ระบบเข้าคิวรอแบบเดิมจะตายไปอย่างช้าๆ เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมามีข่าวใหญ่ที่ถือเป็นการปฏิวัติวงการเงินการธนาคารของไทย ที่ต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอดของตัวเองครั้งใหญ่ โดยการประกาศไม่เก็บค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมทางการเงิน
ผ่านทาง “โมบายแบ็งกิ้ง” ในสี่ธนาคารใหญ่ ใน “จีน” นั้นมีข่าวมาตั้งแต่ปี 2015 แล้วว่า “ไป่ตู้” Bai Du หรือ “กูเกิ้ลแห่งเมืองจีน” นั้นมีการประกาศจับมือกับซิตี้แบ็งค์ที่มีวงเงินสินทรัพย์ประมาณ 626 พันล้านดอลล่าร์ และสาขาทั่วโลกกว่า 126 ประเทศ , มาอ้างเป็นข้อดีของตัวเองในการจะเปิด “ธนาคารออนไลน์Biaxin” ขึ้นมา ในจีน โดย “ไป่ตู้” มีข้อดีจุดแข็งคือฐานข้อมูลและรู้พฤติกรรมของลูกค้าที่ใช้บริการค้นหาในเวปของพวกเขา 640 ล้านคนต่อเดือน แล้วเอาไปวิเคราะห์เพื่อส่งต่อให้กับกลุ่มซิติก เพื่อเอาไปสร้างผลิตภัณท์ทางการเงินสมัยใหม่ให้ตอบรับกับพฤติกรรมแบบใหม่ กับลูกค้าออนไลน์ต่อไปในอนาคตอันใกล้ รวมทั้งรู้ข้อมูลเชิงลึกเช่นว่า ลูกค้าทำงานอะไร ฐานะเป็นแบบไหน จะมีความเสี่ยงต่อการปล่อยเงินกู้หรือสินค้าของพวกเขาหรือไม่อย่างไร ? เพื่อแข่งกับ Alibaba ที่ร่วมมือกับ Tencent ในการให้บริหารทางการเงินออนไลน บริษัทที่มาจากการให้บริการทางอินเตอร์เน็ตเหล่านี้เริ่มขยายฐานการค้าและธุรกิจให้มาทางการให้บริการทางการเงินออนไลน์มากขึ้น เพื่อจะเขย่าเจ้าของมาเฟียวงการเดิมอย่างนายธนาคารต่างๆ
... “ธนาคารออนไลน์ = บริษัทให้บริการทางอินเตอร์เน็ตดาวรุ่ง + ธนาคารแบบเจ้าตลาดเดิม”
... ในส่วนของ “รัฐบาลจีน” นั้นพวกเขาต้องการสร้างเครือข่าย “ธนาคารออนไลน์” นี้เชื่อมโยงกับคนจีนสมัยใหม่เพื่อการซื้อขายผ่านออนไลน์ เป็น “สังคมไร้เงินสด” มากขึ้น โดยให้ “เครือข่ายเอกชน” เป็นตัวขับเคลื่อน ( ทำให้นึกถึงสังคมการเงิน “สหกรณ์ออมทรัพย์” ของศาสนาอิสลามตามจังหวัดภาคใต้ หรือ เบี้ยกุดชุม ของอีสานเมื่อหลายสิบปีก่อน สามารถพัฒนามาเป็นแบบนี้ได้ หรือมากกว่านั้นแต่ละจังหวัดสามารถสร้างเครือข่ายบล็อคเชน ของตัวเองเพื่อจะหมุนเงินภายในชุมชนตัวเองได้ ถ้ารัฐบาลไม่กีดกันและส่งเสริม ไม่รักษาชีวิตของนายธนาคารใหญ่เกินไป ) โดยทางการจีนเชื่อว่าเมื่อมีเครือข่ายแบบนี้ เงินจะไม่ไปกักอยู่กับธนาคารใหญ่ และประชาชนรายย่อย กลาง สามารถเข้าถึงเงินกู้ขนาดไม่ใหญ่ได้ง่ายขึ้น เป็นการทำให้เกิดการสร้างธุรกิจมากมายของพวกนักธุกิจหน้าใหม่หรือ Startup มากมายในประเทศ
