... ข่าวล่าสุดมีการทยอยประกาศปิดโรงงานชั่วคราวในไทยหลายแห่ง สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสินค้าในโลกและเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ทำให้กระทบกับ “การส่งออกของไทย” สะท้อนให้เห็นปัญหา “จุดอ่อนเรื้อรังของการส่งออกไทย”
ที่สั่งสมมานานและถูกซ่อนเร้นใต้พรมในมายาภาพของการเจริญเติบโตทั้งตึกสูงระฟ้า รถไฟฟ้า สนามบินใหญ่ แต่ “การส่งออกไทยพิการ” มานาน
... “จุดอ่อนที่ 1 ยืมกระดูกสันหลังคนอื่นยืน” , ปัจจุบันภาคการผลิตเพื่อส่งออกของไทยที่เติบโตและสร้างรายได้กว่าร้อยละ 40 ของมูลค่าส่งออกรวม เป็นอานิสงส์จากการลงทุนของต่างชาติ โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติสัญชาติ “ญี่ปุ่น” ที่ลงทุนในไทยมีสัดส่วนครึ่งหนึ่งของเงินลงทุนต่างชาติทั้งหมดด้วยเม็ดเงินลงทุนกว่า 3.8 พันล้านดอลลาร์เฉลี่ยต่อปี ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ... เหมือนเราต้องพึ่งกระดูกสันหลังของญี่ปุ่น ในการสร้างรายได้หรือเติบโตทางเศรษฐกิจ แล้วนำเงินรายได้ภาษีมาพัฒนาประเทศ นอกเหนือรายได้จากการท่องเที่ยว
... ไม่ว่าจะเป็น การลงทุนโดยตรง ร่วมทุน หรือเป็นของไทย แต่ก็เป็น “ห่วงโซ่การผลิตกับของญี่ปุ่น” Supply Chain นี้เราเป็นมานานและไม่คิดจะหลุดจากเจ้านายคนนี้ ต่างจาก มาเลเซีย เกาหลีใต้ หรือล่าสุด เวียตนาม เขาพยายามจะดิ้นให้หลุดจากกระดูกสันหลังคนอื่น จึงต้องค่อยๆสร้างกระดูกสันหลังของตัวเอง “แบรนด์ตัวเอง เจ้าของการผลิตทั้งโครงสร้างและนโยบาย” เครื่องคอมพิวเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์ เรายังผูกกับกระดูกสันหลังเจ้านาย “ญี่ปุ่น” ไม่ออก
... เพราะว่าวันดีคืนดี เช่นตอนน้ำท่วมใหญ่ หรือมีเหตุการณ์ประท้วงจากหลายฝ่าย เขามีสิทธิโยกย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่นวันไหนก็ได้ เช่น โทรทัศน์ซัมซุงก็ย้ายฐานใหญ่ไปเวียตนามแล้ว ในช่วงดังกล่าว ทำให้รายได้เราหายไปทันที การจ้างงานลดทันที
... “ประการที่ 2 ทั้งภาครัฐและเอกชนเราไม่มีไหวพริบและการปรับตัวที่ทันต่อเหตุการณ์ของโลก” ... เช่น “รถยนต์ไฟฟ้า” กำลังมาแรงแน่นอนในอนาคตอันใกล้ เครื่องยนต์และน้ำมัน จะไม่ใช้หัวใจหลักอีกต่อไป โดยระบบ 5G ระบบซอฟท์แวร์การควบคุมการขับ ระบบแบตเตอร์รี่ในรถไฟฟ้า จะเป็นแนวโน้มของสินค้าใหม่มาแทนที่ ที่ผู้ผลิตและส่งออกไทยเราต้องเปลี่ยนตัวเองให้ทัน ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นไดโนเสาร์แบบ โนเกีย โมโตโลล่า ในตอนที่ไอโฟนและซัมซุงสมาร์ทโฟนโผล่ขึ้นมาชมโลก แต่นั้นก็เพราะเหตุผลจากเหตุผลข้อที่หนึ่งด้วย ที่เราต้องพึ่งพา “กระดูกสันหลังของคนอื่น” สินค้าเรายังก้าวอยู่กับที่ ไม่มีการพัฒนา R&D ล่วงหน้า
