... “โครงการโฮปเวลล์” หรือ “โครงการระบบการขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพมหานคร” หรือ Bangkok Elevated Road and Train System - BERTS) เป็น “โครงการก่อสร้าง ถนน , ทางรถไฟ และรถไฟฟ้ายกระดับ บนพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย”
ดำเนินการโดยบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) ในเครือโฮปเวลล์โฮลดิงส์ บริษัทสัญชาติฮ่องกง ของนายกอร์ดอน วู
... โครงการก่อสร้างประกอบด้วย
โครงสร้างยกระดับทางรถไฟขึ้นไปเหนือผิวการจราจร ... เพื่อลดจุดตัดกับทางรถยนต์ (Grade Crossing) เพื่อลดปัญหาการให้รถยนต์ต้องหยุดรอรถไฟ ก่อสร้างคร่อมทางรถไฟที่มีอยู่ในปัจจุบัน ระยะทางทั้งสิ้น 60.1 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 80,000 ล้านบาท และให้ผลตอบแทนรายปี 30 ปี รวม 53,810 ล้านบาท
... โดยโฮปเวลล์จะได้รับสิทธิสร้างถนนยกระดับ เรียกเก็บค่าผ่านทาง คู่ขนานกับทางรถไฟยกระดับ และได้รับสัมปทานเดินรถบนทางรถไฟยกระดับด้วย และสามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่ใต้ทางรถไฟยกระดับ และอสังหาริมทรัพย์สองข้างทาง คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 600 ไร่
... โครงการโฮปเวลล์เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาล “พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ” โดยมีการเปิดประมูลสัมปทานก่อสร้างทางยกระดับ เพื่อแก้ปัญหาการจราจร โดยผู้รับสัมปทานจะมีรายได้จากค่าโดยสารรถไฟฟ้า ค่าผ่านทาง และรายได้จากอสังหาริมทรัพย์ตลอดเส้นทาง ผลการประมูล บริษัทโฮปเวลล์โฮลดิงส์ ของนายกอร์ดอน วู เป็นผู้ชนะเหนือคู่แข่งคือ บริษัทลาวาลิน (SNC-Lavalin) จากแคนาดา มีการลงนามในสัญญาโดย “นายมนตรี พงษ์พานิช” อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จากพรรคกิจสังคม กับบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 [2] อายุของสัมปทาน 30 ปี มีกำหนดตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2534 – 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ในระยะแรกใช้ชื่อโครงการว่า Railways Mass Transit (Community Train) and Urban Free System (RAMTUFS)
... แผนงานการก่อสร้าง แบ่งเป็น 5 ระยะ ระยะทางรวมทั้งสิ้น 60.1 กิโลเมตร
... “ปัญหาในการส่งมอบพื้นที่บริเวณริมทางรถไฟ”
... การก่อสร้างโครงการโฮปเวลล์ เป็นไปอย่างล่าช้า เนื่องจากประสบ “ปัญหาในการส่งมอบพื้นที่บริเวณริมทางรถไฟ” ประกอบกับเศรษฐกิจของไทยไม่เติบโตเท่าที่ควร เหมือนในช่วงแรกของรัฐบาลชาติชาย ทำให้แนวโน้มการลงทุนธุรกิจในอสังหาริมทรัพย์ซบเซาลง ปัญหาเรื่องจุดตัดกับโครงการถนนยกระดับวิภาวดีรังสิต (ดอนเมืองโทลล์เวย์) และ “การก่อสร้างล่าช้า” จนอัตราคืบหน้าของงานไม่เป็นไปตามสัญญาที่ทำไว้กับรัฐบาล
... ภายหลัง “รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534” รัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ได้เข้ามาตรวจสอบสัญญาสัมปทานทั้งหมดที่มีเงื่อนไขการผูกขาด โครงการโฮปเวลล์ ก็เป็นโครงการหนึ่งที่ถูกตรวจสอบโดยนายนุกูล ประจวบเหมาะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น และได้ “ประกาศล้มโครงการโฮปเวลล์” ( ประกาศยกเลิก ล้มโครงการ ครั้งที่ 1 ) พร้อมกับโครงการรถไฟฟ้าลาวาลินและ “จัดตั้งองค์การรถไฟฟ้ามหานคร ขึ้นมาดำเนินการแทน เมื่อ พ.ศ. 2535”
... ในรัฐบาลชวน หลีกภัย สมัยที่ 1 “โครงการโฮปเวลล์ได้รับการผลักดันต่อ” ( กลับมารื้อฟื้นโครงการอีก สร้างครั้งที่ 2 ) โดยพันเอกวินัย สมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แต่ยังประสบปัญหาสำคัญ 2 ประการ คือ “ปัญหาเรื่องเงินทุน” แหล่งเงินกู้ หลักทรัพย์ค้ำประกันสัญญา และ “ปัญหาเรื่องแบบก่อสร้าง” ระยะห่างระหว่างรางรถไฟ กับไหล่ทางมีน้อยเกินไปเพราะข้อจำกัดของพื้นที่ และไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัยสากล
