forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

'ก๊าซแอลเอ็นจี'เหยื่อศึกการค้าสหรัฐ-จีน

นักวิเคราะห์ในอุตสาหกรรมพลังงาน ชี้ การเก็บภาษี นำเข้าน้ำมันจากสหรัฐของรัฐบาลปักกิ่ง จะดับฝันความพยายามเป็นผู้ส่งออกก๊าซแอลเอ็นจีโลกของกลุ่มผู้ผลิตอเมริกัน ขณะสหรัฐเตรียมกดดันญี่ปุ่น

เปิดตลาดรถ- สินค้าเกษตรมากกว่านี้ หวังลดขาดดุลการค้า

เว็บไซต์สำนักข่าวซีเอ็นบีซี รายงานโดยอ้างความเห็นบรรดาผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมพลังงานว่า การที่กระทรวงพาณิชย์ของจีน ประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้า สินค้าจากสหรัฐในอัตรา 25% วงเงิน 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 ส.ค.นี้ ครอบคลุมสินค้า 333 รายการ รวมถึงรถยนต์ ผลิตภัณฑ์เหล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันนั้นเท่ากับเป็นการปิดกั้นโอกาสของสหรัฐ ที่จะก้าวขึ้น เป็นประเทศมหาอำนาจด้านพลังงาน ด้วยการเป็นผู้ส่งออกก๊าซแอลเอ็นจีรายใหญ่ ของโลก

"หากจีนเริ่มเก็บภาษีก๊าซแอลเอ็นจี อย่างเป็นทางการ จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออุตสาหกรรมก๊าซของสหรัฐและนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ในการผลักดันอเมริกาให้เป็นประเทศมหาอำนาจด้านพลังงานของโลก จากการที่ปัจจุบัน จีนเป็นประเทศผู้นำเข้าก๊าซแอลเอ็นจีรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก ส่งผลให้มีการเสนอให้สร้าง ท่อส่งก๊าซดังกล่าวตามแนวชายฝั่งแถบ อีสต์โคสต์ของสหรัฐ ซึ่งมาตรการภาษี ของจีนล่าสุดที่ตอบโต้สหรัฐ จะทำให้ โครงการสร้างท่อส่งก๊าซเหล่านี้ประสบปัญหา ในการหาแหล่งเงินสนับสนุนหรือหาแหล่ง เงินกู้"ฮูโก เบรนแนน นักวิเคราะห์อาวุโสประจำภูมิภาคเอเชียจากเวอริสก์ เมเปิล ครอฟต์ บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลก กล่าว

การประกาศเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐของจีน มีขึ้นเพื่อตอบโต้สหรัฐที่ เรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มเติมในอัตรา 25% วงเงิน 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยให้เริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 ส.ค. เช่นเดียวกัน โดยเมื่อวันที่ 6 ก.ค. คณะทำงานของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ออกมาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนล็อตแรกในอัตรา 25% วงเงิน 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์ และหลังจากนั้นไม่นาน จีนก็ออกมาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐในอัตราและวงเงินที่เท่ากัน

ทั้งนี้ การที่สหรัฐออกมาตรการเรียกเก็บภาษี 25% ต่อสินค้านำเข้าจากจีนทั้ง 2 ล็อต คิดเป็นวงเงินรวม 5 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งจีนก็ได้ตอบโต้ในอัตราและวงเงินที่เท่ากัน

ขณะที่สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (ไออีเอ) ระบุเมื่อเดือนมิ.ย.ว่า จีนเป็นผู้นำเข้าก๊าซแอลเอ็นจีรายใหญ่สุดอันดับ 2 ของโลกเมื่อปีที่แล้ว และตั้งเป้าว่า จะเป็นประเทศผู้นำเข้าก๊าซชนิดนี้ รายใหญ่สุดของโลกในปีหน้า และปีที่แล้ว สหรัฐส่งออกก๊าซแอลเอ็นจีไปจีนในสัดส่วนประมาณ 15%

วันเดียวกันนี้ สมาคมรถยนต์จีน เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ รถสปอร์ตอเนกประสงค์ (เอสยูวี) ในเดือนก.ค. ร่วงลง 5.4% แตะ 1.6 ล้านคัน ถือเป็นสถิติที่ ร่วงลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 โดยยอดขายรถ ของจีนในเดือนมิ.ย.ปรับตัวลง 3.7%

