ทำไม AI ไม่ได้เป็นส่วนสำคัญการรับมือโรคระบาดครั้งนี้

เคยได้ยินเรื่องราวของคนกลุ่มแรกที่ป่าวประกาศให้โลกรู้เกี่ยวกับไวรัส COVID-19 ระบาดหรือป่าวครับ หนึ่งคนคือหมอชาวจีน อีกหนึ่งคือ AI จากแคนาดาครับ ทั้งคู่ไม่ได้รับความสนใจจากทางการ และต่อมาสิ่งที่เป็นฝันร้ายของคนทั่วโลกก็เกิดขึ้น

ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ การเข้าไปหยุดยั้งการระบาดกันตั้งแต่เริ่มต้น คงไม่ระบาดทั่วโลกเหมือนทุกวันนี้ แล้วรู้หรือไม่ครับ การวิจัยยาจะมีส่วนที่ใช้ AI เร่งให้การผลิตยารักษาออกมาโดยเร็วหรือเปล่า? น้อยมากครับ วันนี้ขอเสนอ พัฒนาการณ์ด้านการรับมือกับเชื้อโรค และปัญหาความเชื่อใจในเทคโนโลยีครับ

BlueDot บริษัท AI ที่ถูกมองข้าม

ยิ่งเรารู้ปัญหาได้เร็วเท่าไหร่ ยิ่งจัดการกับโรคระบาดได้เร็วใช่ไหมครับ? Google ก็เคยคิดแบบนั้นในปี 2008 ครับ เขาเลยตั้ง Google Flu Trend ขึ้นมา จุดประสงค์ก็เพื่อเฝ้าระวังการเกิดโรคระบาดทั่วโลก แต่ห้าปีผ่านไป Google ก็ประสบกับความล้มเหลว เมื่อเขาไม่สามารถทำนายการระบาดของไข้หวัดใหญ่ที่เกิดขึ้น แต่แล้วสิ่งที่ Google ทำไม่ได้ ก็มีบริษัท Canada ชื่อ BlueDot ทำได้

BlueDot ใช้วิธีเดียวกับ Google คือดูข้อมูลที่มีการโพส Online แต่จำกัดข้อมูลเฉพาะแหล่งที่เชื่อถือได้ ตัดข้อมูลจาก Social Media ออกไป และคาดการณ์การเกิดไวรัส Ziga ได้ ก่อนที่มันจะระบาดจริงถึงหกเดือน !

ถ้า BlueDot ทำผลงานดีขนาดนี้ ทำไมครั้งนี้ยังเกิดโรคระบาดอยู่?

BlueDot ทำนายการระบาดครั้งนี้ได้ล่วงหน้าเช่นกัน และนี่เป็นอีกครั้งที่ข้อมูลถูกมองข้าม แม้ข้อมูลของ BlueDot จะแม่นยำยิ่งขึ้น เนื่องจาก BlueDot นั้นเก็บข้อมูลหลายด้าน ไม่เพียงแต่ดูข้อมูลโรคระบาด

ยังมีข้อมูลการเดินทาง
ข้อมูลสายการบิน
การระบาดในสัตว์

ทำให้ BlueDot คาดการณ์ล่วงหน้าว่าการระบาดจะมาถึงกรุงเทพต่อจากหวูฮั่น และต่อไปยังโซล, ไทเป และ โตเกียว ตามลำดับ ซึ่งเมื่อดูจากความแม่นยำระดับนี้ เราจึงยังสงสัยว่า เทคโนโลยีที่ถูกเพิกเฉยนี้ ในอนาคตทั่วโลกจะเริ่มเชื่อใจให้AIคอยสอดส่องโรคระบาดที่จะเกิดขึ้นหรือเปล่า เพราะสุดท้ายแล้วเราก็ยังเชื่อใจวิธีหยุดโรคระบาดที่ใช้กันมาตั้งแต่ศตวรรษที่แล้ว ซึ่งก็คือการกักตัว ปิดเมือง ปิดประเทศ ซึ่งไม่ได้บอกว่ามันไม่ดีนะครับ มันเป็นมาตรการที่ปลอดภัยและใช้ได้จริง เพียงแต่ถ้าในอนาคตเราจะมีทางเลือกอื่นที่กระทบต่อเศษฐกิจ ปากท้องประชาชนน้อยกว่านี้ เราควรศึกษาไหม (การศึกษาบอกว่าร้านอาหารในจีน15%ต้องการปิดกิจการ) ถ้าควร ควรเริ่มศึกษาเมื่อไหร่ อย่าง California เขาเริ่ม Partner กับ Bluedot เพื่อใช้ Big Data ดูPatternการสัญจรทางเครื่องบินเข้าและออก เพื่อวางมาตรการการป้องกันโรคระบาด ความร่วมมือนี้เพิ่งเกิดขึ้นเมื่ออาทิตย์ที่แล้วเอง ได้ผลไหม รอติดตามครับ

Protein Folding กับปัญหาการวิจัยยา

ยอมรับเรื่องการระบาดว่ายากแล้ว เรื่องการวิจัยยายิ่งยากใหญ่

ปัญหาของการวิจัยยาคือ...