... “ประการที่ 3 การตลาดของไทยยังพึ่งพาตลาดเก่า ลูกค้าเจ้าเดิม” ... ก็สืบเนื่องมาจากข้อที่ 1 ต้องยืมกระดูกคนอื่นมายืน ทำให้ระดับนโยบายและโครงสร้างบริษัทต้องเดินตามเจ้าของใหญ่นายทุนข้ามชาติ ไม่สามารถจะพูดได้มากนัก เปลี่ยนแปลงอะไรได้น้อย เพราะต้องเดินตามเจ้านายญี่ปุ่นหรือเจ้าของทุนข้ามชาติต่างประเทศ ต่างจาก “จีน” “เกาหลีใต้” “ไต้หวัน” ที่เปลี่ยนจากการขายสินค้ารับจ้างผลิตตามห่วงโซ่การผลิตของต่างชาติ มาสร้างสินค้าแบรนด์ตัวเอง เช่น หัวเหว่ย ออฟโป ซัมซุง แอลจี HTC และอื่นๆ แม้ว่าจะเสี่ยงก็ยอมเมื่ออยากเป็น “เอกราชอธิปไตยทางการส่งออก” เมื่อสินค้าเดิมไม่เปลี่ยน และเป็นเพียงแค่ “ทุนนิยมบริวาร” ตาม “ห่วงโซ่การผลิต” นั้นก็ยากจะเปลี่ยนตลาดได้ ทำให้ความสามารถในการแข่งขันต่ำ เราไม่ส่งเสริม ... ขณะที่การตลาดสมัยใหม่นั้น “ตลาดออนไลน์” เราก็ตามไม่ทัน ปล่อยให้ อาลีบาบา มาครองตลาดออนไลน์ในไทยเรียบร้อย ตลาดดอทคอม ของคนไทย ไม่มีใครส่งเสริมและสนใจนอนตายสนิท
... “ประการที่ 4 สินค้าเรายังไม่มีการพัฒนา นวัตกรรมทันต่อพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป” ... โลกเปลี่ยนเป็นออนไลน์ แต่เราไม่มีโทรศัพท์สมาร์ทของเราเอง เราไม่มีการพัฒนาแอป หรือ ซอฟท์แวร์ อย่างเพียงพอ เราไม่มีรถยนต์ของตัวเอง เราไม่มีรถยนต์ไฟฟ้าของตัวเอง โรงงานเราไม่มีเอไอ ในสายการผลิตเพียงพอ ทำให้การควบคุมคุณภาพและปริมาณการผลิตได้น้อยกว่า
... “การเป็นทาสนายทุนพลังงาน คือประการต่อมา” หลังจากปี 2540 ที่เราถูกบีบให้ “แก้และเขียนกฏหมายขายชาติ 11 ฉบับ” เพื่อแลกกับการยืมเงินไอเอ็มเอฟ หนึ่งใน 11 นั้นคือการยินยอมให้ต่างชาติมาปล้นซื้อสินค้าทำเงินอย่างรัฐวิสาหกิจไทยชั้นดีในราคาเลหลัง ภายใต้คำสวยหรูว่า “แปรรูปรัฐวิสาหกิจ” ทำให้นับจากนั้นมา ต้นทุนการผลิตเรื่องพลังงานของเราไม่เคยต่ำเลย และในทางปฏิบัติแล้ว รัฐบาลไทยทุกสมัย ก็ไม่สามารถเข้ามาแทรกแซงได้เลย ไม่มีใครกล้า เพราะนายใหญ่ของพวกเขามีอำนาจปกคลุมไปทั่วโลก ถ้ากล้าหือ ก็อาจจะเจอกับการปลุกปั่นสงครามกลางเมือง สงครามศาสนา หรือ การประท้วงเรื่องเลือกตั้งธิปไตย ไฟไหม้ ระเบิดกลางสี่แยก หรือ สิทธิมนุษยชน ทำให้วุ่นวาย เพื่อจะเปลี่ยนรัฐบาลในประเทศที่กล้าขัดขืนกับเขา
... “ประการสุดท้าย เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยน” นับตั้งแต่เราถูกบีบให้เปิดเสรีทางการเงินแบบไม่พร้อม ภายใต้คำสวยหรูว่า "โลกาภิวัฒน์” นั้น การเงินเราไม่สามารถเป็นเอกราชเลย การเงินเราถูกโจมตีตลอดเวลา ตั้งแต่ BiBF ก่อนปี 2540 จนนำไปสู่การเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง ปี 2540 “ตลาดเงินตราระหว่างประเทศ” ที่อ้างว่าตั้งขึ้นเพื่อให้เอกชน นักธุรกิจ นักลงทุน หรือรัฐบาลของทั่วโลกมาดำเนินธุรกรรม กิจกรรมทางการค้า การลงทุนระหว่างกันนั้น แท้จริงแล้วมูลค่าที่เป็นการค้าขายจริง แค่ ร้อยละ 5 – 10 นอกจากนั้น เป็น “การเก็งกำไร” ที่ไม่มีมาตราการใดๆจากองค์กรการเงินระหว่างประเทศเข้ามาควบคุมอย่างเพียงพอ