... และเพื่อที่จะทำให้เป้าหมายเหล่านั้นเป็นจริง พวกเขาจึงได้ไม่คิดค่าบริการธุรกรรมทางการเงินแต่อย่างใดเลย ( ประเทศไทยเพิ่งจะตามมาเมื่อเดือนที่แล้ว มีนาคม 2018 หลังจากพบว่าพฤติกรรมผู้บริโภคซื้อจ่ายผ่านทาง “โมบายแบ็งกิ้ง” กันมากขึ้นในปี 2016 เป็นต้นมาและจะพุ่งขึ้นสูงเรื่อยๆ ตามความทันสมัยของโทรศัพท์ฉลาด )
... ในปี 2016 “จีน” มีการทำธุรกรรมผ่าน “ธนาคารออนไลน์” และผ่าน “โมบายแบ็งกิ้ง” ไปเป็นจำนวนมูลค่า 5.5 ล้าน ล้านดอลล่าร์ มากกว่าใน “อเมริกา” ที่มีเพียง 112 ล้านดอลล่าร์ ในปีเดียวกัน และทั้งโลกจากปี 2011 – 2014 มีการใช้ธนาคารออนไลน์ผ่านโทรศัพท์ฉลาดมากขึ้นอีก 19% ที่สะท้อนถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะในเอเชียมีมากกว่าใคร
... ขณะที่ใน “เวียตนาม” เพื่อนบ้านเราก็เปิด “ธนาคารออนไลน์” แล้วอย่าง TIMO ที่มีสโลแกนว่า “เก็บธนาคารไว้ในมือถือคุณ” และบอกว่านอกจากแค่นั้นแล้ว ยังจะพัฒนาการใช้สอยแบบนี้ให้เป็นอีกหนึ่งไลฟ์สไตล์ของผู้คนยุคใหม่ด้วย และลดการก่อสร้างอาคารสาขาที่เป็นอิฐปูนให้ลดน้อยลงเรื่อยๆ ( ถ้าใครสนใจงานออกแบบธนาคาร จะพบว่าขนาดธนาคารในไทยจะค่อยๆลดขนาดลงเรื่อยๆ จากรูปแบบเดิมก่อนยุคมีเอทีเอ็มเมื่อสามสิบปีก่อนจะใหญ่โตดูภูมิฐานน่าเชื่อถือ มีที่จอดรถด้านล่าง เพื่อเอาใจลูกค้า ตอนหลังเมื่อมีเอทีเอ็มแล้วคนเข้าไปในธนาคารก็น้อยลง ก็เป็นอาคารห้องแถวติดดินไม่ต้องมีที่จอดรถ ( อันนี้มีเรื่องกฏหมายมาเกี่ยวข้องด้วย ) แล้วตอนหลังก็เริ่มฝังตัวตามห้างสรรพสินค้ามากขึ้น )
... ฝ่าย “อินเดีย” ธนาคาร Digibank ก็บอกว่าเพียงแค่สิบเดือนพวกเขาก็มีจำนวนลูกค้ามากถึง 840,000 คนและด้วยอัตราเร่งที่ได้ลูกค้าเร็วเยอะแบบนี้ คาดว่าธนาคารคู่แข่งที่เป็นอาคารปูนตึกแบบเก่าจะต้องใช้เวลาถึง 5 ปีและจำนวนอาคารสาขาระหว่าง 150-200 ตึก ในการทำยอดจำนวนลูกค้าให้ได้เท่ากับพวกเขาธนาคารออนไลน์ทำได้ ที่ไม่ใช่แค่เพียงค่าใช้จ่ายในการสร้างอาคารแต่ยังเสียเวลาในการก่อสร้างด้วย “เราออกแบบแบบไม่ต้องมีพนักงานหน้าเคาน์เตอร์ ไม่มีอาคารธนาคารสาขา ไม่มีศูนย์คอลล์เซ็นเตอร์ ที่จะทำให้เราเติบโตได้เร็วกว่าแบบเดิมมาก”
.. มีการสำรวจจาก หน่วยงานที่ชื่อว่า KPMG บอกว่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีเพียง 27% ของประชากรทั้งหมดที่มีบัญชีธนาคารของตน สาเหตุที่ไม่เปิดใช้เพราะพวกเขาไม่อยากเสียค่าธรรมเนียมที่แพงเมื่อเทียบกับจำนวนเงินที่น้อยนิดในการจ่ายโอนถอนของพวกเขา และเมื่อมี “ธนาคารออนไลน์” มากขึ้นจะมีคนกลุ่มใหม่นี้มาใช้บริการมากขึ้น และที่ “อินโดนีเซีย” ก็ได้มีการเตรียมการออกกฏหมายรองรับเรื่องนี้แล้ว