เราเรียก Moore's Law ว่าเป็นสาเหตุทำให้เทคโนโลยีก้าวหน้า เพราะอุปกรณ์อิเล็กโทรนิคมีประสิทธิภาพมากขึ้นและถูกลงทุกวัน แต่ในวงการยา เรื่องนี้กลับตรงกันข้ามครับ นับวันการค้นพบยาใหม่ๆยิ่งยากขึ้นทุกวันครับ ความเป็นไปได้ต่ำลง อะไรที่ง่ายๆก็มีคนวิจัยไปหมดแล้ว และต้นทุนก็ยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆด้วย จนเรียกวางการนี้ว่าเป็น Eroom's Law หรือ Moore ที่เขียนกลับด้านครับ

เมื่อเจาะลึกลงไป ปัญหาสำคัญของงานวิจัยยาคือ เรารู้จักเชื้อโรคที่เราต่อสู้ด้วยน้อยมากครับ เราเรียกปัญหานี้ว่า Protein Folding ครับ โปรตีน คือโครงสร้างของสิ่งต่างๆทางชีววิทยา รวมถึงเชื้อโรคต่างๆ เช่นเจ้าเชื้อ COVID-19 นั้นสร้างมาจากโปรตีนใช่ไหมครับ (nucleocapsid protien 30,000 ลำดับเบส) ซึ่งมันก็ประกอบด้วย Polypeptide ที่มาประกอบกันผูกเป็นสายโซ่เรียกว่า Polypeptide Chain แต่ละโปรตีนก็จะมีหน้านี้ต่างกัน บางตัวมีหน้าที่ผูกเข้าหากัน บางตัวทำหน้าที่อย่างอื่น เชื้อแต่ละตัว ก็มีการเรียงตัวของจีโนมต่างกัน

คราวนี้การออกแบบยาฆ่าเชื้อจำเป้นจะต้องรู้จักพื้นผิวของตัวเชื้อที่เราจะโจมตีว่ามีรูปร่างยังไง เหมือนเชื้อโรคเป็นแม่กุญแจ และเราออกแบบกุญแจที่สามารถใส่เข้าไปได้พอดี ยาถึงจะโจมตีเชื้อโรคให้มันคายสิ่งที่มันยึดเกาะ และตายในที่สุด แต่ปัญหาคือ ตอนนี้เราสู้กับเชื่อโรคแบบไม่รู้รูปร่างของมัน เพราะปรกติมันจะเป้นสายพัทธะเป้ปไทด์ที่ขมวดกันยุ่งเหยิงเหมือนสายหูฟังที่พันกันยุ่ง จนเราไม่รู้เลยว่าอะไรอยู่ตรงไหนมีหน้าที่อะไรบ้าง แล้วเมื่อมันอาศัยอยู่ในของเหลว การเคลื่อนที่ของของเหลว ก็ทำให้ตัวมันเคลื่อนตัวไปทั่ว แล้วบางทีมันก็ไปปนกับสิ่งอื่น จึงยิ่งทำให้มันศึกษายากเข้าไปอีก

จนกระทั่งปีที่แล้วที่งาน CASP13 งานแข่งขันทำโมเดลโครงสร้างโปรตีน ก็เป็น Deepmind เจ้าเดิม (AIที่ถล่มเซียนโกะในปี2013) ที่เข้ามาแข่งแบบไร้ประสบการณ์และชนะคู่แข่งเจ้าอื่นขาดลอยแบบคาดไม่ถึง ชนะแม้กระทั่งบริษัทยายักษ์ใหญ่อย่าง Pfizer ที่มีพนักงานกว่าพันคน โมเดลที่ Deepmindใช้ ทำให้เราได้คำตอบสองอย่าง

1. ทำนายระยะห่างระหว่างคู่กรด Amino
2. ดูองศาของสารเคมีที่เชื่อมกรดAmino เข้าด้วยกัน

ซึ่งก็ทำให้เราสามารถทำภาพ3Dของเชื้อโรคที่เราศึกษา และหายาออกมาฆ่าเจ้าไวรัสได้ Aiตัวนี้ถูกเรียกว่า AlphaFold และเมื่อไม่นานมานี้ Deepmind ก็ปล่อยเจ้าAiตัวนี้ออกมาให้Installใช้กันฟรีๆ(มีคนทำ youtubeสอนวิธีลงด้วย) มีคนเอามันไม่ใช้ในการศึกษา Covid กัน

แต่ถึงอย่างนั้น AlphaFold ก็ยังไม่น่าเชื่อถือพอที่จะนำมันมาใช้ศึกษาหายาCovid-19 และยังไม่มีAIตัวไหนที่สามารถทำให้เกิดยาใหม่ขึ้นมาบนโลกนี้ได้

หลังจากเหตุการณ์นี้ ก็ต้องมาดูกันต่อไปว่าการยอมรับใน AI จะมีมากขึ้นไหม มีAIจากMITชื่อHALที่สามารถคิดยาฆ่าเชื้อ E.Coli แม้จะยังไม่ถูกทดลองจริงๆก้เป็นความหวังในการสู้กับเชื้อดื้อยา และ Baidu ของฝั่งจีนที่ศึกษารูปร่างของ mRNA ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังต้องดูความเป็นไปได้กันต่อไป

วิกฤติครั้งนี้แม้จะทำให้เราทุกคนลำบากมากขึ้น แต่ก็หวังว่าจะมีคนกล้าเปิดประตูยอมรับสิ่งใหม่ โอกาสใหม่ๆ เชื่อได้ว่าหลังจากวิกฤตินี้ผ่านไป โลกก็จะไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว

"ทุกๆปัญหามีโอกาสซ่อนอยู่เสมอ" - ไอน์สไตน์

บอม

คลิก

คลิก

Cr. DinoTech5.0

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"