... อย่างไรก็ตามประเด็นหลัก ที่โครงการไม่สามารถถูกดำเนินการไปต่อได้ เนื่องมาจาก “การที่ไม่มีการระบุไว้ในสัญญาว่าโครงการจะต้องแล้วเสร็จเมื่อใด” เป็นผลให้บริษัทโฮปเวลล์ มีสิทธิ์อันชอบธรรมที่จะไม่ทำโครงการให้แล้วเสร็จ
... ( ประหลาดมาก ใครเป็นฝ่ายกฎหมายที่ตรวจสอบรายละเอียดสัญญา ปล่อยสัญญาก่อสร้างที่ไม่มีระบุเวลาการก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อไหร่ ได้อย่างไร มีอะไรอยู่เบื้องหลังหรือไม่ แบบนี้ผู้รับจ้าง รับเหมาได้เปรียบอย่างมาก ไม่ระบุเวลาแล้วเสร็จในสัญญาตั้งแต่สมัยมนตรี พงษ์พานิช )
... ต่อมาใน “รัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ” ได้มีมติคณะรัฐมนตรี ( ไม่ใช่มาจากมติในสภาผู้แทนราษฎร ) เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ให้ความเห็นชอบ “บอกเลิกสัญญากับโฮปเวลล์” ( ประกาศยกเลิก ล้มโครงการ ครั้งที่ 2 ) หลังจากบริษัทโฮปเวลล์หยุดการก่อสร้างอย่างสิ้นเชิง ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2540 ( น่าสังเกตว่า ปี 1997 วิกฤติเศรษฐกิจเอเชีย ต้มยำกุ้ง ... การบอกยกเลิกแบบนี้ ทำให้ผู้รับเหมาได้เปรียบมาก เพราะจริงๆ ตอนนั้นทั่วโลกประสบปัญหาการเงิน ทางรัฐบาลสามารถเอาส่วนนี้มาเอาเป็นข้อได้เปรียบได้ )
… โครงการการก่อสร้างโครงการโฮปเวลล์ สิ้นสุดลงในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย สมัยที่ 2 หลังดำเนินการก่อสร้างเป็นเวลา 7 ปี มีความคืบหน้าเพียง 13.77 % ขณะที่แผนงานกำหนดว่าควรจะมีความคืบหน้า 89.75% กระทรวงคมนาคมได้บอกเลิกสัญญาสัมปทานอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2541 โดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วย ( ประกาศยกเลิก ล้มโครงการ ครั้งที่ 3 )
... ภายหลังจากบอกเลิกสัญญา การรถไฟแห่งประเทศไทยถือว่าโครงสร้างทุกอย่างตกเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟ และได้มีความพยายามนำโครงสร้างที่สร้างเสร็จแล้วมาพัฒนาต่อ จากผลการศึกษาสรุปว่าจะนำโครงสร้างบางส่วนมาใช้ประโยชน์ในรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มช่วงบางซื่อ-รังสิต
... บริษัทโฮปเวลล์โฮลดิ้ง ได้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในการยกเลิกสัญญาจากกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นค่าใช้จากการเข้ามาลงทุนเป็นเงิน 56,000 ล้านบาท ในขณะที่การรถไฟฯ ก็เรียกร้องค่าเสียโอกาสในการใช้ประโยชน์จากโครงการ เป็นเงินกว่า 200,000 ล้านบาท
... “คณะอนุญาโตตุลาการ``” ประกอบด้วย นายสมศักดิ์ บุญทอง รองอัยการสูงสุด ในฐานะตัวแทนจากการรถไฟแห่งประเทศไทย, “รองศาสตราจารย์วีระพงษ์ บุญโญภาส อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นตัวแทนจากโฮปเวลล์ฯ” และนายถวิล อินทรักษา อดีตผู้พิพากษา เป็นประธานคณะอนุญาโตตุลาการ [5] ได้วินิจฉัยชี้ขาดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย คืนเงินชดเชยให้โฮปเวลล์โฮลดิงส์ เนื่องจากการบอกเลิกสัญญาไม่เป็นธรรม เป็นเงิน 11,888.75 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินค่าก่อสร้าง 9,000 ล้านบาท เงินค่าตอบแทนจากการใช้ประโยชน์ที่ดินที่บริษัทชำระไปแล้ว 2,850 ล้านบาท และเงินค่าออกหนังสือค้ำประกัน 38,749,800 บาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี และคืนหนังสือค้ำประกันมูลค่า 500 ล้านบาท ให้กับบริษัท
… “อนุญาโตตุลาการ” (อังกฤษ: arbitrator) คือ บุคคลคนเดียวหรือหลายคนที่คู่กรณีตกลงเสนอ “ข้อพิพาททางแพ่ง” ที่เกิดขึ้นแล้วหรือจะเกิดขึ้นในอนาคตให้ชี้ขาด ส่วนในประเทศไทย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ประกาศใช้ใน พ.ศ. 2477
