“เฟด ขึ้นดอกเบี้ยรังแกชาวโลก บาปนั้นจะคืนสนอง”

... หลังจากหยุดการออก QE มา 3 ปี ที่เริ่มจาก 2008 – 2015 และเริ่มขึ้นดอกเบี้ยมา 3 ปี จาก 2015 จนถึง 2018 พวกเขาทำสองอย่างไปพร้อมๆกันคือเอาเงินของรัฐไปกว้านซื้อหนี้เสียทั้งในรูปของพันธบัตร หรือ ตราสารที่มีสินเชื่อค้ำประกันของบริษัท

ที่มีปัญหาพร้อมๆกับการลดอัตราดอกเบี้ยต่ำเรี่ยศูนย์เพื่อกระตุ้นให้นักลงทุนตาวาว มากู้ไปลงทุนในตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตร ซึ่งปรากฏว่าในระหว่างปี 2008 – 2015 ที่ออกคิวอีนั้น นักลงทุนแทนที่จะเอาไปเงินลงทุนในตลาดอเมริกาบ้านตัวเอง ตามวัตถุประสงค์ในการฟื้นชีพของตลาดทุนของตัวเอง กลับเกิดเงินไหลออก นักลงทุนเอาเงินนั้นไปหากินยังต่างประเทศทั่วโลก

... แต่เพราะว่าในอเมริกาได้อัตราดอกเบี้ยต่ำเรี่ยศูนย์ พวกนักลงทุนเขาจึงย้ายเงินลงทุนที่กู้จากเฟดในโครงการคิวอีในอัตราดอกเบี้ยต่ำไปกระจายออกดอกในตลาดหลักทรัพย์ ตลาดพันธบัตรทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศตลาดเกิดใหม่ เช่นในเอเชีย จนหลายสายมองว่าเป็นการเอาเงินร้อนจากอเมริก มาให้เอเชียกู้ในสกุลดอลล่าร์เพื่อให้เอเชียติดกับดักหนี้มากๆ เหมือนที่เคยทำกับเอเชียในปี 1997 จนเกิดวิกฤติ

... หลังจากที่อเมริกาค่อยๆขึ้นดอกเบี้ยจากปี 2015 – 2018 และเพราะเหตุผลที่พวกเขาอ้างว่ากลัวเงินคิวอีจะทำให้เงินเฟ้อ ( จริงๆ คือฟองสบู่ตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร จะแตก ) และกระตุ้นเศรษฐกิจมานานพอแล้ว ถึงเวลาต้อง “ขึ้นดอกเบี้ย” บ้าง ทำให้เงินคิวอีจากอเมริกาค่อยๆทยอยไหลคืนกลับแผ่นดินแม่ “อเมริกา” เพื่อจะกลับไปเอาเงินจากดอกเบี้ยที่สูงขึ้นในบ้านเกิดและไม่ต้องเสี่ยงกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้เงินไหลจากหลายประเทศไหลกลับบ้านเกิด และเมื่อประกอบกับเกมการรังแกกัน เช่นในกรณีของ “ตุรกี” หลังจากที่เฟดขึ้นดอกเบี้ยทำให้เงินไหลออกจากตุรกี ทำให้ค่าเงินลีร่าตกต่ำ แถมอเมริการังแกเรื่องขึ้นภาษีและการเมืองอีก ทำให้ตุรกีแย่หนัก นอกจากนั้น ยังมีอีกหลายประเทศที่ประสบปัญหาเหมือนกัน เช่น อาร์เจนติน่า อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย บราซิล เม็กซิโก

... ตอนนี้ในหลายประเทศ เหล่านั้น พยายามจะสร้างเขื่อนกั้นเงินจากคิวอีกลับอเมริกา โดยการพยายามจะขึ้นดอกเบี้ย โดยเฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อจะดึงดูดเงินจากนักลงทุนให้เก็บไว้ในตลาดประเทศเขาต่อไป ซึ่งการทำแบบนี้ก็ต้องขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ด้วยเพื่อคานการขาดทุนของนายธนาคาร จะทำให้เกิดการลดการลงทุนและเศรษฐกิจในประเทศเหล่านั้น ดังนั้น ถ้าสมมุติว่าถ้าในปี 2019 เฟดของอเมริกาขึ้นดอกเบี้ยอีก เงินร้อนเมื่อสิบปีก่อนจะเริ่มไหลออกจากตลาดบ้านเรา ถ้าประเทศไทยเราแก้ปัญหาโดยการจะขึ้นดอกเบี้ยตาม ก็จะทำให้การลงทุนในประเทศสะดุด และตามมาด้วย การใช้จ่ายของประชาชนทั่วประเทศลดลง ภาษีรายได้ของประเทศก็จะลดตามมา

