อังกฤษปล้นอินเดียยังไง ตั้ง $45 ล้านล้าน

มีเรื่องที่รู้กันทั่วในสังคมอังกฤษว่าการยึดเอาอินเดียเป็นอาณานิคมที่ได้มาอย่างยากลำบากนั้น ไม่ได้สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เด่นชัดแก่อังกฤษเลย การบริหารราชการในประเทศอินเดียกลับเป็นภาระต่ออังกฤษ ..ดังนั้น

การยึดครองอินเดียเอาไว้ยาวนานแบบนั้น เป็นความแสดงถึงความเมตตาของอังกฤษมากกว่า

แต่จากการค้นคว้าของนักเศรษฐศาสตร์หญิง Utsa Patnaik ที่เพิ่งตีพิมพ์ของ Columbia University Press กลับเป็นอีกเรืองหนึ่งไปเลย ..ในรายละเอียดของการค้าและภาษีในรอบเกือบสองศตวรรษ ..Patnaik คำนวนได้ว่า อังกฤษได้สูบเอาความมั่งคั่งจากอินเดียรวมแล้วเกือบ $45 ล้านล้าน (45 trillions) ในช่วงปี 1765 ถึง 1938

$45 ล้านล้านนี่มากกว่า GDP ของสหราชอาณาจักรในปัจจุบันถึง 17 เท่า !

แล้วมันเกิดขึ้นได้ยังไง

มันก็เป็นการผ่านระบบการทำการค้านี่แหละ ก่อนที่จะยึดเอาเป็นเมืองขึ้น อังกฤษซื้อสินค้าเช่นผ้าและข้าวจากผู้ผลิตในอินเดียและจ่ายเป็นปกติด้วยซิลเวอร์ ในแบบที่ทำกับประเทศอื่นๆทั่วไป ...แต่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในปี 1765 หลังจากมีการยึดครองอนุทวีปอินเดียไว้ได้..บริษัท East India Company ที่เป็นตัวแทน สามารถผูกขาดการค้าในประเทศอินเดียได้ทั้งหมด

มันเริ่มแบบนี้ ..East India Company ได้สิทธิ์การเป็นผู้เก็บภาษีในอินเดีย และใช้เงินหนึ่งในสามนั้นในการซื้อสินค้าจากอินเดียเพื่อใช้ในประเทศอังกฤษ ..พูดง่ายๆอีกอย่างก็คือ แทนที่จะต้องจ่ายด้วยเงินตัวเอง บริษัทนี้ "ซื้อ" ของแบบได้เปล่าจากเหล่าชาวนาและโรงงานเล็กๆ โดยใช้เงินที่เก็บมาจากพวกเขานี่แหละ

นี่เป็นการปล้นในสเกลขนาดยักษ์เลย ..แต่ชาวอินเดียทั่วไปจะไม่รู้เลยว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น เพราะเจ้าหน้าที่ที่มาเก็บภาษีเป็นคนชาติเดียวกันในขณะที่ผู้ซื้อสินค้าเป็นตัวแทนต่างชาติ

สินค้าบางส่วนก็ใช้บริโภคในอังกฤษเอง ที่เหลือก็ re-export ออกไป ..ระบบ re-export ทำให้อังกฤษมีฐานะทางการเงินที่จะ import สินค้ายุทธปัจจัยเช่น เหล็ก น้ำมัน และไม้สัก จากยุโรปได้มากขึ้น ..นี่ทำให้ความเจริญทางอุตสาหกรรมของอังกฤษรุดหน้าไปได้ ....ที่จริงแล้วการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมครั้งสำคัญ....ส่วนใหญ่ก็ขึ้นอยู่กับการปล้นอย่างเป็นระบบนี้จากอินเดียนี่เอง

เหนือสิ่งอื่นใด อังกฤษสามารถขายสินค้า "ของโจร" นี้สู่ประเทศอื่นมากกว่าที่ซื้อมา ไม่เพียงแค่ราคาทุนที่ไม่ต้องจ่ายเองแล้ว ยัง mark up ราคาขึ้นไปได้อีก

หลังเปลี่ยนการปกครองเป็นแบบ British Raj ในปี 1858....
...... (บริติชราช (อังกฤษ: British Raj; ฮินดี: ब्रिटिश राज) หรือเรียกอย่างง่ายว่า อินเดีย หมายถึงการปกครองโดยพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรในอนุทวีปอินเดียระหว่างปี ค.ศ. 1858 ถึง 1947 ซึ่งบางครั้งก็รู้จักในชื่อ การปกครองโดยตรงในอินเดีย ...จาก Wikipedia)......

....เจ้าอาณานิคมได้เพิ่มมาตรการระบบการจัดเก็บภาษีและการ "ซื้อ" ขึ้นใหม่เป็นพิเศษ ..เมื่อบริษัท East India Company หมดอำนาจลง พ่อค้าชาวอินเดียก็ได้รับอนุญาตให้ส่งสินค้าออกต่างประเทศได้ ...แต่อังกฤษก็มีวิธีทำให้การชำระเงินค่าสินค้าไปจบลงได้ที่ลอนดอน

แล้วมันทำได้ยังไง ..ง่ายๆเลย ผู้สั่งซื้อสินค้าจากอินเดียต้องซื้อด้วยเอกสาร Council Bills สกุลเงินพิเศษที่ตราขึ้นโดยอำนาจกษัตริย์อังกฤษ โดยต้องแลกล่วงหน้าจากลอนดอนด้วยทองคำหรือซิลเวอร์เท่านั้น เรียกว่าผู้นำเข้าจะต้องชำระทองคำหรือซิลเวอร์เพื่อนำ Council Bills ไปชำระค่าสินค้าจากพ่อค้าชาวอินเดียอีกทอดหนึ่ง