… “มิหน้ำซ้ำ โครงการฯ ยังมีเรื่องคอร์รัปชันเข้ามาเกี่ยวพัน โดยรายงานข่าวอ้างว่า บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ต้องจ่ายสินบนให้แก่ผู้มีอำนาจทุกครั้ง เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลหรือรมว.คมนาคม เพื่อเปิดทางให้โครงการดำเนินต่อไปได้จนถึงที่สุด” ( โกงกินจนได้ฉายาว่า “บุฟเฟ่ต์คาบิเนต” จนถูกรัฐประหารในที่สุด โดยบิ๊กจ็อต บิ๊กสุ ... แต่ถ้าโฮปเวลล์พูดจริง รัฐบาลที่ตามมาก็โกงกินค่าสินบนด้วยเช่นกัน )
... ยังไม่จบแค่นั้น
... โดยต่อมา การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานของ โครงการโฮปเวลล์ ที่ถูกทิ้งร้างมาหลายปี เพื่อใช้ในการสร้างทางวิ่งของ “รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยายท่าอากาศยานดอนเมือง” และในส่วนที่ทรุดโทรมหรือผุพังก็จะดำเนินการตัดทิ้ง เพื่อหล่อตอม่อใหม่ให้กับทางวิ่งของ “รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม”
... การที่ รฟท. นำโครงสร้างเก่าที่บริษัท โฮปเวลล์ฯ ก่อสร้างไว้ มาใช้ต่อกับโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต นั่นจึงทำให้เห็นว่า “เป็นการยึดหรือเวนคืนระบบหรือพื้นที่สัมปทาน” จึงได้เสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการ เรียกค่าเสียหายจากกระทรวงคมนาคมและรฟท. 5.9 หมื่นล้านบาท ก่อนจะมีการแก้ไขข้อพิพาทเรียกค่าชดเชย 2.8 หมื่นล้านบาท
... 8 พ.ย. 2551 คณะอนุญาโตตุลาการจึงวินิจฉัยชี้ขาดให้กระทรวงคมนาคม และ รฟท.จ่ายชดเชยแก่บริษัท โฮปเวลล์ฯ 11,900 ล้านบาท เนื่องจากบอกเลิกสัญญาไม่เป็นธรรม "ทำให้กระทรวงคมนาคม และรฟท. ต้องยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง" ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ และศาลปกครองกลางได้พิพากษาเพิกถอนคำวินิจฉัยนั้น
... กลายเป็นคดีความยืดเยื้อต่อมาเป็นสิบปี จนกระทั่ง 22 เม.ย. 2562 “ศาลปกครองสูงสุด” สั่งรัฐโดยรฟท.จ่าย “ค่าโง่โฮปเวลล์” 1.18 หมื่นล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ภายใน 180 วัน พร้อมคืนหนังสือค้ำประกันมูลค่า 500 ล้านบาท ที่ออกโดยธนาคารกรุงเทพ ซึ่งประกอบด้วยเงินที่บริษัทได้ชำระเป็นค่าตอบแทนจากการใช้ประโยชน์จากที่ดินของ รฟท.ถึงก่อนวันบอกเลิกสัญญาเป็นเงิน 2,850 ล้านบาท รวมถึงเงินค่าออกหนังสือค้ำประกัน 38 ล้านบาท และเงินค่าก่อสร้าง 9,000 ล้านบาท ให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด
… ( ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ อ. 221-223/2562ระหว่าง “กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้ร้อง” กับ “บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้คัดค้าน” อันเป็นคดีที่ผู้ร้องทั้งสองร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ และผู้คัดค้านร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ )
( … ศาลปกครอง เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 276 มีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษา “คดีปกครอง” ซึ่งเป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับ “เอกชนกรณีหนึ่ง” และข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันอีกกรณีหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและเพื่อสร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้องในการปฏิบัติราชการ )
Cr.Jeerachart Jongsomchai
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
#forex #ลงทุน #pepperstone #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you