... “นางเจียงชิง” นักการเมืองหญิงแก้มอ้วนที่คิดว่าตัวเองหัวก้าวหน้าฉลาดกว่าใครในแผ่นดิน เป็นหนึ่งในสมาชิกของ “แก๊งสี่คน” ที่ทำให้ประเทศจีนเกิดบาดแผลลึกและถอยหลังเข้าคลอง
... “เจียง ชิง” เกิดเมื่อ 19 มีนาคม 1914 และเสียชีวิตเมื่อ 14 พฤษภาคม 1991 เดิมทีเป็นนักแสดงหญิง ใช้ชื่อในการแสดงว่า หลาน ผิง มีบทบาทสำคัญทางการเมืองในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมระหว่าง 1966–1976 ฐานะที่เป็นภริยาคนที่สี่ของเหมา เจ๋อตง ผู้เป็นประธานกรรมการกลางพรรคสังคมนิยมจีน และผู้นำสูงสุด ของประเทศจีน
... เธอออกจากอาชีพนักแสดงเมื่อ 1938 ในวัย 24 ปี เพื่อสมรสกับเหมาเจ๋อตง ในเดือนพฤศจิกายน ปีนั้น จึงได้เป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งคนแรกของประเทศ เธอมีบทบาทสำคัญมากในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม และในการสร้างพันธมิตรทางการเมืองหัวรุนแรงที่เรียกว่า "กลุ่มสี่คน" หรือ "แก๊งออฟโฟร์" (Gang of Four)
... เมื่อสมรสกับเหมา เจ๋อตง แล้ว ช่วงแรกเธอทำหน้าที่เป็นเลขานุการส่วนของเขาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 และเป็น “หัวหน้ากองภาพยนตร์ในกรมประชาสัมพันธ์” ของพรรคสังคมนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 ( นางจึงเก่งเรื่องการโฆษณาชวนเชื่อ ) เธอยังเป็นตัวแทนคนสำคัญของเหมา เจ๋อตง ในช่วงต้น “ปฏิวัติวัฒนธรรม” ต่อมาใน 1966 เธอได้เป็นรองหัวหน้ากลุ่มปฏิวัติวัฒนธรรมส่วนกลาง ของพรรคสังคมนิยม แล้วร่วมมือกับ "นายพลหลิน เปียว" ส่งเสริมคตินิยมของเหมา เจ๋อตง และช่วยกันโหมประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับบารมีของเหมา เจ๋อตง ( เหมือนอาจารย์มหาวิทยาลัยบางแห่ง อวยอาจารย์เก่าแก่เป็นรัฐบุรุษที่ยิ่งใหญ่ ) เธอมีอิทธิพลมากในวงราชการช่วงที่การปฏิวัติวัฒนธรรมมาถึงขีดสุด โดยเฉพาะในด้านศิลปวัฒนธรรมใหม่ของคอมมิวนิสต์
... “การปฏิวัติทางวัฒนธรรมใหญ่ของกรรมาชีพ” ( Great Proletarian Cultural Revolution) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า “การปฏิวัติวัฒนธรรม” ( Cultural Revolution) เป็นขบวนการทางสังคม-การเมืองซึ่งเกิดขึ้นในจีนใหญ่ตั้งแต่ปี 1966 ถึง 1976โดย “เหมาเจ๋อตง” ซึ่งขณะนั้นเป็นประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน คือ เพื่อบังคับใช้ลัทธิคอมมิวนิสต์ในประเทศ “โดยการขจัดองค์ประกอบที่เป็นทุนนิยม ประเพณีและวัฒนธรรมจีน” ออกจาก “วัฒนธรรมคอมมิวนิสต์” และเพื่อกำหนดแนวทางแบบใหม่โดยเหมาภายในพรรค การปฏิวัติดังกล่าวส่งผลให้เหมาเจ๋อตงกลับมามีอำนาจอีกครั้งหลัง “การก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้า” หรือ Great Leap Forward ระหว่างปี 1958 – 1962 ที่ล้มเหลวมาก่อนหน้า ( เหมาเจ๋อตุง นั้น หลังจากชนะสงครามการทหารต่อเจียงไคเช็คอย่างยิ่งใหญ่ในปี 1949 แล้ว แต่บทบาท “การบริหารประเทศจีนยามสงบ” ไม่เคยสำเร็จแบบยิ่งใหญ่เลย รัฐบาลประเทศในย่านอาเซี่ยนต้องลองดูตัวเองเช่นกัน )