... ก่อนหน้านั้นทาง Tencent ก็เคยประกาศเปิดตัว Webank และอลิบาบา ( ที่ตอนนี้เป็นเจ้าของสื่อข่าวดังอย่าง South China Morning Post เรียบร้อยแล้ว ) เองก็สร้าง Ant ที่พัฒนาจาก Mybank เพื่อจะตอบรับและรองรับการซื้อจ่ายผ่านออนไลน์แบบใหม่ ที่กำลังแพร่หลายในจีนตอนนี้ ทั้งหมดนี้จะไม่ผ่านธนาคารระบบเดิมทั้งหมด “กระแสน้ำแห่งเงินจะค่อยๆไหลจากอ่างเก็บน้ำเดิมของนายธนาคารเก่าๆที่ผูกขาดการเงินของประเทศของโลก มาสู่อ่างเก็บน้ำการเงินแบบใหม่” ของพวกเขาเหล่านั้น
... ขณะที่ประเทศ “เกาหลีใต้” เพื่อนบ้านก็ไปไกลเช่นกัน โดยปี 2017 ที่ผ่านมาได้มีการเปิด K Bank ที่เป็น “ธนาคารดิจิตัลอย่างเดียว” แห่งแรก ที่จะยินยอมให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมทุกอย่างได้ครบ ทั้งการเปิดบัญชี ( ที่ส่วนใหญ่ในทั่วโลกยังต้องเดินทางไปที่ธนาคารอยู่ เพื่อความปลอดภัย ) หรือกรอกเอกสารเพื่อขอกู้เงิน โดยทำการแค่กดไม่กี่คลิกในโทรศัพท์ฉลาด หรือถ้าต้องการถอนเงินสดแบบเดิมก็ได้โดยผ่านบัตรเดบิตในตู้เอทีเอ็มที่มี 10,500 สาขาทั่วประเทศ โดยธนาคารนี้ให้การสนับสนุนโดยบริษัทด้านคมนาคมสื่อสารรายใหญ่อย่าง KT Group ของเกาหลีใต้และอีกกว่า 20 บริษัทที่เสนอเงินกู้ที่ถูกกว่าสำหรับคนที่มีประวัติการจ่ายเงินกู้เงินคืนที่ดี แม้ว่าจะถูกประเมินว่าเป็นคนเครดิตต่ำในสายตาของธนาคารระบบเดิมทั่วไป เพราะว่า บริษัทเครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคมนั้นมีข้อมูลและพฤติกรรมลูกค้าเก็บไว้หมด ทำให้วิเคราะห์ได้ลึกซึ้งกว่าว่าคนไหนจะเชื่อถือได้ และพวกเขาเชื่อว่าการให้บริการตรงนี้ทำให้พวกเขาเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในโลกการธนาคารได้มากขึ้น และ กำลังจะมีอีกเจ้าอย่าง Kakao Talk ที่มีลูกค้าอยู่ 42 ล้านคน กำลังเดินตามจะเปิด “ธนาคารออนไลน์” ไร้อาคารสาขามาติดๆ ที่จะมีทั้งทุกอย่างของบริการพื้นฐานที่ธนาคารมี เช่น เปิดบัญชี จ่ายโอนและกู้เงิน
... ขณะที่ปี 2016 ธนาคาร Singaporean ก็ได้ออก “ธนาคารดิจิตัล” ออกมาเพื่อรองรับการทำธุรกรรมในอินเดีย ที่มีข้อดีคือลูกค้านั้นสามารถเปิดบัญชีธนาคารได้ในร้านกาแฟที่ไหนก็ได้ใน 500 ร้านที่พวกเขาเลือกมาในเครือข่าย เพียงแค่การกดไม่กี่คลิกและการพิสูจน์เกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชนให้ถูกต้อง ที่ให้บริหารตลอด 24 ชั่วโมง ที่เจ้าหน้าที่ในอินเดียบอกว่าเป็น “WhatsApp ของระบบการธนาคาร”.
