บทบาท “ซัพพลายเชน” จีน อาจเปลี่ยนไปหลังไวรัสโควิด-19

อย่างที่เห็นกันไปแล้ว การระบาดของไวรัส โควิด-19 ที่มีจุดกำเนิดในจีน ส่งผลให้เกิดการชะงักงันของภาคการผลิตในหลายภาคส่วนของโลก เนื่องจากต้องอาศัยวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนจากจีนเป็นหลัก เมื่อจีนต้องปิดโรงงานเพื่อควบคุมการระบาด

ทำให้การจัดส่งวัตถุดิบหรือแม้กระทั่งสินค้าสำเร็จรูปหยุดชะงักลง สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมหาศาล

ขณะนี้เกิดความเคลื่อนไหวกับประเทศยักษ์ใหญ่อย่างน้อย 2 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา กับญี่ปุ่น ที่เริ่มมีแนวคิดจะจูงใจให้บริษัทของตนย้ายฐานการผลิตกลับประเทศเพื่อลดการพึ่งพาจีน โดยในส่วนของสหรัฐ นายลาร์รี คัดโลว์ ที่ปรึกษาเศรษฐกิจของประธานาธิบดีทรัมป์ แสดงความเห็นว่า หนึ่งในวิธีการที่จะจูงใจให้บริษัทอเมริกันย้ายกลับมาสหรัฐก็คือรัฐบาลช่วยจ่ายค่าย้ายกลับให้แก่เอกชนแบบครอบคลุมทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นโรงงาน อุปกรณ์ ในรูปของการยกเว้นภาษี

ในวันเดียวกับที่นายคัดโลว์ เสนอความคิดนี้ ในฟากของญี่ปุ่นในฐานะพันธมิตรหลักของสหรัฐในเอเชียก็เคลื่อนไหวแบบเดียวกัน โดยรัฐบาลญี่ปุ่นได้เจียดงบฯพิเศษกว่า 2 แสนล้านเยน เพื่อหาทางให้บริษัทญี่ปุ่นย้ายออกจากจีนกลับมายังญี่ปุ่นหรือย้ายไปที่อื่น ซึ่งงบฯนี้เป็นส่วนหนึ่งของแพ็กเกจกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อรับมือผลกระทบจากการระบาดของไวรัส โดย 2.2 แสนล้านเยน จะจัดสรรไว้ช่วยเหลือบริษัทญี่ปุ่นในจีนที่ต้องการย้ายกลับญี่ปุ่น และ 2.35 หมื่นล้านเยน สำหรับบริษัทญี่ปุ่นที่ต้องการย้ายจากจีนไปยังประเทศอื่น

จีนเป็นคู่ค้าใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น แต่หลังจากไวรัสระบาด การนำเข้าชิ้นส่วนจากจีนลดลงเกือบครึ่งหนึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ ทำให้โรงงานในญี่ปุ่นไม่มีชิ้นส่วนที่จะผลิตสินค้า เช่น โรงงานผลิตรถยนต์ที่ไม่เคยหยุดการผลิตเลยก็ต้องหยุดเป็นครั้งแรก สภาพดังกล่าวทำให้บริษัทญี่ปุ่นเริ่มพูดถึงการลดพึ่งพาจีน โดยผลสำรวจเมื่อเดือนกุมภาพันธ์พบว่า 37% ของ 2,600 กว่าบริษัทที่ตอบแบบสอบถาม ระบุว่า พวกเขาเริ่มกระจายการจัดซื้อชิ้นส่วนไปยังที่อื่น ๆ นอกเหนือจากจีน

ในการหารือระดับรัฐบาล เมื่อเดือนที่แล้ว เห็นว่า บริษัทญี่ปุ่นที่ผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงจำเป็นต้องย้ายกลับมายังญี่ปุ่น ส่วนบริษัทที่ผลิตสินค้าอื่น ๆ ควรกระจายไปตั้งฐานการผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตาม ยังต้องรอดูกันต่อไปว่านโยบายดังกล่าวของญี่ปุ่นจะกระทบต่อความพยายามอย่างยาวนานของ นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรี ที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์กับจีนอย่างไรบ้าง

ชินอิจิ เซกิ นักเศรษฐศาสตร์สถาบันวิจัยแห่งญี่ปุ่น ระบุว่า บริษัทญี่ปุ่นที่ผลิตสินค้าในจีนเพื่อส่งออกกำลังพิจารณาย้ายออก การที่รัฐบาลจัดสรรงบฯช่วยเหลือในการย้ายออก จะเป็นแรงกระตุ้นมากขึ้น อย่างไรก็ตาม บริษัทบางประเภท เช่น บริษัทรถยนต์ที่ผลิตป้อนตลาดจีนโดยเฉพาะคงไม่ย้ายออก

ช่าว เต้อหวัง เจ้าของบริษัท ฝูเย่า กลาส อินดัสทรี ชี้ว่า จีนต้องเตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ในอุตสาหกรรมโลก เพราะหลังการระบาดของไวรัส อุตสาหกรรมโลกจะลดการพึ่งพาจีน บริษัทต่างชาติมีแนวโน้มจะย้ายการผลิตกลับบ้านเกิดหรือไม่ก็ไปประเทศอื่น “บทบาทของจีนในระบบห่วงโซ่อุปทานโลกอาจอ่อนแอลง” อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศร่ำรวยไม่ว่าจะเป็นอเมริกา ยุโรป เกาหลี ญี่ปุ่น จะเป็นเรื่องยากมากที่จะสร้างโรงงานขึ้นมาใหม่ในประเทศของตัวเอง หลังจากพึ่งพาจีนมาหลายทศวรรษ

ข่าวระบุว่า บริษัทที่อยู่ในภาคการผลิตของประเทศร่ำรวยอาจไม่มีผู้ลงทุนเพียงพอที่จะมาสนับสนุน เพราะคนรุ่นใหม่ที่เป็นคนหนุ่มสาวไม่เต็มใจจะลงทุนภาคการผลิต พวกเขาเต็มใจจะลงทุนกิจการเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและการเงินมากกว่า อีกอย่างหนึ่งค่าแรงในสหรัฐสูงกว่าจีนมาก ดังนั้น ในระยะสั้นคงยากที่จะหาใครมาแทนจีนได้ในแง่ของห่วงโซ่อุตสาหกรรมโลก

คอลัมน์ ชีพจรเศรษฐกิจโลก
โดย นงนุช สิงหเดชะ

Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

เพิ่มเติม
- Coronavirus: Japan PM Shinzo Abe calls on firms to cut supply chain reliance on China:
คลิก

Cr. Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"