ส่องอนาคตสินค้าส่งออกปีหน้า รถยนต์-อาหาร-ยาง ทิศทางบวก

ภาพการส่งออกของไทยในเดือน ต.ค. 2563 ที่มีมูลค่า 19,376.68 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 6.71% ถือว่าทำได้ดีกว่าที่คาด เห็นสัญญาณดีจากการฟื้นตัวของการส่งออกสินค้าที่มาจากภาคการผลิตจริง ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 17,330.15 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 14.32%

เกินดุลการค้า 2,046.53 ล้านเหรียญสหรัฐ

ส่งผลให้ขณะนี้ยอดรวมการส่งออก 10 เดือนของปี 2563 (ม.ค.-ต.ค.) มีมูลค่า 192,372.77 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 7.26% การนำเข้ามีมูลค่า 169,702.56 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 14.61% โดยยังเกินดุลการค้ามูลค่า 22,670.21 ล้านเหรียญสหรัฐ
ซึ่งเป็นที่น่าจับตามองว่าสัญญาณการส่งออกไทยในปี 2564 จะมีแนวโน้มเป็นอย่างไร หลังจากประเทศต่าง ๆ ได้เร่งพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ออกมาอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะเห็นผลชัดเจนในปีหน้า
นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า แนวโน้มการส่งออกไทยทั้งปี 2564 ยังมีทิศทางเป็นบวก จากทั้งปี 2563 ซึ่งคาดว่าจะติดลบ 7%
โดยปัจจัยบวกสำคัญที่จะมาช่วยการส่งออกในปีหน้าเป็นผลจากการใช้มาตรการผ่อนคลายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากปัญหาโควิด-19 ของแต่ละประเทศ การบังคับใช้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และนโยบายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐ ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจรวมไปถึงค่าเงินบาทด้วย
ฝ่าปัจจัยลบปี’64
ส่วนปัจจัยลบที่ต้องติดตามคือ ปัญหาเรื่องของโลจิสติกส์ ซึ่งขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ก็อยู่ระหว่างการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหารือกับเอกชนในการหาแนวทางช่วยเหลือ ทั้งปัญหาค่าระวาง และตู้ขนส่งไม่เพียงพอ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ CLMV ซึ่งยังคงมีปัญหาของการแพร่ระบาดของโควิด-19 กระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและกระทบต่อการนำเข้าสินค้า เพราะกลุ่มประเทศเหล่านี้ล้วนเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย เห็นได้จากสินค้าเครื่องดื่มที่ส่งออกหลักลดลง
จับตาการพัฒนาวัคซีน
สำหรับแนวโน้มตลาดยังมองว่า สหรัฐ ญี่ปุ่น และจีน ยังเป็นตลาดสำคัญและการส่งออกยังไปได้ดี แต่ตลาดค้าชายแดน หากปิดด่านชายแดนต่อเนื่องก็จะมีผลต่อการส่งออก แม้ว่าเวียดนามจะส่งออกฟื้นตัวแล้วก็ตาม ส่วนสินค้าที่มีโอกาสเติบโตดีมี 4 กลุ่ม คือ อาหาร อุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับ
การทำงานที่บ้าน และยานยนต์
เป้าหมายการส่งออกสินค้า
“หากการพัฒนาวัคซีนเข้ามาความต้องการนำเข้าสินค้าอุปกรณ์ทางการแพทย์กลุ่มนี้อาจลดลง โดยเฉพาะสินค้าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากยางพารา เนื่องจากจะเห็นว่าช่วงปลายปี 2563 จีนมีการนำเข้าน้ำยางดิบเพิ่มขึ้นเพื่อผลิตสินค้าเอง โดยที่ไทยต้องการส่งออกสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น เพราะจีนต้องการที่จะนำเข้าเพื่อไปผลิตเอง”
