forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

วิกฤตตุรกีลามหนัก หวั่นซ้ำ'ต้มยำกุ้ง 2

ตลาดทุนทั่วโลกต่างช็อกไปตามๆ กัน เมื่อเห็นค่าเงินลีราของตุรกีอ่อนค่าลงฮวบฮาบวันเดียวถึง 17% เมื่อวันศุกร์ที่ 10 ส.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งหากนับรวมตั้งแต่เมื่อประธานาธิบดี เรเซป เตย์ยิป เออร์โดอาน ชนะการเลือกตั้ง

เมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ค่าเงินลีราก็อ่อนค่ารวมมากกว่า 30% ไปแล้ว นับเป็นค่าเงินที่ย่ำแย่ที่สุดประเทศหนึ่งในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ปีนี้

ปัจจัยหลักที่ฉุดค่าเงินลีราล่าสุดก็คือ การทวีตข้อความของประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งขู่ว่าจะปรับขึ้นกำแพงภาษีเหล็กและอะลูมิเนียมจากตุรกีให้สูงขึ้นไปอีก เนื่องจากค่าเงินลีรากำลังอ่อนยวบยาบ ดังนั้นสหรัฐจึงจะเพิ่มภาษีจากเดิมซึ่งอยู่ที่ 25% และ 10% ตามลำดับ ทะยานขึ้นไปเป็น 50% และ 20% นอกจากให้เหตุผลว่าปรับไปตามอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ทรัมป์ระบุอย่างชัดเจนก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐ-ตุรกีในเวลานี้ ไม่ได้ดีเหมือนเดิมอีกแล้ว

ที่ผ่านมาตุรกีกับสหรัฐมีปัญหาไม่ลงรอยกันมาหลายระลอก ตั้งแต่เรื่องสงครามกลางเมืองในซีเรีย การที่ตุรกีจะซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์จากรัสเซีย การที่สภาคองเกรสสหรัฐไม่อนุมัติการขายเครื่องบินรบ F-35 ให้ตุรกี ไปจนถึงการที่ตุรกีควบคุมตัวนักบวชสัญชาติอเมริกัน แอนดรูว์ บรันซัน ฐานมีเอี่ยวในความพยายามรัฐประหารที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดี ลำพังเพียงปัญหาการเมืองระหว่างประเทศที่ไม่ได้อยู่ในขั้นเตรียมทำสงครามจะห้ำหั่นกันนั้น คงไม่มากพอที่จะฉุดค่าเงินให้ร่วงลงขนานใหญ่ และทำให้ทั่วโลกเริ่มกังวลจนต้องจับตาเหมือนเคสนี้

ที่จริงแล้วปัญหาการเมืองกับสหรัฐอาจมองได้ว่าเป็นเหมือนดาบเล่มที่ 2 ที่เข้ามาแทงซ้ำ ทำให้ตุรกีแสดงอาการบาดเจ็บอันเนื่องมาจากปัญหาพื้นฐานของตัวเองมากกว่า

นักวิเคราะห์บางฝ่ายมองว่าปัญหาของตุรกีนั้นมีอาการบางอย่างที่คล้ายคลึงกับ "วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง" ที่เขย่าประเทศไทยและเอเชียเมื่อปี 1997 มาแล้ว ขณะที่บางรายยังคาดการณ์ว่า ปัญหาของตุรกีอาจแรงกว่าเมื่อครั้งวิกฤต "เลห์แมน บราเธอร์ส" ล่มสลายเมื่อปี 2008 และบางคนมองว่าวิกฤตนี้แรงกว่าปัญหาหนี้สาธารณะของ "กรีซ" เมื่อปี 2011 อีกด้วยวิกฤตเศรษฐกิจโลกในรอบ 10 ปี ที่ผ่านมาที่ทั่วโลกโดยเฉพาะสหรัฐ ต่างลดดอกเบี้ยลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น ทำให้ตุรกีเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ "กู้ยืมหนี้สกุลเงินต่างประเทศสูง" และกลายเป็นประเทศหนึ่งที่เสี่ยงต่อการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐมากที่สุดในปัจจุบัน อีกทั้งยังมี

ปัญหาพื้นฐาน เช่น เป็นประเทศหนึ่งที่มีอัตราการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงที่สุดในโลก และมีอัตราเงินเฟ้อขยายตัวอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

