ธปท. ชี้ เงินบาทแข็งโป๊ก! จ่องัดมาตรการคุม ป้อง นลท.พักเงินร้อน

ธปท.รับค่าเงินบาทแข็งค่า หากเทียบสกุลเงินในภูมิภาค หลังโควิด-19ดี ขึ้น ตัวเลขเศรษฐกิจออกมาดี หวั่นนักลงทุนนำเงินมาพักในไทยระยะสั้น จ่อคลอดมาตรการป้องบาทแข็งค่าเพิ่ม จับตาการทำธุรกรรมผู้ค้าทอง หวั่นหนุนบาทแข็งค่า

รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในระยะ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วกว่าสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถานการณ์โควิด 19 ของไทยดีกว่าอีกหลายประเทศและตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาส 1 ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ ซึ่ง ธปท. กังวลว่าการแข็งค่าเร็วของเงินบาทอาจไม่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจของไทยที่ยังเปราะบาง หลายภาคเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากโควิด19 อย่างรุนแรง ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนเมื่อประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของไตรมาส 2 ในระยะต่อไป

ด้านราคาทองคำที่ปรับสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมามีส่วนสร้างแรงกดดันให้เงินบาทแข็งค่า ซึ่ง ธปท. จะตรวจสอบการทำธุรกรรมของกลุ่มผู้ค้าทองคำให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ รวมทั้งพิจารณาแนวทางการดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพิ่มเติมเพื่อลดผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน

แนวโน้มสถานการณ์โควิด 19 ในไทยและภูมิภาคที่ปรับดีขึ้น อาจทำให้ค่าเงินสกุลเอเชียและเงินบาทเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุนบางกลุ่มที่ใช้ไทยเป็นแหล่งพักเงินระยะสั้น

ซึ่งเป็นสิ่งที่ ธปท. ไม่พึงประสงค์ และ ธปท. พร้อมพิจารณาใช้มาตรการที่จำเป็น เพื่อไม่ให้การแข็งค่าของเงินบาทซ้ำเติมความเปราะบางของเศรษฐกิจในปัจจุบัน

ในช่วงต่อไป สถานการณ์โควิด 19 และสภาวะตลาดการเงินโลกจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ประกอบกับจะมีธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนทางตรงของทั้งภาครัฐและเอกชนที่อาจทำให้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวกลับทิศได้ในบางช่วง ธปท. จึงขอแนะนำให้ผู้ที่มีธุรกรรมเงินตราต่างประเทศป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อรับมือกับความผันผวนจากการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาททั้ง 2 ทิศทางในระยะข้างหน้า

Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

คลิก

ธปท. แจงเงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วกว่าสกุลเงินในภูมิภาค : นายเมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในระยะ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วกว่าสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถานการณ์โควิด 19 ของไทยดีกว่าอีกหลายประเทศและตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาส 1 ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ ซึ่ง ธปท. กังวลว่าการแข็งค่าเร็วของเงินบาทอาจไม่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจของไทยที่ยังเปราะบาง หลายภาคเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากโควิด 19 อย่างรุนแรง ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนเมื่อประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของไตรมาส 2 ในระยะต่อไป

ราคาทองคำที่ปรับสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมามีส่วนสร้างแรงกดดันให้เงินบาทแข็งค่า ซึ่ง ธปท. จะตรวจสอบการทำธุรกรรมของกลุ่มผู้ค้าทองคำให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ รวมทั้งพิจารณาแนวทางการดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพิ่มเติมเพื่อลดผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน

แนวโน้มสถานการณ์โควิด 19 ในไทยและภูมิภาคที่ปรับดีขึ้น อาจทำให้ค่าเงินสกุลเอเชียและเงินบาทเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุนบางกลุ่มที่ใช้ไทยเป็นแหล่งพักเงินระยะสั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ ธปท. ไม่พึงประสงค์ และ ธปท. พร้อมพิจารณาใช้มาตรการที่จำเป็น เพื่อไม่ให้การแข็งค่าของเงินบาทซ้ำเติมความเปราะบางของเศรษฐกิจในปัจจุบัน

ในช่วงต่อไป สถานการณ์โควิด 19 และสภาวะตลาดการเงินโลกจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ประกอบกับจะมีธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนทางตรงของทั้งภาครัฐและเอกชนที่อาจทำให้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวกลับทิศได้ในบางช่วง ธปท. จึงขอแนะนำให้ผู้ที่มีธุรกรรมเงินตราต่างประเทศป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อรับมือกับความผันผวนจากการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาททั้ง 2 ทิศทางในระยะข้างหน้า

Source: BoT

- Bank of Thailand Says It’s Ready to Curb Recent Baht Strength

คลิก

Cr.Sayan Rujiramora

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"