... โดนัลด์ ทรัมป์บอกว่าอยากซื้อเกาะกรีนแลนด์ เมื่อ18 สิงหาคมที่ผ่านมา แต่ 20 สิงหาคม ก็ถูกนายกรัฐมนตรีเมตเตอ เฟรเดอริกเซน ของเดนมาร์ก ปฏิเสธไป โดยนางบอกว่า "เป็นเรื่องไร้สาระ" จนทำให้ทรัมป์โกรธและงดการเดินทางเยือนเดนมาร์กไป
เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่อยู่ภายใต้การดูแลของประเทศเดนมาร์ก
... “แลร์รี คุดโลว์” ที่ปรึกษาทำเนียบขาวยอมรับว่า “เกาะกรีนแลนด์” เป็นดินแดนยุทธศาสตร์ที่สำคัญและอุดมไปด้วยแร่มีค่ามากมาย รวมทั้งแร่ "แรเอิร์ท" ที่หายากและใช้ในอุตสาหกรรมไอทีมากมายหลายสาขา
... ย้อนไปเมื่อ ปี 1946 ประธานาธิบดีแฮรรี่ ทรูแมน ของอเมริกาก็เคยอยากเสนอซื้อเกาะนี้มาก่อนแล้ว ในราคา 100 ล้านดอลล่าร์ รวมทั้งไอเดียบรรเจิด จะแลกอลาสก้ากับเกาะกรีนแลนด์ แต่ถูกปฏิเสธไป และครั้งนี้ในสมัยทรัมป์ปี 2019 ก็เช่นกัน ถูกปฏิเสธไป จนทรัมป์ต้องยกเลิกการเยือนเดนมาร์กออกไป โดยกระแสของเดนมาร์กบอกว่า พวกเขาอยากเปิดเกาะนี้สำหรับการมาทำธุรกิจ แต่ไม่ใช่การขายประเทศ
... จริงๆแล้วนโยบายภายในของเกาะนั้น "เกาะกรีนแลนด์" มีการออกนโยบายสำหรับปกครองตัวเอง แต่ในด้านการทหารและการต่างประเทศจะเดินตามอำนาจจากโคเปนเฮเก้นของเดนมาร์ก
... ในสมัยช่วงศตวรรษที่ 10 - 11 ได้มีพวก "ไวกิง" จากแถบสแกนดิเนเวียอพยพถิ่นอาศัย จนกลายเป็น "เมืองขึ้น" ของเดนมาร์ก ต่อมา กรีนแลนด์ได้รับสิทธิปกครองตนเองจากเดนมาร์กเมื่อปี 1979 โดยมีอำนาจปกครองตนเองในทุกทุกด้านยกเว้นด้านการต่างประเทศและการทหาร เช่นเดียวกับหมู่เกาะแฟโร ก็ขึ้นกับเดนมาร์ก เช่นกัน
... 25 พฤษภาคม 2009 เคยมีความพยายามกระตุ้นสร้างกระแสประชามติ ให้เกาะกรีนแลนด์แยกตัวออกจากอำนาจของเดนมาร์กโดยสมบูรณ์ โดยมีเนื้อหาว่าเกาะจะต้อง "มีสิทธิและเสรีภาพเต็ม พ้นจากประเทศเดนมาร์ก โดยสามารถขยายอำนาจการปกครองไปยังพื้นที่ใหม่ ๆ และสามารถบริหารแหล่งทรัพยากรธรรมชาติใต้ท้องทะเลได้เอง ซึ่งคาดว่ามีน้ำมัน แร่ธาตุและก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก รวมถึงดูแลความรับผิดชอบด้านความยุติธรรม หน้าที่ของตำรวจและกิจการต่างประเทศ แต่ไม่มีสิทธิในการทหาร"
... สำหรับคนทั่วไปความคิดที่แปลกประหลาดของทรัมป์ในการซื้อเกาะที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็งดูเหมือนเป็นเรื่องตลก หลายคนสงสัยว่าเหตุใดทรัมป์จึงเสนอให้ซื้อดินแดนของอธิปไตย สิ่งหนึ่งที่คาดเดาได้ก็คือ "เกาะกรีนแลนด์มีทรัพยากรธรรมชาติมากมายรวมถึงแร่แรเอิร์ท" ด้วย โดยบริษัท Shenghe Resources Holdings ของ"จีน" ได้มีส่วนร่วมในโครงการขุดแร่หายากนี้ในกรีนแลนด์เรียบร้อยแล้ว โดยการเข้าถือหุ้นร้อยละ 11ใน บริษัทของ “ออสเตรเลีย” ชื่อว่า "กรีนแลนด์มิเนอรัล” นอกจากเกาะกรีนแลนด์แล้ว “จีน” ยังมองไปที่การลงทุนในประเทศเกาะอย่าง “ไอซ์แลนด์” ด้วยเช่นกัน
... ดังนั้นแม้ว่าทรัมป์จะทำเหมือนล้อเล่น แต่ความจริงนั้นก็เปิดเผยถึง “ความกังวลของเขา” เกี่ยวกับการดูแลครอบครองการค้าของจีนในการผลิตโลหะหายากชนิดนี้ในโลก ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชั้นสูง เช่น สมาร์ทโฟน หน่วยความจำในคอมพิวเตอร์ แบตเตอรรี่ในอนาคต แม่เหล็กที่ใช้ในหลายส่วน และองค์ประกอบของรถยนต์ไฟฟ้า ที่ล้วนเป็นคำตอบของ “แกนหลักของสังคมแห่งอนาคต” ทั้งสิ้น