... ขณะที่ใน “อเมริกา” เองเมื่อทำการขึ้นดอกเบี้ยทั้งๆที่คิวอี ไม่มีประสิทธิภาพ โดยสังเกตจากการจ้างงานยังไม่ดี ยังต้องแจกคูปองเลี้ยงคนจน รายจ่ายส่วนนี้ยังมากมาย มีการไหลของการลงทุนบริษัทใหญ่ไปต่างแดน อัตราเงินเดือนยังไม่เพิ่ม จะยิ่งทำให้อเมริกาเจอปัญหาอีกมากเช่น ตลาดบ้านที่อยู่อาศัยจะยิ่งขายยากมากขึ้น เพราะเมื่อดอกเบี้ยเงินกู้ผ่อนบ้านแพงขึ้น คนก็ไม่กล้ามาซื้อบ้าน บ้านก็ขายไม่ได้ และถ้าปริมาณบ้านที่สร้างมากและขายได้น้อยก็จะเกิดวิกฤติฟองสบู่ของอสังหาริมทรัพย์อีก หรือการใช้จ่ายบัตรเครดิตก็จะน้อยลงเพราะอัตราดอกเบี้ยแพงขึ้น การจะซื้อรถแบบผ่อนก็จะลดลงด้วยเหตุผลเดียวกัน การกู้เงินมาลงทุนขยายธุรกิจก็จะน้อยลง ทำให้เงินเดือนไม่ขยับขึ้น การสร้างงานสร้างเงินก็น้อยลง การใช้จ่ายซื้อขายของผู้บริโภคชาวบ้านทั่วไปในประเทศก็น้อยลง รายได้ภาษีที่จะเอามาหล่อเลี้ยงประเทศของอเมริกาก็ยิ่งน้อยลง รายได้ที่จะมาจ่ายหนี้ทั่วโลกก็น้อยลง

... ยิ่งตอนนี้อเมริกา มีหนี้มากมาย ยิ่งต้องเจอปัญหาการ “ขยายเพดานหนี้” ไปอีกเรื่อยๆ ประกอบกับระหว่างการขึ้นดอกเบี้ยนี้ อเมริกาพยายามจะขายคืนพันธบัตร หุ้นกู้เน่าที่ซื้อจากบริษัทที่เจอวิกฤติในปี 2008 หรือที่เรียกว่า Unwind นั้นก็ต้องใช้เงิน ก็ยิ่งไม่มีเงินมาซื้อคืน ถึงจะปล่อยให้พันธบัตรหมดอายุก็ต้องการเงินมาจ่ายให้กับผู้ถือพันธบัตรอยู่ดี และผู้ถือพันธบัตรรายใหญ่ก็คือ “จีน” ยิ่งจนเงินจะมาจ่ายหนี้

... และเมื่อ เฟด ขึ้นดอกเบี้ยสูงแบบนี้ แปลว่าต้องการให้เงินไหลเวียนในเศรษฐกิจของประเทศน้อยลง และทำให้ “ตลาดพันธบัตร” ของ อเมริกา ได้รับความนิยมมาทันที เพราะว่าเสี่ยงน้อยกว่าตลาดหุ้นและพันธบัตรอเมริกาก็ได้รับความนิยมมากกว่าประเทศอื่น และในหลายกรณี หลายประเทศออกพันธบัตรมาเพื่อจะเป็น “ฟองน้ำดูดซับเงินไม่ให้ไหลเวียนในการค้า ในเศรษฐกิจน้อยลง” เพราะกลัวเงินเฟ้อ

... ซึ่งเมื่อขึ้นดอกเบี้ยมากขึ้น นักลงทุนไม่กล้ากู้มาลงทุน และจึงมองเห็น “ตลาดพันธบัตรเป็นบ่อทอง หลุมหลบภัยทางการเงิน” ทำให้ตลาดนี้ต้องขึ้นดอกเบี้ยเอาใจนักลงทุนด้วย เงินจากตลาดหุ้นก็ไหลมาที่ตลาดพันธบัตรที่ใหญ่กว่า และเมื่อดอกเบี้ยแพงทำให้ตลาดหุ้นก็จะซบเซาลง ไหลไปพันธบัตร ไม่มีใครเสี่ยงกู้แพงไปลงทุนเล่นพนันในตลาดหุ้น แม้ว่า “ทรัมป์” จะเอาใจนักลงทุนโดยการลดภาษีบริษัทขนาดใหญ่ลง เหมือนจับเงินยัดใส่มือ เพื่อให้นักธุรกิจเอาเงินไปลงทุน จนช่วงนั้นตลาดหุ้นพุ่งขึ้นมาก แต่ก็ช่วงสั้นๆ เพราะหลังจากที่เฟดขึ้นดอกเบี้ยอีก ก็ทำให้นักลงทุนหันมาลงทุนที่ตลาดพันธบัตรอีกเหมือนเดิม

