ดอยช์แบงก์ร่วงหวั่นผิดนัดชำระหนี้ นายกเยอรมนีย้ำความมั่นใจ ไร้กังวลวิกฤตการเงิน

หุ้นของธนาคารดอยช์แบงก์ร่วงลงอย่างหนักในวันศุกร์ ฉุดหุ้นธนาคารรายใหญ่อื่น ๆ ของยุโรปร่วงตาม ขณะที่นายกรัฐมนตรีโอลาฟ โชลซ์ แห่งเยอรมนี เตรียมออกมาสร้างความเชื่อมั่นท่ามกลางความกังวลเรื่องประเด็นปัญหาการเงินของธนาคารใหญ่แห่งนี้

หุ้นดอยช์แบงก์ ร่วง 8.5% เมื่อปิดการซื้อขายที่ตลาดหลักทรัพย์ในเยอรมนี หลังจากดิ่งหนักถึง 14% ในการซื้อขายเมื่อวันศุกร์ หลังจาก Credit Default Swaps (CDS) ซึ่งเป็นอนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ ปรับตัวพุ่งขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นในลักษณะเดียวกับธนาคารเครดิต สวิส ที่พบว่า ต้นทุนป้องกันความเสี่ยงของการผิดชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้น เป็นจุดเริ่มต้นให้ธนาคารต้องขอความช่วยเหลือเร่งด่วนจากรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ไปก่อนหน้านี้
เมื่อผู้สื่อข่าวถามนายกฯ เยอรมนี ถึงโอกาสที่ธนาคารดอยช์แบงก์จะกลายเป็นธนาคารเครดิต สวิส รายต่อไป นายโอลาฟ ชอลซ์ กล่าวเมื่อวันศุกร์ว่า “ไม่มีเหตุผลที่ต้องกังวล” และระบุว่า “ดอยช์แบงก์มีการปรับโครงสร้างธุรกิจและเป็นธนาคารที่มีผลกำไรดีมาก”
ทั้งนี้ ธนาคารดอยช์แบงก์ เป็น 1 ใน 30 สถาบันการเงินรายใหญ่ที่มีความสำคัญของโลก ซึ่งมีมาตรการระหว่างประเทศที่ต้องให้สถาบันการเงินเหล่านี้มีระดับเงินทุนสำรองระดับสูง เพราะหากธนาคารเหล่านี้ล้มไปอาจสร้างความเสียหายได้ในวงกว้าง
ขณะที่ ธนาคารยุโรปรายใหญ่อื่น ๆ ก็ร่วงลงในวันศุกร์เช่นกัน โดย Commerzbank ของเยอรมนีปิดลบ 5.45%, Societe Generale ของฝรั่งเศสปิดลบ 6% และ Raiffeisen ของออสเตรียปิดลบ 7.9%
สถานการณ์ดังกล่าวเกิดจากความตื่นตระหนกของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีความหวาดกลัวว่าธนาคารอื่น ๆ อาจประสบปัญหาที่ไม่คาดคิดเช่นเดียวกับธนาคารในซิลิคอนวัลเลย์ในสหรัฐฯ ที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องจากการที่ผู้ฝากแห่ถอนเงินจำนวนมากพร้อม ๆ กัน และขาดทุนจากการขายพันธบัตรรัฐบาลซึ่งเป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
ขณะที่เครดิต สวิส ยังเจอปัญหาขาดทุนหนักจากการล้มละลายของ Archegos Capital Management ที่เข้าซื้อหุ้นเป็นจำนวนมากก่อนที่ราคาหุ้นจะปรับตัวลงแรง และโดนบังคับขายหุ้นออกมาในราคาขาดทุน ส่งผลให้เครดิต สวิส ขาดทุนถึง 5.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อย่างไรก็ตาม ดอยช์แบงก์ มีกำไรติดต่อกันถึง 10 ไตรมาส ซึ่งรวมถึง 5.7 พันล้านยูโร (6.1 พันล้านดอลลาร์) ในปีที่แล้ว ภายใต้การบริหารงานของนายคริสเตียน เซวิง CEO ดอยช์แบงก์ โดยก่อนหน้านั้น ธนาคารจะเคยประสบปัญหาการทำกำไรต่ำมาเป็นเวลานาน นับตั้งแต่วิกฤตการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2551รวมถึงค่าปรับมูลค่า 7.2 พันล้านดอลลาร์จากทางการสหรัฐฯ เพื่อยุติคดีที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายหลักทรัพย์ที่มีสัญญาจำนองค้ำในสหรัฐฯ ในช่วงวิกฤตซับไพรม์ก็ตาม
ทางด้าน Sascha Steffen ศาสตราจารย์ด้านการเงินแห่งสถาบันการเงินแห่งแฟรงก์เฟิร์ต กล่าวว่า การขายหุ้นออกจากตลาดเป็นเรื่องธรรมดา เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ และการถือครองหุ้นขนาดใหญ่ที่บางครั้งซับซ้อน รวมถึงความไม่มั่นใจในผลกำไรในอนาคต เขายังกล่าวอีกว่า ตลาดประเมินมูลค่าธนาคารน้อยกว่าสินทรัพย์ในงบดุล "นั่นหมายความว่านักลงทุนยังคงมีความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับความเสี่ยงที่ธนาคารมีในงบดุลหรือศักยภาพในการทำกำไรในอนาคต" นอกจากนี้เขายังกล่าวด้วยว่า หุ้นธนาคารขนาดใหญ่ทั่วโลกได้ถูกเทขายมากกว่าธนาคารขนาดเล็กในช่วงที่เกิดความวุ่นวายทางการเงินเมื่อเร็ว ๆ นี้ ซึ่ง “มันเป็นโรคติดต่อ, การขาดความมั่นใจ และขาดความไว้วางใจ” ซึ่งนั่นไม่ก่อให้เกิดผลดีนัก
อย่างไรก็ตาม สจ๊วร์ต เกรแฮม และ ลีโอนา ลี นักวิเคราะห์จาก บริษัทวิจัย Autonomous ออกมาระบุว่า ข้อกังวลเหล่านี้ไม่น่ากลัว เนื่องจากเป็นที่รู้กันดีถึงสถานะเงินทุนและสภาพคล่องที่แข็งแกร่งของธนาคาร
Source: ข่าวหุ้น
เพิ่มเติม
- Banking stress puts U.S. and Europe on watch for credit crunch:


Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"