จีนกับกลยุทธ์ ‘เดินไต่ลวด’ กรณีรัสเซียบุกยูเครน

ท่าทีของจีนต่อกรณีรัสเซียรุกเข้าทางตะวันออกของยูเครนน่าสนใจเป็นพิเศษ เพราะแม้ว่าด้านหนึ่งปักกิ่งจะยืนเคียงข้างมอสโกในภาพรวม แต่ในรายละเอียดนั้นมีหลายประเด็นที่จีนอาจจะไม่ได้มีจุดยืนที่แนบแน่นกับรัสเซียเสมอไป

สัปดาห์ที่ผ่านมาเอกอัครราชทูตจีนประจำองค์การสหประชาชาติเรียกร้องให้ "ทุกฝ่าย" ใช้ความยับยั้งชั่งใจและหลีกเลี่ยง "การจุดชนวนความตึงเครียด" ในยูเครน
จีนหลีกเลี่ยงการประณามที่รัสเซียยอมรับการได้รับเอกราชของ 2 ภูมิภาค ที่สนับสนุนมอสโกทางตะวันออกของยูเครน
ปักกิ่งพยายามสร้างสมดุลระหว่างความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับมอสโกกับนโยบายต่างประเทศของทางการในการปกป้องอธิปไตยของรัฐอย่างแข็งขัน
เพราะ “แยกดินแดน” เป็นวลีที่แสลงสำหรับจีน
จีนกล่าวหาว่ามีกลุ่มพยายามแยกตัวออกจากปักกิ่งในไต้หวัน, ซินเจียงและทิเบต
ปักกิ่งเคยประกาศว่าหาก “กลุ่มแยกดินแดน” ในไต้หวันยืนยันจะเดินหน้าประกาศเอกราชจากจีน ก็อาจจะมีความจำเป็นที่ต้องใช้กำลังปราบปรามให้สิ้น
ในแถลงการณ์สั้นๆ ในการประชุมฉุกเฉินของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา จาง จุน เอกอัครราชทูตสหประชาชาติของจีนย้ำว่า ปักกิ่งยินดีและจะสนับสนุนทุกความพยายามในการแก้ปัญหาทางการฑูต โดยเสริมว่าข้อกังวลทั้งหมดควรได้รับการปฏิบัติบน "ความเท่าเทียมกัน"
“สถานการณ์ปัจจุบันในยูเครนเป็นผลมาจากปัจจัยที่ซับซ้อนหลายอย่าง จีนมีจุดยืนอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและปัจจัยในแต่ละสถานการณ์ เราเชื่อว่าทุกประเทศควรแก้ไขข้อพิพาทระหว่างประเทศด้วยวิธีสันติตามวัตถุประสงค์และหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติ” จางกล่าว
ขณะที่ในเวทีเดียวกันนั้น เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำยูเอ็นบอกว่า คำกล่าวอ้างของปูตินว่าได้ส่ง 'ผู้รักษาสันติภาพ' ไปยังยูเครนตะวันออกนั้นเป็นเรื่อง 'ไร้สาระ'
การประชุมคณะมนตรีความมั่นคงรอบพิเศษมีขึ้นในขณะที่ผู้นำโลกวิ่งกันให้วุ่นในอันที่จะลดระดับความตึงเครียดของสถานการณ์ในยูเครน
หลังจากปูติน สั่งให้กองกำลังรัสเซียเข้าไปในสองดินแดนที่แยกตัวจากยูเครน
รัสเซียย้ำมาตลอดว่าจะไม่รุกรานยูเครน และในการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงก็ได้ออกมาอ้างว่าการตัดสินใจรับรอง 2 แคว้นแยกตัวนี้ก็เพื่อ “ปกป้อง" ผู้อาศัยอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนโดเนตสค์และสาธารณรัฐประชาชนลู่หานสค์ (DPR และ LPR)
พอแรงกดดันจากตะวันตกเพิ่มขึ้น รัสเซียพยายามเข้าใกล้จีนมากขึ้น