เมื่อพ่อค้าชาวอินเดียนำบิลนี้ไปขึ้นเงินสดที่สำนักงานอาณานิคมท้องถิ่น ก็จะได้เงิน "รูปี" ซึ่งก็คือเงินภาษีของชาวอินเดียเองนั่นแหละ ....ก็ยังคงเป็นการปล้นอยู่ดี ...ส่วนทองคำก็เป็นของอังกฤษไป

ในช่วงสามสิบปีแรกของต้นศตวรรษที่ 20 อินเดียได้ดุลการค้าจากประเทศอื่นๆมาก แต่จากระบบคอรัปท์นี้ การเกินดุลก็กลายเป็นขาดดุลในบัญชีเดินสะพัดของประเทศไป ...รายได้จากการส่งออกที่ควรเป็นของชาติกลับไหลไปอยู่ที่อังกฤษจนหมด

อินเดียเป็นห่านที่ออกไข่ทองคำให้อังกฤษอยู่นานมาก ในขณะที่การขาดดุลชำระเงินทำให้อินเดียต้องกู้เงินจากอังกฤษเพื่อสนับสนุนการนำเข้าสินค้า ประชาชนอินเดียทั้งประเทศกลายเป็นลูกหนี้ให้กับเจ้าอาณานิคม ซึ่งยิ่งทำให้ต้องพึ่งพาอังกฤษมากขึ้นไปอีก

อังกฤษใช้สิ่งที่ปล้นได้นี้มาเป็นทุนในการสร้างจักรวรรดิ์ของตนด้วยความรุนแรงต่อเนื่อง เป็นทุนในการเข้าปล้นจีนในปี 1840 และใช้ปราบปรามกบฏชาวอินเดียในปี 1857 ....ค่าใช้จ่ายทั้งหลายที่อังกฤษใช้ทำสงครามเพื่อรุกรานชาติอื่นๆล้วนมาจากรายรับที่ได้จากอินเดียทั้งนั้น

ยังไม่พอ อังกฤษใช้เงินจากอินเดียในการ finance การขยายลัทธิทุนนิยมออกไปทั่วยุโรปและอาณานิคมต่างๆของตน เช่นแคนาดา ออสเตรเลีย ..ดังนั้นมันก็ไม่ใช่แค่ช่วยให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษเท่านั้น แต่มันหมายถึงการอุตสาหกรรมของโลกตะวันตกเกือบทั้งหมดจากเงินของอาณานิคมทั้งหลาย

Patnaik คำนวนสิ่งที่อินเดียถูกปล้นไปโดยแบ่งเป็น 4 ยุค ตั้งแต่ 1765 ถึง 1938 ได้ประมาณ $44.6 ล้านล้าน นี่เป็นตัวเลขขั้นต่ำแล้วที่ยังไม่ได้รวมส่วนที่อินเดียเป็นหนี้และชำระไปแล้ว

ถ้าอินเดียสามารถใช้เงินเหล่านี้ลงทุนพัฒนาประเทศมาตลอดตั้งแต่ตอนนั้น ไม่อาจบอกได้ว่าตอนนี้เศรษฐกิจของอินเดียจะเป็นอย่างไร แต่ที่แน่ๆ ความยากจนของประชาชนคงไม่มีให้เห็น

ในช่วงที่ David Cameron เป็นนายกรัฐมนตรี เขาเคยอ้างว่าอังกฤษนี่แหละที่ปกครองอินเดียในลักษณะช่วยเหลือมาตลอด ...จากการทำ YouGov poll เมื่อปี 2014 ...ประชาชนอังกฤษราว 50% เชื่อว่าการเข้ายึดครองเมืองขึ้นเป็นการสร้างประโยชน์ให้แก่เหล่าประเทศอาณานิคมเอง

ในช่วงที่อินเดียเป็นอาณานิคม 200 ปีนั้นไม่มีการเพิ่มขึ้นของรายได้ต่อหัวเลย (per capita) ที่จริงมันตกลงไปครึ่งหนึ่งด้วยซ้ำในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ...อายุเฉลี่ยของชาวอินเดียลดลง 1/5 ระหว่างปี 1870-1920 คนนับสิบล้านตายจากทุพภิกขภัย

อังกฤษไม่ได้ช่วยพัฒนาอินเดียหรอก แต่มันตรงข้าม อินเดียต่างหากที่ช่วยพัฒนาประเทศอังกฤษ

อังกฤษควรจะทำอะไร ขอโทษต่ออินเดียหรือ ..ชดใช้หรือ ...ที่จริงเราควรทำให้เรื่องนี้ปรากฏออกมา ควรต้องแก้ไขตำราเรียน ให้ชัดไปเลยว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ผ่านๆมาน่ะ มันเป็นเงินทุนของอืนเดียที่ได้จากการไปปล้นเอามาจากประชาชนที่ทุกข์ยากเหล่านั้น

The views expressed in this article are the author's own and do not necessarily reflect Al Jazeera's editorial stance.

Cr.Sayan Rujiramora

สนับสนุนข่าวโดย ICMarkets
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact

230424 icm 100x33

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

XM

FCA, ASIC,IFSC,
CySec
1000 : 1 1 pips – Micro
1 pips – Standard

0 pips - Ultra low
$5 0.01 lots View Profile
Visit Website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"