การบริหารอัตราแลกเปลี่ยนในเอเชีย

สองอาทิตย์ก่อน ผมได้รับเชิญจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) ให้เป็นวิทยากรพิเศษ พูดเรื่อง “ความท้าทายและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน ของภูมิภาคเอเชีย” ในงานประชุมธนาคารกลางภูมิภาค เรื่อง

“การประเมินฐานะต่างประเทศ ความยั่งยืน และนโยบาย” ที่สำนักงานฝึกอบรมภูมิภาคเอเชียของไอเอ็มเอฟ ที่สิงคโปร์ วันนี้ก็เลยอยากจะแชร์ความเห็นผมที่ได้ให้ไปในเรื่องนี้ ให้แฟนคอลัมน์ “เศรษฐศาสตร์บัณฑิต” ทราบ

การดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนและนโยบายการเงินเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก ซึ่งสำหรับภูมิภาคเอเชีย เมื่อ 20 ปีก่อน หลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจเอเชีย ปี 1997 ประเทศในเอเชียได้ปฏิรูปการดำเนินนโยบายการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนครั้งใหญ่ เพื่อให้การดำเนินนโยบายการเงินมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่จะดูแลความเสี่ยงที่อาจมีต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะความเสี่ยงจากความเป็นโลกาภิวัฒน์ของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ หลายประเทศรวมถึงไทยได้ปฏิรูปการดำเนินนโยบายการเงินและระบบอัตราแลกเปลี่ยน โดยนำการกำหนดนโยบายการเงินที่มีอัตราเงินเฟ้อเป็นเป้าหมาย(inflation targeting)มาใช้ และเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่เดิม มาเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว(floating regime) ที่อัตราแลกเปลี่ยนจะเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้การดำเนินนโยบายการเงินและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนในเอเชียมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และเป็นกลไกสำคัญที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของภูมิภาค ส่งเสริมให้เศรษฐกิจของเอเชียสามารถเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพ

มองย้อนกลับไป ตอนนี้ก็มากกว่า 20 ปีแล้ว ที่เราได้เห็นประสบการณ์การบริหารนโยบายการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนในเอเชียหลังการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ปี 1997 ซึ่งการบริหารนโยบายทั้งสองได้ผ่านความท้าทายต่างๆ มามากมาย ที่ผมได้ให้ความเห็นไปก็คือ พูดถึงความท้าทายเหล่านี้ และสิ่งที่ผมคิดว่า จะเป็นประเด็นสำคัญหรือความท้าทายต่อการดำเนินนโยบายในปัจจุบัน ประสบการณ์ที่ว่านี้ แบ่งได้เป็นสามช่วง

ช่วงแรก คือ ช่วงหลังวิกฤติ ปี 1997 ที่การดำเนินนโยบายการเงินแบบมีอัตราเงินเฟ้อเป็นเป้าหมาย และระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวได้ถูกนำมาใช้ ความท้าทายในช่วงนั้นคือ การทำให้ระบบใหม่ทั้งสองระบบ สามารถทำงานได้จริงจังและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับการดำเนินนโนบายการเงินและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศ ซึ่งงานหลักคือการรักษาวินัยของการดำเนินนโยบายการเงินภายใต้ระบบใหม่ การสร้างความเข้าใจกับสาธารณะชนเกี่ยวกับรูปแบบใหม่ของนโยบายการเงิน และดูแลให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวตามภาวะตลาด ในระดับของความผันผวนที่จะไม่เป็นอุปสรรคหรือสร้างข้อจำกัดให้กับเศรษฐกิจ เพื่อให้ระบบใหม่เป็นที่ยอมรับและมีความน่าเชื่อถือ

ในระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ความผันผวนเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้น ซึ่งจะมีผลต่อเศรษฐกิจ ทั้งในแง่ผลต่ออัตราเงินเฟ้อในประเทศ ผลต่อฐานะของดุลบัญขีเดินสะพัด ความเสี่ยงต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นของภาคเอกชน ทำให้การเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งที่ต้องบริหารจัดการ ที่ต้องพยายามดูแลความผันผวนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่เป็นภาระจนเกินไปต่อภาคธุรกิจ ทำให้บางครั้งต้องมีการแทรกแซง เพื่อให้การเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจ นี่เป็นความท้าทายสำคัญ โดยเฉพาะในประเทศที่ภาคเอกชนเคยชินกับอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่เป็นเวลานาน เช่น กรณีของประเทศไทย

ช่วงที่สอง คือ ช่วงหลังเกิดวิกติเศรษฐกิจการเงินโลกครั้งใหญ่ ปี 2008 ที่นำไปสู่การดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากของประเทศอุตสาหกรรม ทั้งสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น ที่การดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเหล่านี้ได้ออกนอกรูปแบบปรกติ (unconventional) เช่น การอัดฉีดสภาพคล่องผ่านมาตรการคิวอี และนโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ สิ่งเหล่านี้สร้างผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนในเอเชียอย่างไม่เคยมีมาก่อน อย่างน้อยในสองด้าน หนึ่งความผันผวนในตลาดการเงินโลกเพิ่มสูงขึ้นมาก ทั้งในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ตลาดเงิน และตลาดหุ้น สอง เกิดการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศอย่างต่อเนื่องและในปริมาณที่มากสู่ประเทศในเอเชียเพื่อหากำไร สร้างความท้าทายต่อการดำเนินนโยบายการเงินและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศในเอเชียเพื่อรักษาการเติบโตและเสถียรภาพของเศรษฐกิจ

