ถ้ามีทั้งโชคและทักษะ วอชิงตันและปักกิ่งอาจจะหลีกเลี่ยงสงครามได้ ถึงแม้จะเป็นปี 2030

แต่ก็ขึ้นอยู่กับนักวางแผนของทั้งสองฝ่ายที่ต้องเอาจริงกับปัญหาความขัดแย้งที่อาจนำไปสู่สงคราม ดูเหมือนว่าทั้งจีนและสหรัฐมาถึงจุดสุดท้ายของสงครามการค้าแล้ว มันสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจของทั้งสองฝ่าย รวมถึงเศรษฐกิจโลกในวันข้างหน้าอีกด้วย

...แต่ตอนนี้มันยังไม่ถึงเวลาที่จะต้องออกอาวุธหรอก สหรัฐกับจีนมีเรื่องขัดแย้งกันหลายเรื่องก็จริง แต่มันก็เป็นเรื่องเล็กเกินกว่าจะเป็นเหตุของสงครามได้

แต่อะไรก็เกิดขึ้นได้ในทศวรรษหน้านี้ เรื่องขัดแย้งที่ดูห่างไกลอาจจะเป็นเรื่องด่วนฉุกเฉินไปก็ได้ ..สหรัฐเห็นว่า เมื่อจีนมีความเข้มแข็งมากขึ้น ก็อาจจะยกเรื่องเล็กขึ้นมาเป็นเรื่องใหญ่ก็ได้ ..ส่วนจีนก็อาจเห็นเป็นโอกาสดี ถ้าวงจรการพัฒนาอาวุธของสหรัฐจะเป็นจุดอ่อนของสหรัฐเอง

ก่อนจะถึงปี 2030 ดุลอำนาจทางทหารและพื้นที่ยุทธศาสตร์คงเปลี่ยนไป แล้วสงครามระหว่างจีนกับสหรัฐจะออกมาในรูปไหนกันล่ะ

How Would War Begin? ...แล้วสงครามจะเริ่มต้นยังไงล่ะ

สาเหตุของความขัดแย้งก็ยังคงเป็นเรื่องเดิม ซึ่งถ้ามีไฟสปาร์คแค่นิดเดียวก็อาจเกิดเพลิงไหม้ใหญ่ได้เลย พลังอำนาจของจีนดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นตลอดเวลาจนหยุดไม่ได้ ถึงแม้สหรัฐจะพยายามออกกฏเกณท์ใหม่ๆมาจัดระเบียบโลกก็ตาม ..แต่ทั้งสองประเทศก็คงไม่ต้องการให้มีสงครามเกิดจากสาเหตุน้อยนิดเป็นแน่..

ลองนึกดูว่าถ้ามีการคุกคามสหรัฐหรือแม้แต่พันธมิตรเช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ไต้หวัน หรือฟิลิปปินส์ จะเกิดอะไรขึ้น เมล็ดพันธ์ความขัดแย้งกับจีนได้ถูกโปรยไว้ทั่วประเทศเหล่านี้แล้ว ถึงแม้จะยังไม่งอกเงยดี ..ถ้ามีความขัดแย้งทางทหาร สหรัฐก็จะถือเป็นโอกาสที่จะเข้ามาทันที ..ถ้าเกิดมีสงครามระหว่างจีนกับอินเดีย นั่นจะเป็นเดิมพันใหญ่เลย เพราะนอกจากจะลากเอาสหรัฐเข้ามาแล้วก็จะยังมีปากีสถานและรัสเซียอีกด้วย ..หรือแม้แต่สงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่นก็จะให้ผลไม่น้อยกว่ากันนัก

เราคงต้องคิดไว้ด้วยว่าอาจมีการเปลี่ยนแปลงทางยุทธศาสตร์ครั้งใหญ่ เช่นการแข่งขันกันระหว่างเกาหลีใต้กับญี่ปุ่นอาจนำไปสู่การขัดแย้งทางทหาร ซึ่งถ้ามันกลายเป็นการเผชิญหน้ากันแล้วล่ะก็ จีนกับสหรัฐก็คงต้องเข้ามามีส่วนด้วยแน่นอน

What New Technologies Would the Combatants Employ?
แล้วมีเทคโนฯใหม่ๆอะไรที่จะมามีส่วนช่วยในการรบล่ะ

