียในปี 1969

… สิ่งแรกที่ “เขมรแดง” กระทำหลังจากได้รับอำนาจ คือ การกวาดต้อนประชาชนกัมพูชาทั้งหมดจากกรุงพนมเปญและเมืองสำคัญอื่น ๆ มาบังคับให้ทำการเกษตรและใช้แรงงานร่วมกันในพื้นที่ชนบท เพื่อจำแนกประชาชนที่ถือว่าเป็น "ศัตรูทางชนชั้น" ไม่ว่าจะเป็น ทหาร ข้าราชการ เชื้อพระวงศ์ ผู้มีการศึกษา หรือผู้มีวิชาชีพเฉพาะในด้านต่าง ๆ ออกมาเพื่อขจัดทิ้ง การกระทำดังกล่าวนี้ ส่งผลให้ประชาชนชาวกัมพูชาต้องเสียชีวิตจากการถูกสังหาร ถูกบังคับใช้แรงงาน และความอดอยาก เป็นจำนวนประมาณ 850,000 ถึง 3 ล้านคน ซึ่งเมื่อเทียบอัตราส่วนของประชาชนที่เสียชีวิตต่อจำนวนประชาชนกัมพูชาทั้งหมดในขณะนั้น ( ประมาณ 7.5 ล้านคน ใน คศ. 1975 ) ถือได้ว่าระบอบการปกครองของเขมรแดงเป็นหนึ่งในระบอบที่มีความรุนแรงที่สุดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20

... 2 เมษายน 1976 กษัตริย์นโรดมสีหนุถูกเนรเทศออกนอกประเทศ “เขมรแดง” ครอบครอง” ประเทศแบบเบ็ดเสร็จ โดยมี “จีนแดง” สนับสนุนอยู่ข้างหลัง

... 31 ธันวาคม 1977 กัมพูชา ที่มีรัฐบาล “เขมรแดง” ( ที่จีนแดงหนุนหลัง ) เป็นผู้ปกครอง ได้ตัดสัมพันธ์กับ “เวียตนาม” ที่ตอนนั้นเป็นคอมมิวนิสต์ทั้งประเทศแล้ว หลังจากที่ 30 เมษายน1975 เวียตนามใต้แพ้แก่ฝ่ายเหนือ

... 7 มกราคม 1979 เกิด “สงครามระหว่างเขมรแดงกับเวียตนาม” และสุดท้ายเวียตนาม ( ที่โซเวียตรัสเซียหนุนหลัง ) ก็ปกครองกัมพูชา โดยมีเฮงสัมริน ชาวเขมรหุ่นเชิดเวียตนามปกครอง และสมเด็จฮุนเซน ก็เป็นหนึ่งในกองกำลังเขมรที่ดึงและร่วมมือกับเวียตนามในการเข้ามาไล่เขมรแดง และพาเวียตนามมายึดประเทศตัวเอง

... 26 กันยายน 1989 ปลายสงครามเย็น โซเวียตรัสเซียถังแตก หลังจากที่ “เฮงสัมริน” ที่มีเวียตนามหนุนหลังอยู่ ก็ได้มีการถอนทหารเวียตนามออกจากกัมพูชา ช่วงนี้มีทหารเวียตนามได้เข้ามาสร้างครอบครัวกับชาวคนเขมรท้องถิ่นมากมาย บางคนก็ปักหลักถิ่นฐานอยู่ที่กัมพูชา ไม่ยอมกลับบ้าน

... 16 มีนาคม 1992 หลังจาก “สงครามเย็น” จบ กำแพงเบอร์ลินแตก และสงบสนิท ในปี 1991 สหประชาชาติได้ส่งกองทหารมาดูแลในกัมพูชา ( เพราะว่าโซเวียตแตก ไม่มีเงินเพราะเอาเงินไปสร้างอาวุธจรวดหลายพิสัยคานอำนาจกับอเมริกาจนถังแตก ต้องหยุดสนับสนุนเวียตนาม ... อเมริกาฉลาดมากที่หลอกให้สร้างผลิตอาวุธเยอะๆจนเงินหมด ถังแตก ... ตอนนี้ก็กำลังสร้างสงครามใน ซีเรีย เวเนซุเอล่า หลอกรัสเซียให้เสียงบประมาณอีกแล้ว 2019 ... แล้ว เวียตนามจึงต้องถอนออกจากกัมพูชาในปี 1989 แล้วให้กัมพูชาปกครองกันเอง โดยสหาย “เฮงสัมริน” ตามต่อมาด้วย “ฮุนเซน” )