ความผันผวนในตลาดการเงินโลกที่มากขึ้น และเงินทุนไหลเข้าในปริมาณที่มาก เป็นความท้าทายที่ทำให้การดำเนินนโยบายการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนในเกือบทุกประเทศในเอเชียต้องปรับตัว เพราะความเสี่ยงที่มากับเงินทุนไหลเข้าที่มีต่อการขยายตัวและต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ การดำเนินนโยบายการเงินและการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศในภูมิภาคเอเชียเข้มข้นกว่าเดิมมาก(active) มีการใช้มาตราการแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศ ใช้มาตราการควบคุมการไหลเข้าออกของเงินทุนต่างประเทศ และใช้มาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ (Macro - prudential) ควบคู่ไปกับการดำเนินนโยบายการเงินและการบริหารอัตราแลกเปลี่ยน สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นแพร่หลายในภูมิภาค เกิดขึ้นในหลายประเทศช่วงสิบปีหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลก ปี 2008 จนทำให้การใช้มาตรการพิเศษเหล่านี้ ควบคู่ไปกับการดำเนินนโยบายการเงินและอัตราแลกเปลี่ยน กลายเป็นเรื่องปรกติ มีให้เห็นได้ทั่วไปในหลายประเทศ

ในเรื่องนี้ ผมได้ให้ความเห็นต่อที่ประชุมว่า การดำเนินนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมแบบออกนอกกรอบปรกติ(unconventional) ได้ทำให้การดำเนินนโยบายการเงินของประเทศตลาดเกิดใหม่ในเอเชียออกนอกกรอบปรกติตามไปด้วย คือเป็นการทำนโยบายแบบผสมผสาน คือ ผสมนโยบายการเงินแบบมีอัตราเงินเฟ้อเป็นเป้าหมาย และระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ผสมกับการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนและการใช้มาตรการควบคุมการไหลเข้าออกของเงินทุนต่างประเทศและการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ เกิดขึ้นตามความจำเป็นที่ต้องดูแลความเสี่ยงที่อาจมีต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจจากผลกระทบที่มาจากภายนอก

ช่วงที่สาม คือ สถานการณ์ปัจจุบันที่การดำเนินนโยบายการเงินและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ภายใต้ภาวะที่เศรษฐกิจโลกมีความไม่แน่นอนสูงมาก โดยเฉพาะความไม่แน่นอนด้านนโยบายที่มาจากสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐ จากปัญหาความไม่แน่นอนทางภูมิศาสตร์การเมืองในหลายพื้นที่ เช่น กรณีBrexit ของอังกฤษ ปัญหาการเมืองในยุโรป ในภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังอ่อนตัวเป็นขาลงโดยเฉพาะในประเทศใหญ่ เช่น จีนและสหรัฐ และภายใต้ภาวะแวดล้อมของนโยบายการเงินสหรัฐที่ต้องการลดการผ่อนคลายของนโยบายการเงินแม้เศรษฐกิจโลกจะเริ่มชะลอ

สิ่งเหล่านี้ คือ ความขัดแย้ง และความไม่แน่นอนที่สร้างความเสี่ยงต่อการไหลออกของเงินทุนต่างประเทศจากภูมิภาคเอเชีย ทำให้สภาพคล่องทางการเงินในภูมิภาคเอเชียอาจเป็นปัญหา อัตราแลกเปลี่ยนจะผันผวนมากขึ้นและความเสี่ยงต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจจะสูงขึ้น โดยเฉพาะผลกระทบที่จะมีต่อความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทเอกชน ทำให้ธนาคารกลางในภูมิภาคจะต้องพยายายามรักษาความสมดุลย์ระหว่างการสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ ภายใต้เป้าหมายเงินเฟ้อ และการลดความเสี่ยงที่อาจมีต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศ

ความท้าทายนี้ทำให้การดำเนินนโยบายการเงินของประเทศตลาดเกิดใหม่ในเอเชียอาจจำเป็นต้องพึ่งการดำเนินนโยบายแบบออกนอกกรอบปรกติต่อไป คือผสมผสานนโยบายการเงินและการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนกับการใช้มาตรการควบคุมต่างๆ เพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ ที่จะสร้างความไม่แน่นอนมากขึ้นให้กับภาคธุรกิจและนักลงทุน นี่คือความท้าทายของการดำเนินนโยบายการเงินในภาวะปัจจุบัน

โดย ดร.บัณฑิต นิจถาวร
คอลัมนิสต์ประจำคอลัมน์ "เศรษฐศาสตร์บัณฑิต"

Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

สนับสนุนข่าวโดย ICMarkets
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

XM

FCA, ASIC,IFSC,
CySec
1000 : 1 1 pips – Micro
1 pips – Standard

0 pips - Ultra low
$5 0.01 lots View Profile
Visit Website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"