ปูพรมกิจกรรมหนุนส่งออก
นายวิทยากร มณีเนตร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า กรมเตรียมแผนผลักดันการส่งออกผลไม้ในปี 2564 ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรม 39 กิจกรรม โดยยึดนโยบายตลาดนำการผลิต ให้ความสำคัญในการทำตลาด 3 รูปแบบด้วยกันคือ
1.รูปแบบกิจกรรมปกติ (offline) ทั้งหมด 24 กิจกรรม เช่น งานนำผู้ประกอบการร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย การตลาด ร่วมกับห้างสรรพสินค้าในต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดจีน การส่งเสริมการขายผ่านช่องทางการค้าปลีกสมัยใหม่ การเจรจาการค้าทั้งในและต่างประเทศ
2.รูปแบบกิจกรรมออนไลน์ (online) มีทั้งหมด 6 กิจกรรม เช่น การจัดกิจกรรมเจรจาการค้าในรูปแบบออนไลน์ โดยมอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (ทูตพาณิชย์) ในการหาคู่เจรจาการค้าและจัดกิจกรรมเจรจาการค้ารูปแบบออนไลน์ขึ้น
และ 3.รูปแบบกิจกรรมผสม (hybrid line) มีทั้งหมด 9 กิจกรรม โดยจัดให้มีกิจกรรมแสดงสินค้าผ่านระบบออนไลน์ในรูปแบบเสมือนจริง คือกิจกรรม Mirror & Mirror ในงานแสดงสินค้าที่จะไปเข้าร่วมทั้งจีน ญี่ปุ่น กัมพูชา เวียดนาม เป็นต้น
ทั้งนี้ กิจกรรมทั้งหมดอยู่ภายใต้กลยุทธ์ในการผลักดันการส่งออก โดยมีเป้าหมายในการขยายการส่งออกไปในตลาดใหม่ เมืองรองในจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย ผ่านการเพิ่มช่องทางการตลาดในรูปแบบออนไลน์และแพลตฟอร์มใหม่ ๆ เป้าหมายการส่งออกผลไม้ทั้งปีอยู่ที่ 8%
ทูน่าปี’64 โต 5-10%
นายชนินทร์ ชลิศราพงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า แนวโน้มการส่งออกทูน่า ปี 2564 คาดว่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นอีก 5-10% ต่อเนื่องจากปีนี้ โดยปัจจัยหลักอานิสงส์ของสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การส่งออกเติบโตเพิ่มขึ้น จากภาพรวมทั้งปีน่าจะเติบโต 15% สูงจากปีที่ผ่านมา มูลค่า 7-8 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ ล่าสุดรัฐบาลบรรลุความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซ็ป) นั้นยิ่งส่งผลให้ภาพรวมอุตสาหกรรมทูน่าไทยส่งออกปีละไม่ต่ำกว่า 8 หมื่นล้านบาท หลังจากข้อตกลงอาร์เซ็ปมีผลบังคับใช้ ข้อจำกัดเดิมก็หมดไปทำให้ส่งออกได้มากขึ้น
ส่วนมาตรการและนโยบายภาครัฐ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับกำหนดเสถียรภาพค่าเงินบาทถือว่าดีมาก ขอบคุณแบงก์ชาติที่พยายามช่วยกระตุ้นในส่วนนี้ สเต็ปแรกดีมาก แต่ก็คงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด สมาคมทูน่าเติบโตดีเพียงแต่สินค้าเกษตรอื่นต้องเติบโตด้วย ซึ่งกรอบที่สมดุลที่จะผลักดันการส่งออกทุกเซ็กเตอร์ควรจะอยู่ที่ 33 บาท และการส่งออกปีหน้าจะเริ่มดีขึ้น
โควิดระลอกใหม่ทุบส่งออกไก่
นายคึกฤทธิ์ อารีปกรณ์ ผู้จัดการสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภาพรวมการส่งออกไก่ในครึ่งปีแรก 2563 อยู่ที่ 4.7 แสนตัน เพิ่มขึ้น 2% มูลค่า 5.4 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 1,000 ล้านบาท เนื่องจากปัจจัยการระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้ตลาดหลักมีการนำเข้าน้อยลง โดยเฉพาะอียู ทำให้การสั่งซื้อไก่จากไทยลดลง 10% และกำหนดโควตา 2.8 แสนตันเท่านั้น จากเดิมที่ส่งออกได้กว่า 3.3 แสนตัน และในช่วงไตรมาส 4 ตลาดญี่ปุ่น การส่งออกลดลงอีก 1-2% ภาพรวมจึงต้องดูสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังคงระบาดระลอก 2 ดังนั้นสมาคมอาจจะต้องปรับเป้าการส่งออกไก่เนื้อทั้งปี 2563 ที่ 9.5 แสนตัน จาก 9.8 แสนตัน โดยต้องดูสถานการณ์โควิดในอียูเป็นหลัก