... ในปี 2003 มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเก้นของเดนมาร์ก เคยเปิดเผยข้อมูลว่า “จีน” พยายามจะครองความเป็นเจ้าในตลาดของแร่แรเอิร์ธนี้ของโลก และในปีนั้นเองที่อดีตประธานาธิบดีโอบาม่าของอเมริกา ได้ประกาศทันทีให้มีการกักตุนแร่ชนิดนี้ รวมทั้งเร่งเปิดเหมืองนี้ ที่เคยถูกปิดให้เดินหน้าขุดหาอีกครั้ง
... ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของ “สงครามการค้าระหว่างจีนกับอเมริกา” แร่แรเอิร์ท นี้เองที่ถูกมองว่าเป็น “อาวุธหนัก” ในการเป็นมาตรการตอบโต้ของจีนที่ตอบโต้รัฐบาลอเมริกา ที่มีความกังวลในวงจรการทำธุรกิจนี้ เพราะท้ายที่สุดแล้วจีนเป็นผู้ผลิตและส่งออกแร่หายากนี้ รายใหญ่ที่สุดของโลกและในปี 2014 ถึงปี 2017 จีนส่งออกแร่ธาตุหายากนี้ประมาณร้อยละ 80 ของที่อเมริกานำเข้าประเทศ
... โดยในยกที่สอง สาม ของสงครามการค้าระหว่างสองชาตินั้น “อเมริกา” จึงพยายามจะครอบครองแร่แรเอิร์ธ นี้ให้ได้ รวมทั้งพยายามจะสกัดการเข้าถึงและครอบครองแร่ชนิดนี้จากจีนจากแหล่งทั่วโลกด้วยเช่นกัน
... นอกจากนั้นแล้ว เกาะนี้ ยังเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของ “เส้นทางคมนาคมขนส่งด้านเหนือ” ใหม่ที่สำคัญมากของ “รัสเซีย” ในการที่จะเดินทางขนน้ำมันและสินค้ามาค้าขายกับเอเชียตะวันออก จากเดิมต้องผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อ้อมทะเลแดง ที่ใกล้ซาอุดิอาระเบีย เพื่อนอเมริกา ผ่าน เยเมน อ้อมช่องแคบมะละกา ผ่านทะเลจีนได้ ที่อเมริกาตั้งด่านสกัดรอมานานแล้ว และ “จีน” เองก็มองว่าดินแดนขั้วโลกเหนือและ อาร์กติกจะเป็นดินแดนยุทธศาสตร์ที่สำคัญของโลกและของตนในเร็ววันนี้
... “รัสเซีย” ที่เป็นสมาชิกของสภาประเทศรอบมหาสมุทรอาร์กติก ที่มีสมาชิก 8 ประเทศ เช่น รัสเซีย อเมริกา เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ไอซ์แลนด์ แคนาดา นั้น ก็ต้องการที่จะขยายอิทธิพลทางการทหารมาที่เกาะกรีนแลนด์ด้วยเช่นกัน ตามเหตุผลด้านการสัญจรเส้นทางใหม่ด้านเหนือ ที่ซึ่ง “อเมริกา” เองนั้นก็มีฐานทัพอากาศธูเล่ Thule ในทิศเหนือของเกาะกรีนแลนด์มานานแล้ว ตั้งแต่ปี 1943 ( น่าสงสัยที่ในเดือนสิงหาคม ปี 2019 ที่ไทยจะให้เอกซอนโมบิลของอเมริกามาสร้างเกาะเทียม ด้วยเช่นกัน ว่าจะเกี่ยวกับฐานทัพทางทหารหรือไม่? )
... ดังนั้น “เกาะกรีนแลนด์” ที่เป็นส่วนหนึ่งของ “ทางสายไหมใหม่ส่วนต่อขยายอาร์กติก” จึงสำคัญทั้งเป็นแหล่งแร่ธาตุและเป็นจุดแวะพักที่สำคัญของการเส้นทางการค้าทางทะเลด้านขั้วโลกเหนือด้วย
.
… For the general public, the president's bizarre idea of buying an ice-covered island seems like a joke. Many are wondering why Trump suddenly proposed buying a sovereign nation's territory. One guess is that Greenland is abundant in natural resources, including some of the largest deposits of rare earths. A Chinese company has already been engaged in a rare-earth mining project in Greenland by acquiring a stake in an Australian company called Greenland Minerals.
… Arctic Council, which also includes Canada, the Kingdom of Denmark (including Greenland and the Faroe Islands), Finland, Iceland, Norway, Sweden and the United States.
Cr.Jeerachart Jongsomchai
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you