... “การปฏิวัติวัฒนธรรม” เริ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม 1966 “เหมาเจ๋อตุง” อ้างว่ากระฎุมพีกำลังแทรกซึมรัฐบาลและสังคมอย่างไม่มีขอบเขต โดยมีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูทุนนิยม เขายืนกรานให้ขจัด "ลัทธิแก้" (revisionist) เหล่านี้ผ่านการต่อสู้ของชนชั้นอย่างรุนแรง “เยาวชนจีน” สนองตอบการเรียกร้องของเหมาโดยตั้ง “กลุ่มเรดการ์ด” ขึ้นทั่วประเทศ ขบวนการดังกล่าวแพร่ไปสู่ทหาร กรรมกรในเมือง และผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์เอง
… ต้นทศวรรษ 1960 “เรื่องเริ่มจากเกิดเกมการเมืองภายในพรรคคอมมิวนิสต์จีน” ฐานะของ “เหมาเจ๋อตุง” ในพรรคคอมมิวนิสต์ถูกลดบทบาทลง เขาจึงได้เริ่มรุกกลับในปี 1962 เพื่อ “ปกป้องพรรค” จากในสิ่งที่เขาเชื่อว่าการคืบคลานเข้ามาของ “ทุนนิยม” และการต่อต้านสังคมนิยมกำลังเป็นภัยต่อประเทศ ในฐานะนักปฏิวัติที่ผ่านร้อนผ่านหนาวจากสถานการณ์อันเลวร้าย เหมาเชื่อว่า “ระบบการให้รางวัลแก่ชาวนา” ตามแนวทางปรับปรุงและฟื้นฟูของ “เติ้งเสี่ยวผิง” กระทำลงไปเป็นวิธีการฉ้อราษฏร์บังหลวงและต่อต้านการปฏิวัติ
... โดยคำขวัญของเหมาเจ๋อตุงและแก๊งสี่คนในการล้างสมองคนในประเทศ โดยเฉพาะเด็กเยาวชนคือ “โค่นล้มพวกลัทธิทุนนิยม และวิพากษ์ศิลปวัฒนธรรมที่แบ่งแยกชนชั้น”
... การต่อสู้ทางความคิดในพรรคนำไปสู่การกวาดล้างพวกที่ถูกเรียกว่า “พวกปฏิปักษ์ปฏิวัติ” หรือฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดสุดโต่งของเหมา ซึ่งมีตัวแทนคือ “หลิวส้าวฉี กับเติ้งเสี่ยวผิง” เหมากล่าวว่า “ขณะนี้ เพียงมีเนื้อหมูสามกิโลกับบุหรี่ไม่กี่ซอง ก็สามารถทำให้คนขายอุดมการณ์ได้แล้ว จึงมีเพียงการศึกษาแนวทางลัทธิสังคมนิยมเท่านั้น ที่จะยับยั้งลัทธิแก้ได้”
... โดยต่อมาการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นไปอย่างแพร่หลาย ผู้นำสังคมในยุคนั้นปลูกฝังประชาชนให้ให้ยึดมั่นอย่างเคร่งครัด ใครไม่ปฏิบัติตามจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง โดยมีหน่วยงานสนับสนุนที่สำคัญ คือ “พวกกองทัพพิทักษ์แดง” ( เรดการ์ด Red Guard) หรือก็คือ “เยาวชนที่ผลิตโดยคอมมูนผ่านการเลี้ยงดูและล้างสมอง” นั่นเอง... ( ในไทยเราปี 2562 นี้ ก็มี กองทัพแดงของพรรคการเมืองอายุน้อยพวกหนึ่งกำลังเฟื่องฟูตามรอยการปฏิวัติวัฒนธรรมอันล้าสมัยของเหมาเช่นกัน ... ไม่เอาการไหว้ผู้อาวุโส ไม่เอาไ่หว้ครู ไม่เอาร้องเพลงชาติ ไม่เอาศาสนา ใครไม่เห็นด้วยตามไปโจมตีเพจ ในสงครามไซเบอร์ )
... นอกจาก “การหลอกใช้เยาวชนเรดการ์ด” แล้ว กลุ่มนี้ยังหลอกใช้ ทหารด้วย โดยได้การร่วมมืออย่างดีจาก “นายพลหลินเปียว”