“คงต้องลดเป้าที่กำหนดเล็กน้อย จากปัจจัยโควิดเท่านั้น ถ้าอียูคุมได้ สถานการณ์จะดีขึ้น ตอนนี้เราพยายามเปิดตลาดเพื่อนบ้านให้มากขึ้น ทั้งจีนและสิงคโปร์ อย่างไรก็ตาม ขอให้รัฐบาลรักษาค่าเงินบาทอยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยในวันที่ 25 พ.ย. จะมีการประชุมสมาคม เพื่อสรุปแผนการดำเนินงาน และประเมินทิศทางการส่งออกปี 2564”
ข้าวยังมีโอกาส 7 ล้านตัน
นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า สมาคมคาดการณ์การส่งออกข้าวปี 2564 มีแนวโน้มว่าปริมาณจะเพิ่มสูงกว่าปี 2563 ซึ่งประเมินว่าจะส่งออกได้เพียง 6 ล้านตัน ต่ำกว่าเป้าหมายที่่วางไว้ 6.5 ล้านตัน ปัจจัยสำคัญมาจากแนวโน้มราคาข้าวหอมมะลิ ข้าวขาว ข้าวเหนียวลดลงจากคู่แข่ง ซึ่งคาดว่าผู้นำเข้าข้าวจะหันมาซื้อข้าวไทยมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกยังกังวลว่าอนาคตไทยจะแข่งขันลำบากมากขึ้น หากประเทศไทยยังไม่มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ เพื่อใช้ในการแข่งขัน ขณะที่เวียดนามพัฒนาพันธุ์ข้าวมากขึ้น โดยเฉพาะข้าวพันธุ์ ST24 เวียดนามที่คว้ารางวัล World’s Best Rice นี่จึงเป็นโจทย์ใหญ่ของการส่งออกข้าว
เครื่องนุ่งห่มลุ้นปัจจัยบวก
นายยุทธนา ศิลป์สรรค์วิชช์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย และประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่าปีหน้าต้องการให้การส่งออกกลับมาขยายตัวไม่น้อยกว่ายอดของปี 2562 ซึ่งเป็นปีที่ไม่มีวิกฤต ถือเป็นเป้าหมายแรกจากปีนี้คาดว่าจะติดลบ 18% ดังนั้นปีหน้าก็จะตั้งเป้ากลับมาโต 18% จากปี 2563
สำหรับตลาดส่งออกทุกตลาดติดลบเกือบทั้งหมดในปีนี้ แต่ที่หนักคือตลาดสหรัฐ ที่คาดว่าปีนี้จะติดลบ 5% และตลาดญี่ปุ่น ปีนี้คาดว่าติดลบ 25%
อย่างไรก็ตาม ปีหน้ายังคงเน้นส่งออกตลาดเดิม แต่จะมุ่งผลักดันให้ตัวเลขส่งออกมากขึ้น ซึ่งคาดว่ากลางปีหน้าเป็นต้นไป งาน outdoor ต่าง ๆ จะมีมากขึ้น และทำให้มีการใช้เสื้อผ้ามากขึ้น
นายยุทธนากล่าวว่า ปัจจัยบวกต่อการส่งออกในปีหน้า เป็นผลจากการวิจัยและพัฒนาวัคซีน ประกอบกับการคลายมาตรการล็อกดาวน์ (lock down) ของประเทศต่าง ๆ และภาพรวมเศรษฐกิจโลกปรับดีขึ้น ขณะเดียวกัน ไทยยังมีปัจจัยบวกจากที่ได้ลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ประมาณกลางปีหน้า
ส่วนปัจจัยลบคือปัจจัยจากอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทแข็งค่า ประกอบกับต้นทุนการผลิตของไทยสูงจากที่ไทยไม่มีสิทธิประโยชน์การค้าเพิ่ม และห่วงโซ่การผลิต (supply chain) ย้ายไปที่เวียดนาม ชัดเจนและปัญหาแรงงานต่างด้าวย้ายธุรกิจอื่น
Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

คลิก

----------------------------------------------------------------------------------
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!

http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"