ปูตินบินไปปักกิ่งในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ เพื่อพบกับผู้นำจีน สี จิ้นผิง ก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ตามมาด้วยแถลงการณ์ร่วมที่ประกาศว่าความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศนั้นแน่นแฟ้นแบบ “ไร้ข้อจำกัด"
และ "ไม่มีพื้นที่ 'ต้องห้าม สำหรับความร่วมมือ" ของสหายทั้งสอง
จีนย้ำจุดยืนที่ต้องการเห็น “การเจรจาอย่างสันติเพื่อนำไปสู่ทางออกที่ทุกฝ่ายยอมรับได้”
เห็นได้ชัดว่า สี จิ้นผิง ใช้แนวทาง “เดินไต่เส้นลวด” ด้วยความระมัดระวังไม่ให้หล่นไปข้างใดข้างหนึ่ง เพราะแม้จีนจะต้องช่วยรัสเซียในฐานะ “มิตรในยามยาก” แต่ปักกิ่งก็หวังพึ่งความร่วมมือเศรษฐกิจกับยุโรปอย่างมาก
และแม้จะเผชิญหน้ากับวอชิงตันในหลายเรื่อง ปักกิ่งก็ไม่ต้องการจะปะฉะดะกับสหรัฐฯ ในทุกๆ ประเด็นจนมีผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเมืองในภาพกว้าง
ที่แน่ๆ คือปักกิ่งต้องการหลีกเลี่ยงการลากเข้าไปเป็นค่ายเดียวกับรัสเซียจนอาจถูกมาตรการคว่ำบาตรจากตะวันตกไปด้วย
นักวิเคราะห์ตะวันตกบางคนถึงกับประกาศว่า ถ้าหากรัสเซียบุกยูเครน สหรัฐฯ และยุโรปจะต้องคว่ำบาตรจีนด้วย เพราะมีมุมมองว่าจีนเป็นผู้หนุนหลังรัสเซียด้วยการเปิดประตูการค้าขายและลงทุนกับรัสเซียขณะที่โลกประณามมอสโก
ก่อนหน้านี้ จีนได้เรียกร้องให้ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตยูเครนกลับคืนสู่ “ข้อตกลงมินสค์” ที่ทำในปี 2014 และ 2015 ภายหลังความขัดแย้งในยูเครนตะวันออกกับ 2 แคว้นกบฏ
แต่การที่ปูตินประกาศรับรอง 2 แคว้นแยกดินแดนนี้ก็เท่ากับเป็นฉีกข้อตกลงมินสค์นี้อย่างโจ่งแจ้ง
รัฐมนตรีต่างประเทศจีน หวัง อี้ ย้ำว่าทุกฝ่ายในข้อพิพาทนี้ "ควรเคารพอธิปไตย เอกราช และบูรณภาพแห่งดินแดนของทุกประเทศ"
น่าสนใจว่าเมื่อทหารรัสเซียบุกเข้ายูเครนและพยายามจะยึดเมืองสำคัญๆ เช่นนี้ปักกิ่งจะถือว่าเป็นการละเมิด “บูรณภาพแห่งดินแดน” หรือไม่?
จึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมนักวิเคราะห์บางสำนักจึงมองว่าจีนกำลังตกอยู่ใน "ฐานะที่น่าอึดอัด"
ในช่วงจังหวะเวลาเดียวกันนั้น หวัง อี้ ได้ยกหูคุยกับรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ แอนโทนี บลิงเคน คุยกันถึงวิกฤตยูเครน และต่อไปเรื่องเกาหลีเหนือกับสถานการณ์ในเอเชียด้วย
เป็นการตอกย้ำว่าความสัมพันธ์ของจีนกับสหรัฐฯ นั้นมีความเกี่ยวข้องกับเอเชียที่เชื่อมต่อกับกรณียูเครนอย่างแยกออกจากกันไม่ได้
จีนพร้อมจะเสี่ยงด้วยการกระโดดลงเรือกับรัสเซียในทุกๆ กรณี
หรือต้องแยกแยะเรื่องราวเพื่อประเมินจุดยืนแต่ละเรื่องอย่างระมัดระวัง?
นี่คือปริศนาที่น่าวิเคราะห์เป็นอย่างยิ่ง.
Source: Thaipost

 

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"