... การปฏิวัติส่งผลให้ “เกิดการแตกแยกและต่อสู้” กว้างขวางในทุกย่างก้าวของชีวิตคนจีน และในหมู่ผู้นำระดับสูง การปฏิวัตินำไปสู่ “การกวาดล้าง” ข้าราชการอาวุโสที่ถูกกล่าวหาว่าเดิน "ถนนทุนนิยม" คือ ประธานาธิบดีหลิวส้าวฉีและเติ้งเสี่ยวผิง พร้อมด้วยจอมพล หลิวป๋อเฉิง จอมพล เฉินอี้ จอมพล เย่เจี้ยนอิงและจอมพล เผิงเต๋อฮว้าย ... ( แนวความคิดนี้แพร่ขยายไปสู่เขมรแดง รัฐบริวารของจีนในกัมพูชาด้วยในตอนหลัง ทำให้เขมรแดงกวาดล้างชนชั้นกระฎุมพีทั้งเชื้อสายจีนและเวียตนามมากมาย )
... ในเวลาเดียวกัน “ลัทธิมากซ์” ของประธานเหมา เติบโตขึ้นเป็นอันมาก “กลุ่มกรรมกร” ใช้สัญลักษณ์ค้อนกดขี่ข่มเหง “ชาวนาและกลุ่มเกษตรกรรมอื่นๆ” เกิดการแตกแยก รอยร้าว การต่อสู้ฆ่ากันเองมากมายในหมู่คนจีน
… “ผลของการปฏิวัติวัฒนธรรม”
... คือ สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่แสดงถึงวัฒนธรรมของจีนมาตั้งแต่โบราณต้องถูกทำลาย เช่น โครงกระดูกมนุษย์โบราณ หลุมฝังศพ ป้ายวิญญาณบรรพบุรุษ หนังสือที่เขียนขึ้นไม่ใช่ลัทธิของประธานเหมา เครื่องดนตรีโบราณ ศาสนสถาน พระราชวัง กำแพงเมืองจีน รูปปั้นบุคคลที่ประกอบคุณงามความดี งานศิลปะอันประมาณค่ามิได้ต่าง ๆ และทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจกันระหว่างครอบครัว เพื่อนบ้าน เพราะไม่สามารถรู้ได้ว่าใครจะเป็นผู้แจ้งให้ทางการรู้เกี่ยวกับละเมิดกฎการปฏิวัติวัฒนธรรม
... ประชากรจีนจำนวนหลายล้านคนถูกเบียดเบียนเอาเปรียบข่มเหง ในการต่อสู้อย่างรุนแรง ระหว่างกลุ่มลัทธิแก้ และกลุ่มปลดปล่อยประชาชน ซึ่งเกิดขึ้นทั่วประเทศ อันทำให้เกิดการละเมิดหลายรูปแบบ รวมถึง “การประจานคนอื่นที่เห็นและปฏิบัติต่างกับพวกตนในที่สาธารณะ การกักขังตามชาวบ้านตามอำเภอใจ การทรมาน การก่อกวนอยู่เนือง ๆ และการยึดทรัพย์สินของชาวบ้าน” หลายภาคส่วนถูกบังคับให้ย้ายถิ่นฐาน “ส่วนวัตถุมงคลและสิ่งประดิษฐ์ทางประวัติศาสตร์จีนถูกทำลาย สถานที่ทางวัฒนธรรมและศาสนาถูกปล้นพร้อมกับทำให้เสียหาย” แม้แต่พระสงฆ์ แม่ชีและนักบวชก็ไม่เว้น พวกที่มีญาติอยู่ต่างประเทศก็โดนข้อหา “มีความสัมพันธ์กับต่างประเทศ” หลายคนทนรับเหตุการณ์ไม่ได้ก็ถูกทรมานให้ฆ่าตัวตาย
… หลายแห่งประชาชนเดือดร้อนหนัก จนถึงขั้นได้นำไปสู่การพยายามแยกตัวออกจากการปกครองของจีน เช่นในเขตของชาวมุสลิมและชนกลุ่มน้อยในหลายส่วน เช่น Shadian Town, Gejiu , Honghe Hani และ Yi , Yunnan
... ในส่วนของผู้นำในพรรคคอมมิวนิสต์เองก็ใช่ว่าจะได้รับการยกเว้น “เติ้งเสี่ยวผิง กับหลิวส้าวฉี” (ตอนหลังตายในที่คุมขัง) ถูกปลด จอมพล เผิงเต๋อหวาย กับเฮ่อหลง ถูกทรมานจนเสียชีวิตแล้ว ต่อมาวันที่ 22 สิงหาคม 1966ประธานเหมา ประกาศ “ห้ามตำรวจขัดขวางขบวนการเคลื่อนไหวปฏิวัติของนิสิตนักศึกษา” และ “อ้างถึงพลังบริสุทธิ์ของวัยหนุ่มสาว” ในช่วงเวลาดังกล่าวเรียกว่า “แดงสยอง” เฉพาะในปักกิ่ง มีคนถูกฆ่าตายถึง 1,700 คน และทั่วประเทศมีคนถูกบีบบังคับทรมานทางจิตใจอย่างรุนแรงให้ฆ่าตัวตายเอง เพื่อพ้นจากความเจ็บปวดถึง 2 แสนคน จากนั้นวันที่ 5 กันยายน