... จนทำให้ “ทรัมป์” ไม่พอใจเฟด จนมีข่าวว่า ทรัมป์อาจจะปลดผู้ว่าการเฟด นายเจอโรม พาวเวลล์ เพราะรีบขึ้นดอกเบี้ยเร็วไป ทำให้ตลาดหุ้นซบเซา เป้าหมายของเขาที่ต้องการเอางาน สร้างงาน กลับมาที่อเมริกาอีกครั้งแทบจะเป็นศูนย์ เพราะการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ยิ่งเจอ “สงครามการค้ากับจีนและทั่วโลก” ยิ่งทำให้อเมริกาเจอปัญหาขายสินค้ายากขึ้น สินค้าอเมริกาบางอย่างก็ขายยากขึ้น เพราะประเทศทั่วโลกที่มีหนี้มากขึ้น ก็ไม่อยากจ่ายง่ายๆเหมือนก่อน

... และเมื่อ “ตลาดหุ้นซบเซา” การสร้างงาน การขยายธุรกิจก็น้อยลง การใช้ “พลังงาน” ก็น้อยลง ราคาน้ำมันก็จะลดลงเรื่อยๆ กระทบกับบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ของอเมริกา ประเทศบริวาร และทั่วโลก จนข่าวว่าถ้าเฟดขึ้นดอกเบี้ยอีก ในปีหน้า จะทำให้ความต้องการน้ำมันของโลกตกลง ราคาก็จะต่ำลง จน”รัสเซีย” กับ “โอเปก” โดยการนำของซาอุดิอาระเบีย กำลังจะจับมือกันลดกำลังการผลิตน้ำมันลง เพื่อจะดึงราคาน้ำมันสูงขึ้นไม่ให้ตกต่ำเกินไปในปีหน้านี้ อเมริกานั้นปีหน้ามีแผนใหญ่ต้องการพัฒนาเป็น “ผู้ผลิตส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลกในปี 2019” หน้านี้ โดยเฉพาะน้ำมันเชลออย จึงต้องการยันราคาน้ำมันไม่ให้ตกต่ำเกินไป

... แต่ ก็มีอีกวิธีหนึ่ง ที่แม้ว่าเศรษฐกิจจะตกต่ำ แต่ความต้องการน้ำมันก็ยังคงสูงอยู่ ก็คือ “การที่ทั่วโลกอยู่ในสภาวะสงคราม” เพราะเมื่อเกิดแนวโน้มการเกิดสงคราม ทั่วโลกจะต้องการน้ำมันเอาไว้ยามฉุกเฉินยามสงคราม ดังนั้น จึงเกิดวิกฤติ “สงครามยูเครน” เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเรือยูเครนเข้าทะเลอาซอฟโดยที่ไม่ได้แจ้งรัสเซีย โดยนักวิเคราะห์บางสายบอกว่า เป็นแผนของ “อเมริกา” ที่ต้องการที่ต้องการเอาเรือรบเข้ามาป่วนในย่านนี้ เพื่อจุดขนวนความขัดแย้ง ให้ชาวยุโรปหวาดกลัวสงคราม

... ยิ่งกว่านั้น ในสแกนนิเวีย ทะเลบอลติค หรือแม้แต่ในเอเชีย อเมริกาก็พยายามทำให้ ญี่ปุ่นสร้างเรือรบและกองทัพของตัวเองได้อีกครั้ง เพื่อกระตุ้นการซื้อน้ำมันในทั่วโลกให้มากขึ้น “เงินดอลล่าร์” ก็จะยังคงแข็งและประเทศต่างๆไม่กล้าเทขายทิ้งต่อไป รวมทั้งกระตุ้นธุรกิจการค้าอาวุธ พาหนะสงครามที่อเมริกาเป็นเจ้าพ่อรายใหญ่ต่อไป เพื่อจะได้นับรายได้ภาษีเข้าประเทศได้ต่อไป

... ดังนั้น ปีหน้า 2019 ถ้าเฟดขึ้นดอกเบี้ยอีก เศรษฐกิจจะตกต่ำ ฝืดเคืองอีกต่อไป ( ไม่ได้เป็นเพราะรัฐบาลไหนในไทยชนะการเลือกตั้งแต่อย่างใด ) แต่ จะมีการพยายามสร้างความขัดแย้งและสงคราม หรือก่อการร้าย ให้มีมากขึ้นในทั่วโลก เพื่อพยุงธุรกิจน้ำมันและขายพาหนะทางสงคราม และ ให้ชาวบ้านทั่วโลกเก็บเงินดอลล่าร์เอาไว้อีกต่อไป

... แต่ประเด็นที่นักวิเคราะห์จับตาก็คือ “ทรัมป์” จะกล้าปลดผู้ว่าการเฟด ที่มีนโยบายขัดแย้งกับเขา หรือไม่​ ? หรือ​วิกฤติหนี้สินจะแตกก่อนฟองสบู่ตลาดหุ้น​ ?

คลิก

คลิก

คลิก

คลิก

คลิก

คลิก

คลิก

Cr.Jeerachart Jongsomchai

สนับสนุนข่าวโดย ICMarkets
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact

230424 icm 100x33

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

XM

FCA, ASIC,IFSC,
CySec
1000 : 1 1 pips – Micro
1 pips – Standard

0 pips - Ultra low
$5 0.01 lots View Profile
Visit Website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"