... จากแนวโน้ม “ธนาคารออนไลน์” นี้ ที่ไม่ต้องมีอาคารสถานที่ในการให้บริการ จะมีผู้เล่นใหม่ในวงการธนาคาร มากขึ้น ที่ต่อยอดมาจากการเป็นผู้ให้บริการทางอินเตอร์เน็ตมาก่อน ทำให้เกิดการแข่งขันกับนายธนาคารเจ้าของอาคารธนาคาร ขณะที่ธนาคารแบบเดิมก็พยายามเอาตัวรอดให้ได้โดยการลดค่าธรรมเนียมการให้บริการทาง “โมบายแบ็งกิ้ง”
... แต่ก็ใช่ว่า “ธนาคารออนไลน์ อย่างเดียว” จะราบรื่น เพราะว่าอย่าง “เกาหลีใต้” นั้นมีการควบคุมว่า “ห้ามไม่ให้มีธนาคารออนไลน์อย่างเดียว” แต่ต้องมีธนาคารสาขาเป็นตึกปูนด้วย โดยอ้างเรื่องความมั่นคงปลอดภัยทั้งการทำธุรกรรมและการเอาข้อมูลของลูกค้าไปใช้ในทางที่ผิด จึงต้องมี “ตัวอาคารธนาคาร” เอาไว้ติดต่อตามจำเป็น ( หรือ อาจจะเพราะมีเจ้ามาเฟียเจ้าตลาดเดิมอย่าง “ธนาคารแบบตึก” กลัวจะโดนทิ้งห่างเร็วเกินไป ต้องรีบใช้ให้นักการเมืองลูกบริวารรีบออกกฎหมายมาสกัดกั้นก่อน เพราะขนาด “บิตคอยน์” ที่หนักกว่านั้นเป็นการเอาเงินไปกักในเครือข่ายบล็อกเชน แบบไร้การควบคุมยังทำได้ และไม่มีธนาคารสาขาด้วย ) ซึ่งนั้นจะทำให้ธนาคารแบบออนไลน์ทำแบบชุมชนเล็กๆยากขึ้น เพราะชุมชนต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น ด้วย ในการสร้างตัวอาคารปูนตึกที่ขนานไปกับธนาคารออนไลน์ เช่น แบบสหกรณ์เบี้ยกุดชุม ในยโสธรในอดีต หรือ ถ้าชุมชนอิสลามในสี่จังหวัดภาคใต้ของไทยจะทำแบบ “ธนาคารออนไลน์อย่างเดียว” ก็จะยากขึ้น
... ( ทำให้นึกถึง กฎหมาย “เหล้าพื้นบ้าน” ที่เอามาเป็นข้ออ้างเรื่องความไม่สะอาดถูกสุขลักษณะที่ต้องออกกฏหมายมีระบบการสร้างโรงงานและระบบการตรวจสอบที่แพงมากเกินจริง เพราะจะต้องการใช้คนรวยผลิตเหล้าได้ฝ่ายเดียว จนชาวบ้านทำเองแบบ “วิสาหกิจชุมชน” ไม่ได้ทุนเล็ก ทุนกลางตายหมดกลาดเกลื่อนเลือดคนจน ทุนน้อยเหม็นคลุ้งประเทศไทย เหลือแต่ทุนใหญ่ปกครองประเทศ จนทำให้ตอนนี้เหล้าพื้นบ้านของไทยตายสนิท ไม่สามารถเป็นแบบธุรกิจขนาดกลาง เล็ก SME แบบพวกปลูกองุ่นทำไวน์ขายแบบประเทศใน สเปน ฝรั่งเศส อิตาลีรอบๆทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้ “คนจนในไทยจึงต้องซื้อเหล้าคนรวยกิน” ต้มกินกันเองก็ไม่ได้ ทั้งๆที่เหล้าเป็นของโบราณ ทำกันมาเป็นพันๆปี ... [ ที่เขียนแบบนี้ ไม่ได้ส่งเสริมให้คนกินเหล้า เพราะคนเขียนเองก็ไม่กินเหล้าและแอลกอฮอล์ทุกชนิด แต่มองในแง่การสร้างงานทีเป็นธรรมมากกว่า ] )
... ดังนั้นต้องดูว่าประเทศต่างๆ จะไม่ห้ามการมี “ธนาคารออนไลน์อย่างเดียว” หรือไม่อย่างไร แต่ต้องสามารถดูแลป้องกันเรื่องระบบบล็อกเชนเครือข่ายให้มั่นคงปลอดภัย นั่นคือขั้นประถมศึกษา และถ้าราบรื่นก็จะสามารถพัฒนาเป็น “เงินคริปโต” ในขั้นมัธยมศึกษาได้ แล้วสามารถเชื่อมโยงกับสินทรัพย์บางอย่าง เช่น ทองคำ น้ำมัน หรือสินค้าโภคภัณท์ต่างๆ เพื่อให้เพิ่มความมั่นคงให้กับธนาคารตัวเองได้ยิ่งขึ้นต่อไป เช่นกัน ... แต่นั่น “ธนาคารออนไลน์” ที่ก็จะพัฒนาไปสู่เงินคริปโตในอีกขั้นต่อไป ก็ต้องต่อสู้กับเจ้าตลาดเดิม ที่มีเครือข่ายนักการเมืองที่พร้อมจะช่วยเหลือไม่ให้พวกเขาตายเร็ว หรือ ฝ่ายดาวรุ่งอย่าง AliPay GooglePay BaiDu Online Webank โตเร็วเกินไปอย่างแน่นอน