ในขณะที่สนามรบขึ้นอยู่กับสาเหตุของความขัดแย้ง ครั้งนี้ก็บอกได้เลยว่าบริเวณที่จะสู้รบกันมันคือทะเลจีนทั้งตะวันออกและใต้ ซึ่งก็แน่นอนว่าก็จะเป็นการรบที่ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพทางอากาศและทะเลของแต่ละฝ่าย ..แต่สำหรับสหรัฐแล้ว..ทั้งกองทัพบกและกองนาวิกฯคงต้องพัฒนาตัวเองจนสามารถเปิดแนวรบได้หลายแนวพร้อมกัน

มีหลายเหตุผลมากที่จะเชื่อได้ว่าดุลของอำนาจทางทหารจะเปลี่ยนไปเป็นจีนจะเป็นฝ่ายเหนือกว่าในอีก 12 ปีข้างหน้า นั่นไม่ได้หมายความว่าจีนจะได้เปรียบ แต่จากสถานะปัจจุบัน นี่เป็นช่วงหยุดนิ่งของสหรัฐ ..กองทัพเรือของจีนเติบโตเร็วกว่าของสหรัฐ ถึงแม้สหรัฐจะมีกองเรือรวมกันถึง 355 ลำ ..กองทัพอากาศจีนก็ก้าวหน้าไปเร็วกว่าสหรัฐ

ยังไงก็ตาม ทั้งสองประเทศก็ยังใช้เทคโนฯดั้งเดิมพื้นฐานในอุปกรณ์จำนวนมากที่ประจำการของตน จีนอาจมีเรือบรรทุกเครื่องบินเข้าประจำการ 4 ลำก่อนปี 2030 ซึ่งน่าจะเป็นชั้นเหลียวหนิง STOBAR (Short Take-Off But Arrested Recovery) 2 ลำ และแบบ CATOBAR (Catapult-Assisted Short Take-Off But Arrested Recovery) อีก 2 ลำ ...ถึงแม้สหรัฐจะยังคงมีจำนวนเรือที่มากกว่า และในขณะที่ยังคงยินดีกับความเหนือกว่าด้านคุณภาพ เป็นไปได้ที่จีนจะมีความเหนือกว่าในช่วงต้นของความขัดแย้ง จีนอาจปล่อยเรือดำน้ำและเรือผิวน้ำได้เป็นจำนวนมาก เพราะไม่ต้องกระจายกำลังออกไปทั่วโลกแบบสหรัฐ ..กองทัพเรือสหรัฐจะยังคงมีความได้เปรียบแต่ก็ลดความได้เปรียบไปเรื่อยๆอย่างรวดเร็ว

ในส่วนที่เกี่ยวกับเครื่องบิน ทั้งกองทัพอากาศ กองทัพเรือและนาวิกฯต่างก็นำ F-35s เข้าประจำการจำนวนมาก กองทัพอากาศยังมีเครื่องบินทิ้งระเบิด B-21 รวมไปถึงเครื่องรุ่นเก่าที่ตกทอดมาอีกด้วย ..จีนกำลังจะนำเข้าประจำการ J-10s และ J-11s ที่จะไปอยู่ระดับเดียวกับเครื่องรุ่นเก่าของสหรัฐ F-15s, F-16s, และ F/A-18s ...modernization program ของจีนไม่น่าจะเพียงพอที่จะนำให้จีนเทียบชั้นกับมาตรฐานของอเมริกันได้ทันปี 2030 แต่กองทัพอากาศของจีนคงจะปิดแก้ปนี้ได้จากการที่มีฐานทัพที่มากพอ และอาจได้เปรียบจากจำนวนของอาวุธนำวิถี..ครูส..และจรวดต้านอากาศยาน

ข้อแตกต่างที่เด่นชัดก่อนถึงปี 2030 คือ การเกิดขึ้นอย่างมากมายของพาหนะไร้คนขับที่จะมาแทนที่แพล็ตฟอร์มของการใช้คนควบคุม นวัตกรรมของจีนเรื่องนี้ยังคงไม่มีใครตามทัน ..และเป็นการยากที่จะทำนายว่าแพล็ตฟอร์มไหนจะมาเป็นมาตรฐาน แต่น่าเป็นไปได้คือโดรนทีใช้ทางอากาศ ทางผิวน้ำและใต้น้ำจะมีบทบาทในการรบเกือบทั้งหมด ทั้งกับในแพล็ตฟอร์มเดียวกันและกับที่ควบคุมโดยมนุษย์ โดรนเหล่านี้ต้องขึ้นอยู่กับการเข้าถึงระบบการสื่อสาร..ที่ทั้งสองฝ่ายต่างพยายามทำลายกันในชั่วโมงแรกๆของสงคราม