... เดือนพฤษภา 1993 ยูเอ็น พยายามให้มีการเลือกตั้งตามแบบ “เลือกตั้งธิปไตย” อเมริกาพ่อยูเอ็น พยายามเป็นเจ้าภาพ กกต. อยากให้กัมพูชาเป็นประเทศเสรีประชาธิปไตยแบบตัวเอง ในตอนที่ “รัสเซีย” กำลังอ่อนแอ เลียแผลอยู่ที่บ้าน แต่ “เขมรแดง” ไม่ยอมรับการเลือกตั้งในครั้งนี้

... และปีเดียวกันนั้น เดือนกันยายน มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่ให้มีการรื้อระบบกษัตริย์กลับมาใหม่ ( อเมริกา เอาใจกษัตริย์สีหนุอีกครั้ง ทั้งๆที่ก่อนนั้นอเมริกาหนุนนายพลลอนนอลรัฐประหารท่านเอง หวังให้กลับมาเป็นหุ่น หวังจะปกครองกัมพูชาอีกครั้ง ขณะที่ ใน “ไทย” อเมริกาก็พยายามประโคมรณรงค์ “เปลี่ยนสนามรบ เป็นสนามการค้า” อย่างหนัก ในสมัยน้าชาติชายก่อนนั้น 1992 พฤษภาทมิฬ )

… หัวใจหลักของ “อเมริกา” คือต้องการจะมามีอิทธิพลในอินโดจีน แทน จีนและรัสเซีย หลังสงครามเย็น ( แบบที่พวกเขาทำในโปแลนด์ ยูโกสลาเวียเดิม และยูเครน )

... 15 เมษายน 1998 “พลพต” ผู้นำ “เขมรแดง” เสียชีวิต จีนก็เปลี่ยนนโยบายไม่แทรกแซงประเทศเพื่อนบ้านลดลงตั้งแต่ปี 1991 ทำให้ตอนนั้น อิทธิพล จีน และ รัสเซียหายไปจากกัมพูชา

... แม้ว่า “กัมพูชา” โดย “สมเด็จฮุนเซน” ยังคงมีสัมพันธ์ที่ดีกับ “เวียตนาม” เหมือนเดิม เพราะเป็นเหมือนผู้ที่ทำให้กำเนิดในการปกครองประเทศมาอย่างยาวนาน แต่ก็มีอิสระในการคบค้ากับ “จีน” มากขึ้น ที่จีนเองก็คบค้าทั้งกับ กัมพูชาและเวียตนามด้วย โดยนโยบายของจีนจะคบค้าขายกับประเทศต่างๆใน “แบบเท่าเทียบกัน” ไม่มีลูกพี่ ลูกน้อง แบบที่อเมริกายังทำอยู่จนถึงปัจจุบัน จีน ไม่มีการแทรกแซงทางการทหาร ไม่มีการกดดันทางการเงิน การค้า ภาษี ใดๆกับประเทศคู่ค้า จนทำให้สุดท้ายในปี 2019 “จีน” เป็นประเทศที่มาลงทุนใน “กัมพูชา” มากที่สุดและมีอิทธิพลทางการเมือง การทหารต่อกัมพูชามากที่สุดเช่นกัน เป็นเหมือนฐานรากค้ำบัลลังก์อำนาจของผู้นำกัมพูชาคนปัจจุบัน

คลิก

คลิก

คลิก

คลิก

คลิก

Cr.Jeerachart Jongsomchai
----------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact

230424 icm 100x33

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

XM

FCA, ASIC,IFSC,
CySec
1000 : 1 1 pips – Micro
1 pips – Standard

0 pips - Ultra low
$5 0.01 lots View Profile
Visit Website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"