ยิ่งเงินลีราอ่อนค่าลงมากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้ลูกหนี้ตุรกีโดยเฉพาะบรรดาธนาคารที่ไปกู้เงินดอลลาร์ดอกเบี้ยต่ำมา ยิ่งจ่ายหนี้คืนแพงขึ้นเท่านั้น และยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่ตุรกีจะประสบกับภาวะ "ผิดนัดชำระหนี้" ตามไปด้วย โดย มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ประเมินว่าตุรกีมีโอกาสเบี้ยวหนี้สูงกว่ากรีซไปแล้ว พร้อมลดอันดับตุรกีลงมาถึง 4 ขั้น ขณะที่โกลด์แมนแซคส์มองว่า ภาวะของตุรกีในขณะนี้คล้ายกับช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งของเอเชียปลายยุค 90 และวิกฤตหนี้ของกลุ่มละตินอเมริกาช่วงทศวรรษ 80

ปัญหาเหล่านี้ค่อนข้างคล้ายคลึงกับในบางประเทศที่มีหนี้ต่างประเทศสูง และขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเยอะ เช่น อินโดนีเซีย ซึ่งมีปัญหาค่าเงินรูเปียห์อ่อนค่าหนักเป็นรายต้นๆ ในเอเชียเช่นกัน แต่ความต่างก็คือขนาดของตลาดผู้บริโภคในประเทศและโอกาสทางเศรษฐกิจที่มองกันในภาพรวมแบบภูมิภาค ซึ่งตุรกียังสู้ไม่ได้

นอกจากนี้ การรับมือกับภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจของตุรกียังถูกมองว่าไม่เพียงพอ นักวิเคราะห์หลายรายมองตรงกันว่า ด้วยปัญหาเชิงโครงสร้างที่หนักหนา และการมีข้อพิพาทกับประเทศใหญ่อย่างสหรัฐ คงทำให้ตุรกียากที่จะรอดพ้นภาวะวิกฤตไปได้ง่ายๆ หากไม่ออก "ยาแรง" หรือมาตรการขนาดใหญ่มารองรับ ซึ่งเบื้องต้นอันดับแรกที่น่าจะได้เห็นในสัปดาห์นี้ก็คือ การขึ้นดอกเบี้ยเพื่อชะลอการอ่อนค่าลงของค่าเงินลีรา

แม้จะมีรายงานว่าหลังฉากนั้นตุรกีพยายามขอเจรจาต่อรองกับสหรัฐอยู่ แต่ในหน้าฉากปัจจุบัน รัฐบาลดูจะยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นอย่างเป็นระบบได้มากนัก ไม่ว่าจะเป็นการขอให้ประชาชนขายทองคำ-ดอลลาร์ไปแลกเป็นลีรา หรือออกตัวว่าถูกสหรัฐเล่นงานด้วยสงครามเศรษฐกิจ หรือขู่สหรัฐว่าจะเปลี่ยนข้างพันธมิตรถาวรไปอยู่ข้างฟากตรงข้าม ซึ่งจะยิ่งทำให้สหรัฐโดดเดี่ยวในองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังไม่ใช่มาตรการรับมือภาวะฉุกเฉินในทางเศรษฐกิจอย่างแท้จริงที่จะช่วยบรรเทาความวิตกของประชาชนได้ จึงมีสัญญาณประชาชนไปถอนเงินต่างประเทศตามธนาคารต่างๆ กันมากขึ้นตลอดหลายวันมานี้

หากยังไม่มีทางออกทั้งในด้านเศรษฐกิจหรือการเมือง ตุรกีซึ่งเป็นประเทศหน้าด่านสำคัญของทั้งตะวันออกกลางและยุโรป อาจเป็นอีกหนึ่งโดมิโนตัวใหม่ให้เซอร์ไพรส์โลกหลังวิกฤตเศรษฐกิจ 10 ปี ก็เป็นได้

โดย นันทิยา วรเพชรายุทธ

Source: Posttoday

ความคืบหน้าล่าสุด
- สกุลเงินตลาดเกิดใหม่ดิ่งวันนี้ ขณะแรนด์,รูปี,รูเปียห์ร่วงระนาวตามลีรา
: https://www.ryt9.com/s/iq21/2870269

- ราคาน้ำมัน WTI ปรับตัวลง วิตกวิกฤตค่าเงินตุรกี,สงครามการค้าฉุดอุปสงค์น้ำมัน
: https://www.ryt9.com/s/iq35/2870273

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

บทความสนับสนุนโดย FXPro
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"