COVID-19 กำลังระบาดหนักไปทั่วโลก ไทยก็ได้รับผลกระทบเช่นกันโดยเฉพาะในเรื่องของสินค้า นับตั้งแต่หน้ากากอนามัย ไล่มาไข่ราคาแพง จนมาถึงถุงยางอนามัยก็กำลังจะเป็นสินค้าขาดแคลนชนิดถัดไป
ล่าสุด รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารของมาเลเซียให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า มาเลเซียมีข้าวสารเหลือเพียงพอที่จะบริโภคในประเทศอยู่ราว 2 เดือนครึ่ง ซึ่งเวียดนามมีมาตรการระงับการส่งออกเพื่อจะสำรองข้าวสารไว้ให้ประชาชนในประเทศท่ามกลางโควิด-19 ระบาดหนัก เวียดนามเป็นผู้ส่งออกข้าวสารใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก (อันดับ 1 อินเดีย อันดับ 2 ไทย อันดับ 3 เวียดนาม)
เวียดนามระบุไว้เมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า จะไม่เซ็นสัญญาเพื่อส่งออกข้าวจนกว่าจะถึงวันที่ 28 มีนาคม (วานนี้) เพื่อสร้างความมั่นใจให้ตัวเองว่าจะมีข้าวเพียงพอบริโภคภายในประเทศ ซึ่งท่าทีเช่นนี้ทำให้ความมั่นคงทางอาหารของโลกสั่นสะเทือน (food security)
มาเลเซียนำเข้าข้าวในปริมาณมาก ล่าสุด มาเลเซียจำกัดทุกกิจกรรมที่มีการเคลื่อนย้ายผู้คน โดยนายกรัฐมนตรี Muhyiddin Yassin ประกาศให้จำกัดการเคลื่อนไหวของผู้คน สั่งให้ปิดประเทศจนถึงวันที่ 14 เมษายน ซึ่งในประเทศมีข้าวอยู่ในสต๊อกราว 500,000 ตัน บริโภค 200,000 ตันต่อเดือน บริษัท BERNAS (คือบริษัทเอกชนที่มีรัฐบาลเป็นเจ้าของ ผูกขาดนำเข้าและจัดจำหน่ายข้าวแต่เพียงรายเดียว ข้าวเป็นสินค้าควบคุมราคาและให้การอุดหนุน)
BERNAS ต้องการเซ็นสัญญาซื้อขายข้าวกับเวียดนามเร็วขึ้นแม้ว่าจะมีราคาที่สูงก็ตาม เพื่อจะมีข้าวสต๊อกภายในประเทศมากพอ ขณะนี้ มาเลเซียกำลังมองหาแหล่งผลิตข้าวจากประเทศอื่นเพิ่ม เช่น ปากีสถาน อินเดีย เมียนมา และไทย
มาเลเซียมีที่เพาะปลูกข้าวประมาณ 4.3 ล้านไร่ทั่วประเทศ มีกำลังในการผลิตข้าาวให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศอยู่ที่ 70% ที่เหลืออีก 30% นำเข้าข้าวจากต่างประเทศ
มาเลเซียผลิตข้าวไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ ปี 2561 นำเข้าข้าว 800,000 ตัน มูลค่านำเข้าอยู่ที่ 406.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (1.3 หมื่นล้านบาท) ช่วงต้นปี 2562 นำเข้าข้าวเพิ่มขึ้น 30.7% (นำเข้าข้าวไทยเพิ่มขึ้น 43.4% เป็นข้าวขาว 96%) มาเลเซียนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น แต่การผลิตข้าวในประเทศกลับขยายตัวต่ำลงเพราะเกษตรกรส่วนใหญ่สนใจปลูกปาล์มน้ำมันเป็นหลัก และพื้นที่เกษตรมีจำนวนจำกัด
ด้าน Phung Duc Tung ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจการเกษตรจากสถาบันวิจัยและพัฒนาแม่น้ำโขงระบุว่า การตัดสินใจระงับการส่งออกข้าวของเวียดนามจะกระทบต่อประชากรที่เป็นวัยทำงานเพราะต้องพึ่งพาการค้าข้าวเป็นหลัก การระงับส่งออกข้าวไม่ใช่ทางเลือกที่ถูกต้อง รัฐบาลควรปล่อยให้ตลาดทำงานได้อย่างเสรีและควรสร้างแรงจูงใจให้คนทำงานโดยเฉพาะเกษตรกรที่เป็นกลุ่มคนทำงานที่ทรงคุณค่า
อย่างไรก็ตาม ทางเวียดนามกำลังทบทวนสถานการณ์เพื่อประเมินการส่งออกข้าวอีก ทางบริษัทหลายแห่งระบุว่ายังมีข้าวสต๊อกอยู่ในประเทศจำนวนมาก แต่รัฐก็จะให้ความสำคัญกับพลเมืองเป็นอันดับแรก ข้าวจะต้องมีเพียงพอต่อความต้องการของคนในประเทศที่ตอนนี้ส่วนใหญ่มักจะต้องอาศัยอยู่ในบ้านเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส
ทั้งนี้ บริษัทวิจัยการตลาด Nielsen ในเวียดนามระบุว่า ผลกระทบจากไวรัสระบาดทำให้ชาวเวียดนามกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหาร เงิน และสุขภาพ ซึ่งก่อนหน้านี้ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2019 ชาวเวียดนามก็กังวลเรื่องค่าใช้จ่ายอาหารอยู่แล้ว เพราะก่อนหน้านี้เพิ่งจะมีไข้หวัดหมูแอฟริการะบาดทั่วเอเชีย ทำให้หมูมีราคาแพงขึ้น
ความกังวลเรื่องอาหารกำลังเพิ่มมากขึ้นหลังไวรัสระบาด หลายประเทศเริ่มจำกัดการส่งออกอาหาร ในรัสเซีย สหภาพน้ำมันจากผัก (vegetable oil union) เรียกร้องให้กระทรวงเกษตรจำกัดการส่งออกเมล็ดทานตะวันเป็นเวลา 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนเป็นต้นไป (รัสเซียเป็นผู้ผลิตน้ำมันจากเมล็ดดอกทานตะวันเป็นอันดับ 2 รองจากยูเครน)
คาซัคสถานระงับการส่งออกสินค้าบางชนิดจนกว่าจะถึงกลางเดือนหน้า เช่น เมล็ดพืชบักวีต (buckwheat มีสารต้านอนุมูลอิสระ ลดคลอเรสเตอรอล ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต) น้ำตาล น้ำมันจากเมล็ดทานตะวัน
ผู้ค้าข้าวแห่งยุโรประบุว่า ถ้าเวียดนามแบนการส่งออกจะส่งผลกระทบต่อซัพพลายข้าวในโลกมากถึง 10-15% และแอฟริกาจะกรทบหนัก ความกังวลนี้เกิดขึ้นพร้อมๆ กับอินเดียที่เป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่สุดของโลกเริ่มปิดประเทศที่มีระยะเวลายาวนาน 3 สัปดาห์ การปิดประเทศของอินเดียจะส่งผลกระทบต่อโลจิสติกส์และดิสรัป supply chain ด้านอาหาร แม้ไทยจะอยู่อันดับสองของการส่งออกข้าว แต่ต้องเผชิญภาวะฤดูแล้งหนักที่สุดในรอบ 10 ปี ส่งผลให้ข้าวมีปริมาณน้อยลง
โดย Parichat Chk
Source: Brandinside.asia
Cr. Bank of Thailand Scholarship Students
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you