... ยิ่งกว่านั้นเมื่อรัฐบาลประเทศไหนพยายามจะเข้ามาแทรกแซงเรื่องการไหลเข้าออกของตลาดเงิน ตลาดทุน กลับถูกมองและจับผิดว่า เป็นการเข้ามาแทรกแซงตลาด ไม่เปิดเสรีทางการเงินทั้งๆที่เป็นการทำเพื่อปกป้องตัวเอง และพาลจะหาเรื่องเอาได้ ดังนั้น อัตราแลกเปลี่ยนแม้ว่าจะสามารถซื้อขายล่วงหน้าได้ แต่ก็เกิดค่าใช้จ่ายและความไม่สะดวกขึ้น เป็นปัญหาของ “การไหลเวียนของการเงินนานาชาติ” หรือ International capital flow” ที่เป็นปัญหาหมักหมมมานานทั่วโลก และเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ตราบใดที่มหาอำนาจไม่นำหรือยินยอม
... เช่นในตอนนี้ การส่งออกเราต่ำ เศรษฐกิจโลกและของไทยเราปี 2562 นี้ก็ไม่ดี แต่เรากลับมี “ค่าเงินบาทที่แข็งมาก” เพียงเพราะนักลงทุนเห็นบ้านเราเป็นแค่หลุมหลบภัยชั้นดี, ที่ไม่ได้สะท้อนกลไกทางเศรษฐกิจจริงของชาติตามทฤษฎี จนทำให้กระทบกับการส่งออกและท่องเที่ยว การจะไปฉวยโอกาศซื้อเครื่องจักรในตอนที่บาทแข็งหรือลงทุนในต่างประเทศก็ติดที่เราเป็นแค่ “ทุนนิยมบริวาร” หรือ “ห่วงโซ่การผลิต” ของนายทุนใหญ่ข้ามชาติ เราไม่มีอำนาจในการกำหนดนโยบายเพียงพอ ได้แต่เดินตามก้นต้อยๆ จนได้แต่มองตาปริบปริบและสุดท้ายก็ต้องลดดอกเบี้ยลงเรื่อยๆ ได้อย่างเดียว ทำอย่างอื่นมหาอำนาจ หรือ ไอเอ็มเอฟ ก็จับตาอยู่ ( จนดูเหมือนว่าเขาจะเอาเงินบาทแข็งเพื่อทำลายเศรษฐกิจของไทย แบบญี่ปุ่นโดนมาแล้วช่วงสัญญาแอคคอร์ด )
... ในปีหน้า 2563 หรือ 2020 นี้ รัฐบาลทั่วโลกรวมทั้งไทย คาดว่าเศรษฐกิจไทยเรายังจะแย่สืบต่อไป ทั้งจากปัจจัยภายนอก ที่เศรษฐกิจโลกก็ย่ำแย่ ทั้งสงครามการค้า และเงินบาทแข็ง “การส่งออกไทยยังจะย่ำแย่ต่อไป” ที่แม้รัฐบาลจะออกมาตรการลดดอกเบี้ยแต่ก็กว่าจะมีผลเงินไหลสู่ภาคผลิต ภาคบริโภคจริง ก็ต้องใช้เวลามากกว่าครึ่งปี และแม้จะมีมาตรการ "ชิม ช็อป ใช้” และรณรงค์การท่องเที่ยวในประเทศตามสื่อต่างๆเพื่อทดแทนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะน้อยลงในปีหน้าที่บ้านเขาก็ย่ำแย่ แถมเงินบาทเราแข็งมาก ที่ก็เป็นสิ่งที่ดีเพื่อกระตุ้นการผลิตของผู้ผลิตในประเทศและบริโภคภายในประเทศ แต่ก็ยังไม่ได้ผลที่ดีนัก ยังไม่มีการเคลื่อนไหวเงินหรือเกิดการบริโภคภายในประเทศอย่างเพียงพอ ... ขณะที่ระยะยาวนั้นเราก็พยายามพัฒนาการผลิตแบบ 4.0 แต่กว่าจะถึงตอนนั้นอาจจะช้าเกินไป
... “ถึงเวลาแล้วที่เราต้องสร้างกระดูกสันหลังของการส่งออกของเราเอง ... นิยมสินค้าของเราเองในปี 2563 นี้ ... ช่วยกันช่วยอุดหนุนสินค้าไทยและท่องเที่ยวไทยมากขึ้น คือทางออกในปีหน้า 2563 นี้ ”
Cr.Jeerachart Jongsomchai
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you