No War But Cyber War? มีแต่สงครามไซเบอร์หรือ

ไม่ว่าจะในทางสังคม ทางเศรษฐกิจ หรือทางทหาร ทั้งจีนและสหรัฐต่างก็ขึ้นอยู่กับการเชื่อมต่อทางไซเบอร์ ถ้ามีการทำลายอย่างหนักต่อระบบการเชื่อมต่อนี้จะเกิดผลร้ายอย่างแรงทันที ..แต่กรณีนี้มีนักวิเคราะห์สถานการณ์สงครามไซเบอร์ออกมาโต้ว่า การที่ทั้งสหรัฐและจีนต้องพึ่งพาอินเตอร์เน็ท โครงสร้างการเชื่อมต่อคงไม่ง่ายที่จะถูกทำลาย ...ความซับซ้อนไม่ได้หมายความว่ามันจะอ่อนแอต่อการทำลายง่ายๆ

อุปกรณ์แบบดิจิตัลที่ใช้ในการรบคงจะมีมากกว่าการใช้ในกิจการพลเรือน ทั้งสหรัฐและจีนคงหาทางทำลายการสื่อสารของอุปกรณ์ลาดตระเวนและโจมตีของฝ่ายตรงข้าม ทำให้อุปกรณ์ของฝ่ายตรงข้ามมืดบอดในขณะที่ตัวเองพยายามมองผ่านสายตาของอุปกรณ์ฝ่ายตรงข้าม ...ฝ่ายที่สามารถโจมตีทางไซเบอร์ได้มากกว่าอาจเป็นฝ่ายได้ชัยชนะในที่สุด

How Will the War End? แล้วมันจะจบยังไงล่ะ

ถ้าเรายังไม่อาจเดาชนวนเหตุที่แน่นอนของสงครามในปี 2030 ได้ ก็คงจะไม่มีทางรู้ได้ว่าแต่ละฝ่ายจะเต็มใจเดินไปสุดแค่ไหน

การปิดเส้นทางอาจจะไม่ใช่คำตอบของการสงคราม ในขณะที่จีนมีความจำเป็นใช้พลังงานน้ำมันมากขึ้นในปี 2030 ความสามารถในการรักษาเส้นทางยุทธศาสตร์ของตนก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ..การก่อสร้างเส้นท่อร่วมกับรัสเซียรวมถึงการหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ คงจะเป็นเหตุให้จีนกล้าที่จะขัดแย้งกับสหรัฐมากขึ้นกว่าเดิม ..สงครามการค้าที่ทรัมพ์เริ่มไว้ คงยังไม่กระทบการค้าของจีนมากนักจนกว่าเศรษฐกิจทั่วทั้งโลกจะถูกทำลายเสียก่อน

การยุติสงคราม Sino-American ในปี 2030 ต้องใช้การทูตที่ละเอียดอ่อนเท่านั้น ถ้าไม่อย่างนั้นมันจะเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามที่อาจถูกลากยาวไปจนสิ้นศตวรรษได้เลย

Conclusion

เป็นเวลาเกือบสี่สิบปี ที่นักวิเคราะห์หลายคนมีความเห็นว่าสงครามระหว่างสหรัฐและสหภาพโซเวียตเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ ..และถึงแม้เสี่ยงจะเกิดหลายครั้ง แต่มันก็ไม่เคยเกิดขึ้น ..ในกรณีของจีนกับสหรัฐ ก็น่าคิดที่ว่า มีความเป็นเป็นไปได้ที่ทั้งสองจะไม่เกิดความขัดแย้งทางทหารขึ้น เนื่องจากบาลานซ์ของอำนาจทางทหารของทั้งสองจะสูสีกันสักวันหนึ่ง เป็นโอกาสที่จะถ่วงดุลกันและกัน ...

ถ้ามีทั้งโชคและทักษะ วอชิงตันและปักกิ่งอาจจะหลีกเลี่ยงสงครามได้ ถึงแม้จะเป็นปี 2030 ..แต่ก็ขึ้นอยู่กับนักวางแผนของทั้งสองฝ่ายที่ต้องเอาจริงกับปัญหาความขัดแย้งที่อาจนำไปสู่สงคราม

Robert Farley, a frequent contributor to the National Interest, is author of The Battleship Book.

Cr.Sayan Rujiramora

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"