...“To get one million clients, you need around 150 to 200 branches,” said Crespin. “It will be extremely expensive and it will take a long, long time. But when we designed Digibank, we designed it with no operators, no branches and no call centres. Everything is digital and [that] will allow us to accelerate growth quickly.”
Digibank, says its user numbers climbed to 840,000 people in India in its first 10 months of operation. He expects this figure to hit one million this month, a growth rate he says would take five years for his colleagues running brick-and-mortar branches to reach
... Chinese government looks to open up its financial services sector. Earlier this year, it launched a pilot program to establish five private rather than state owned banks, of which Alibaba and Tencent's projects were two. The aim is to help small-and-medium-sized enterprises get access to loans.
customers will be able to make online transfers free of charge across China
... The trend is bringing new players into the banking industry as well. South Korea’s top messaging app developer Kakao is preparing to follow in K Bank’s footsteps later this year.
“The number of Kakao Talk users has reached 42 million in Korea, and these users are expected to serve as the basis for the successful launch of the Kakao Bank,” said Jayden Hwang, a company spokesman. Hwang said the bank would start with basic services such as opening accounts, settling payments and loans – all through a smartphone app.
... Internet giant Baidu, often referred to as "China's Google", has partnered with Citic Bank to launch an online bank, as it looks to rivals Tencent and Alibaba in the financial services space.
... Both companies will be hoping to leverage each other's' expertise. Baidu said it will bring its traffic resources, behavioral data on users and data analytics to Biaxin Bank, while CITIC has knowledge of financial products. The behavioral data analytics could be used to assess a person's creditworthiness for example for "better risk management", the companies said.
... The bank, led by the country’s telecom giant KT Corp and 20 other companies, also offers cheaper loans to borrowers who have a good record of debt repayments but are regarded by other lenders as low-credit rating holders. It uses KT Corp’s big data system to more deeply analyse their credit ratings.
… But digital-only banks have their own problems. In South Korea, for example, financial regulators limit the role of non-banking companies in digital-only banks, making fund-raising problematic. Persistent technical failures are frequently cited in online forums, and security issues remain a concern, given the potential for personal information to leak into cyberspace.
https://www.cnbc.com/2015/11/18/baidu-launches-online-bank-to-take-on-rivals-alibaba-tencent.html
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman