(Jun 21) Powell สนับสนุนการขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่ธนาคารกลางอื่นแสดงความกังวลกับการพิพาททางการค้า

นาย Jerome Powell, Federal Reserve Chairman กล่าวเน้นย้ำในที่ประชุม European Central Bank forum สนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป สืบเนื่องจากอัตราการว่างงานสหรัฐฯ

ที่อยู่ในระดับต่ำและคาดว่าจะปรับลดลงต่อไป อัตราเงินเฟ้อที่เข้าใกล้ระดับเป้าหมาย รวมถึงมุมมองความเสี่ยงในภาพรวมที่อยู่ในลักษณะ roughly balance

สำหรับประเด็นความกังวลว่าอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำจนอาจจะทำให้เกิด high inflation era ดังเช่นในช่วงปี 1960 นั้น นาย Powell ระบุว่าโครงสร้างเศรษฐกิจสหรัฐฯ เปลี่ยนแปลงไปมาก ในช่วงกว่า 50 ปีที่ผ่านมา จากการที่แรงงานโดยภาพรวมมีการศึกษาที่ดีขึ้น รวมถึง inflation expectation ที่ “more firmly anchored” จึงไม่น่าจะทำให้มีแรงกดดันด้านราคาจนทำให้เกิด double-digit inflation

ทั้งนี้ นาย Powell กลับมองว่าภาวะตึงตัวในตลาดแรงงานเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นแรงจูงใจให้แรงงงานกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้น และอาจส่งผลเชิงบวกต่อการขยายตัวของ productivity และ potential growth ในที่สุด

อย่างไรก็ดี นาย Powell เสริมว่าการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายการค้าระหว่างประเทศ อาจทำให้มุมมองของธนาคารกลางสหรัฐฯ เปลี่ยนแปลงได้ เนื่องคณะกรรมการยังไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยผลกระทบของ trade policy ต่อมุมมองทางเศรษฐกิจ ประกอบกับเริ่มมีรายงานว่าผู้ประกอบการตัดสินใจชะลอการลงทุน และเลื่อนการจ้างงานเพิ่มเติมออกไป สืบเนื่องจากความไม่แน่นอนในประเด็นดังกล่าว

ขณะที่ประธานธนาคารกลางจากหลายประเทศแสดงความกังวลถึง ผลกระทบจากข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศต่อภาวะเศรษฐกิจโลก (Policy Panel จากการประชุม ECB Forum on Central Banking) โดยนาย Jerome Powell, Federal Reserve Chairman กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงในนโยบายการค้าระหว่างประเทศส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนในภาพเศรษฐกิจโดยรวม และเป็นครั้งแรกที่ภาคธุรกิจเริ่มพูดถึงการเลื่อนการลงทุนและการจ้างงานอย่างจริงจัง สอดคล้องกับความเห็นจากผู้ร่วมอภิปรายท่านอื่น (ได้แก่ นาย Mario Draghi, ECB President, นาย Haruhiko Kuroda, Bank of Japan Governor และ นาย Philip Lowe, Reserve Bank of Australia Governor)

โดยนาย Draghi กังวลเกี่ยวกับความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่มีแนวโน้มปรับลดลง แม้ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากนโยบายดังกล่าวยังคงไม่ชัดเจน อย่างไรก็ดี ข้อมูลทางสถิติในอดีตได้พิสูจน์แล้วว่า ความขัดแย้งทางการค้า (Trade friction) เป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจโดยรวม

ทั้งนี้ นาย Kuroda กล่าวเสริมว่า แม้ข้อพิพาททางการค้ามิได้เกิดขึ้นกับทุกประเทศ แต่ผลกระทบทางอ้อมอาจทำลายห่วงโซ่อุปทานของสินค้าสู่ประเทศจีน โดยเฉพาะประเทศแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออก ด้านนาย Lowe เห็นว่าปัญหาทางการค้าเพียงอย่างเดียวอาจไม่ส่งผลเสียต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกมากนัก แต่ทำให้เกิดความผันผวนในตลาดการเงินมากขึ้นรวมถึงการเลื่อนการตัดสินใจทางธุรกิจต่างๆ

Source: BOTSS

เพิ่มเติม
- Powell, Draghi, Kuroda, Lowe Speak at ECB Forum :

คลิก

- โปรแกรมและคลิปสุนทรพจน์ท่านอื่นๆ ในงาน ECB Forum on Central Banking :

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

บทความสนับสนุนโดย FXPro
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"