ธปท.กำชับแบงก์ เร่งช่วยลูกค้าในพื้นที่สมุทรสาคร

ธปท.ชี้ เร่งประสานธนาคารพาณิชย์-แบงก์รัฐ ติดตามดูแลลูกค้าในจังหวัดสมุทรสาครใกล้ชิด พร้อมตั้งคณะกรรมการเกาะติดให้ความช่วยเหลือ เผยความคืบหน้าลูกหนี้เข้าโครงการช่วยเหลืออาการดีขึ้นเหลือมูลหนี้ 6 ล้านล้านบาท จาก 7.2 ล้านล้านบาท

ระบุลูกหนี้ภาคธุรกิจชำระปกติ 66% ติดต่อไม่ได้ 2% ด้านรายย่อยชำระได้ 70% เปราะบาง 1%

นางวิเรขา สันตะพันธุ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ในจังหวัดสมุทรสาครที่มีการล็อกดาวน์พื้นที่เกิดขึ้น ตอนนี้ ธปท.ได้ประสานงานร่วมกับธนาคารพาณิชย์ และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs) เพื่อติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
โดยในเบื้องต้น ธนาคารพาณิชย์ และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการดูแลและติดตามการให้ความช่วยเหลือลูกค้า ซึ่งได้มีการเร่งติดต่อลูกคาในพื้นที่ โดยพิจารณาว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบใหม่นี้มีผลกระทบกับลูกค้าอย่างไร และพร้อมให้การช่วยเหลือลูกค้า แม้ว่าขณะที่สาขาธนาคารในพื้นที่จะปิดทำการชั่วคราว แต่ธนาคารได้พัฒนาระบบช่องทางการติดต่อหลากหลาย เช่น โมบายแบงกิ้ง ซึ่งเป็นการช่วยเหลือเชิงรุก
“เบื้องต้นธนาคารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามด้านสุขภาพ และเร่งติดต่อลูกค้า และมอนิเตอร์ว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง เพราะสาขาเปิดปกติไม่ได้ เพราะยังมีความไม่แน่นอนสูง และมีการติดตามความเสี่ยงใกล้ชิด”
นางวิเรขา กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับความคืบหน้าการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2563 ปัจจุบันพบว่าภาพรวมลูกหนี้ที่ขอรับการช่วยเหลือทยอยลดลงจาก 7.2 ล้านล้านบาท ในเดือนกรกฎาคม 2563 เหลือ 6 ล้านล้านบาท ในเดือนตุลาคม 2563 โดยเมื่อครบกำหนดมาตรการการพักชำระหนี้ ลูกหนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้ขอรับความช่วยเหลือต่อ และสามารถกลับมาชำระหนี้ได้ตามปกติ ทั้งนี้ การช่วยเหลือที่ผ่านมาเป็นลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์ประมาณ 55% และของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) 45%
สำหรับมูลหนี้ที่ธนาคารพาณิชย์ให้ความช่วยเหลือแบ่งเป็นลูกหนี้ธุรกิจ 63% และลูกหนี้รายย่อย 37% โดยลูกหนี้ธุรกิจได้รับการปรับโครงสร้างหนี้อย่างต่อเนื่อง และจากการประเมินพบว่า 66% ของหนี้ภาคธุรกิจสามารถชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไข และ 32% ต้องปรับโครงสร้างหนี้ ส่วนที่เหลือ 2% เป็นกลุ่มลูกหนี้เปราะบางที่ธนาคารพาณิชย์ยังไม่สามารถติดต่อได้ ในด้านของลูกหนี้รายย่อยพบว่า 70% สามารถชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไข 29% ต้องปรับโครงสร้างหนี้หรือมีมาตรการผ่อนปรนมารองรับ และ 1% ยังเป็นกลุ่มเปราะบางที่ไม่สามารถติดตามได้
อย่างไรก็ดี จากสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนสูง ธปท. ได้ติดตามและร่วมมือกับสถาบันการเงินเพื่อดูแลลูกหนี้อย่างใกล้ชิด และเพื่อพิจารณามาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ได้ทันต่อเหตุการณ์ มีประสิทธิภาพ และสามารถรักษาความมั่นคงของระบบการเงิน สำหรับลูกหนี้ที่ประสบปัญหาหรือต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมสามารถติดต่อผ่าน call center ของสถาบันการเงินแต่ละแห่งได้โดยตรง หรือ โทร 1213 ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริหารทางการเงิน ธปท. ส่วนลูกหนี้ที่มีปัญหาการติดต่อสถาบันการเงิน สามารถแจ้งความต้องการที่จะปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินผ่าน ทางด่วนแก้หนี้”
“จากการให้ความช่วยเหลือเป็นการทั่วไปในวงกว้าง ปรับให้มาเป็นการให้ความช่วยเหลือเชิงรุกและตรงจุดที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกหนี้แต่ละรายนั้น ได้ผลและมีความคืบหน้าตามเจตนารมณ์ของการปรับนโยบายจากครอบคลุมเป็นเจาะจง เห็นได้จากสถานะและความสามารถจ่ายชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไขของลูกหนี้ในภาพรวมปรับดีขึ้น จึงไม่เกิดปัญหาผิดนัดชำระหนี้จำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว (cliff effect) หลังมาตรการพักชำระหนี้ที่ทยอยครบกำหนด”
Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

คลิก

------------------------------------------------------------------------
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"