ทางพรรคคอมมิวนิสต์ประกาศสนับสนุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับนักศึกษาและอาจารย์สถาบันการศึกษาที่จะเข้ามาเคลื่อนไหวในปักกิ่ง โดย นายกรัฐมนตรี โจวเอินไหล กระทั่งวันที่ 9 ตุลาคม หลินเปียวกล่าวหา เติ้งเสี่ยวผิง กับ หลิวส้าวฉี เป็นตัวแทนของทุนนิยม ... ( การล้างสมองและหลอกใช้นักเรียนนักศึกษา เยาวชนคนอายุน้อยที่ไฟร้อนแรง “เรดการ์ด” มาเป็นเครื่องมือให้เหมาเจ๋อตุง และ แก๊งสี่คนกลับมามีอำนาจในพรรคคอมมิวนิสต์อีกครั้ง )
... ( ศาสนาพุทธ อิสลาม ต่างก็เดือดร้อนจากเรื่องนี้ จากแนวคิดนโยบายของคนที่คิดว่าตัวเองหัวก้าวหน้า ฉลาดกว่าคนอื่น ในไทยเราก็มี ไม่เอาการร้องเพลงชาติ ไม่เอาการไหว้ครู ไม่เอาประเพณีเก่าแก่ของประเทศ เรื่องเหล่านี้ ไม่ได้เพิ่งมีกับ “นักการเมืองอายุน้อย” พรรคอนาคตไหม้ ของไทย แต่มีมานานแล้ว )
... จนตอนหลังอำนาจของเรื่องนี้ไปอยู่ในมือของ “แก๊งสี่คน” หมดแบบเบ็ดเสร็จ แต่นโยบายของพวกเขาก็ไม่เคยสำเร็จ ถูกต่อต้านและเกิดสงครามกลางเมือง การขัดแย้งไปทั่วประเทศ สุดท้าย ประธานเหมาก็ประกาศให้ “การปฏิวัติทางวัฒนธรรมสิ้นสุดลง” อย่างเป็นทางการในปี 1969 แต่ยังมีผลดำเนินไปกระทั่ง หลินเปียว ตายในปี 1971, หลังเหมาถึงแก่อสัญกรรมในปี 1976 ไม่มีใครเอาบารมีมาคุ้มหัว จึงมีการจับกุมแก๊งออฟโฟร์ในปี 1976 ทำให้คณะปฏิรูปการปกครอง นำโดย “เติ้งเสี่ยวผิง” ยุติการปฏิวัติของเหมาที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติทางวัฒนธรรมอย่างเด็ดขาด ( เหมาเจ๋อตุง ล้มเหลวในการบริหารประเทศในยามสงบอีกครั้ง )
... ก่อน “เหมา เจ๋อตง” เสียชีวิตใน 1976 “แก๊งสี่คน” ของ “นางเจียงชิง” มีอำนาจมาก ควบคุมสถาบันการเมืองหลายแห่งของจีน รวมถึงหน่วยงานสื่อและประชาสัมพันธ์ แต่เธอมักผิดใจกับผู้บริหารระดับสูงของพรรคสังคมนิยมเวลาที่อ้างว่าตนเองได้รับความชอบธรรมทางการเมืองในฐานะภริยาของเหมา เจ๋อตง ครั้นเหมา เจ๋อตง สิ้นใจแล้ว ความรุ่งเรืองทางการเมืองของเธอก็สิ้นสุดตามไปด้วย ผู้สืบทอดตำแหน่งของเหมา เจ๋อตง คือ "หฺวา กั๋วเฟิง" สั่งจับกุมเธอไปไต่สวนเหตุที่สร้างความเสื่อมเสียมากมายแก่ประเทศอันเนื่องมาจาก “การปฏิวัติวัฒนธรรม” เดิมที เธอถูกพิพากษาประหารชีวิต แต่มีการลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิตใน 1983 และเมื่อเธอได้รับการปล่อยออกจากคุกไปรักษาพยาบาล เธอก็แขวนคอตายในห้องน้ำของโรงพยาบาลเมื่อเดือนพฤษภาคม 1991
... และเรื่องราวการ “การปฏิวัติวัฒนธรรมจีน” นั้น ได้ให้บทเรียนราคาแพงแก่คนจีนและชาวโลกว่า “อย่าคิดว่าตัวเองฉลาดกว่าคนอื่น อย่าคิดว่าวิธีการของกลุ่มตัวเองดีเลิศกว่าคนอื่น จนไม่ฟังคนอื่น ไม่ศึกษาอดีตให้รอบคอบก่อนการกระทำอะไร จนพาให้ประเทศเกิดกลียุค สังคมแตกแยก เกิดการรบราฆ่าฟันไปทั่วประเทศ บ้านเมืองหยุดการพัฒนาเจริญเติบโต และเป็นบาดแผลลึกของประวัติศาสตร์ของชาติ”
Cr.Jeerachart Jongsomchai
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you