ทั้งนี้ เศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวลง และการตอบโต้ทางการค้าด้วยมาตรการเก็บภาษีระหว่างจีนและสหรัฐในช่วงที่สงครามการค้าขยายวงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้กลุ่มผู้บริโภคจีนหลีกเลี่ยงการซื้อรถยนต์

ขณะที่ญี่ปุ่นและสหรัฐ เตรียมหารือเรื่องการค้าในระดับรัฐมนตรีรอบแรกในวันพฤหัสบดี (9ส.ค.)ตามเวลาท้องถิ่น ที่วอชิงตัน โดยสหรัฐ ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมมีแนวโน้มว่า จะหาทางผลักดันให้ญี่ปุ่นเปิดตลาดรถและเกษตรมากยิ่งขึ้น เพื่อลดภาวะขาดดุลการค้าที่เรื้อรัง ของสหรัฐ

การเจรจาครั้งนี้เกิดขึ้นในขณะที่ประธานาธิบดีทรัมป์ ของสหรัฐ ขู่ที่จะเก็บภาษีเพิ่มเติมถึง 25% กับรถและชิ้นส่วน นำเข้า ซึ่งหากมีการดำเนินการดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม การจัดเก็บภาษีครั้งใหม่ จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อ กลุ่มผู้ส่งออกรถรายใหญ่อย่างญี่ปุ่น

ในการประชุมร่วมกันครั้งนี้ ซึ่งจะ จัดขึ้นไปจนถึงวันศุกร์ (10 ส.ค.)ตามเวลาสหรัฐ นายโรเบิร์ต ไลท์ไฮเซอร์ ผู้แทน การค้าสหรัฐ (ยูเอสทีอาร์) คาดว่า จะกดดันนายโตชิมิตสึ โมเทกิ รัฐมนตรีเศรษฐกิจของญี่ปุ่นให้ลดภาษีนำเข้าสินค้าด้านการเกษตร เช่น เนื้อวัว และถั่วเหลือง ตลอดจนยกเลิกมาตรการที่ไม่ใช่กำแพงภาษีสำหรับการ นำเข้าด้านยานยนต์ เพื่อจัดทำข้อตกลงให้เป็นรูปธรรมก่อนศึกเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐในเดือนพ.ย.นี้

นอกจากนี้ นายไลท์ไฮเซอร์คาดการณ์ว่า จะกดดันให้นายโมเทกะเริ่มเจรจาต่อรองข้อตลงการค้าเสรีระดับทวิภาคีด้วยเช่นกัน

ที่ผ่านมา ผลสำรวจความเห็นบรรดาธุรกิจชั้นนำของญี่ปุ่นบ่งชี้ว่า กว่าครึ่งของผู้ที่ถูกสุ่มสำรวจ เห็นตรงกันว่า การดำเนินนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ ของสหรัฐ สร้างความเสี่ยงอันดับหนึ่งแก่เศรษฐกิจโลก ทั้งยังเป็นปัญหายิ่งกว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และภัยคุกคามจากนิวเคลียร์เกาหลีเหนือ

ผลสำรวจซึ่งจัดทำโดยหนังสือพิมพ์อาซาฮี ชินบุน ระบุว่า ธุรกิจชั้นนำของญี่ปุ่น 51% เห็นว่า นโยบายของผู้นำสหรัฐ เป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกมากที่สุด และความไม่มั่นใจเกี่ยวกับนโยบายของทรัมป์เพิ่มขึ้นมากถึง 27% จากการสำรวจเมื่อ เดือนพ.ย. อีกทั้งภาคธุรกิจญี่ปุ่นวิตกกังวลว่า รัฐบาลทรัมป์ ใช้นโยบายปกป้องทางการค้า เพิ่มภาษีนำเข้ากับเหล็กและอลูมิเนียมจากสหภาพยุโรป(อียู) แคนาดา และเม็กซิโก และอาจมีนโยบายกีดกันทางการค้ารูปแบบ อื่นๆ ตามมาอีก

Source: กรุงเทพธุรกิจ

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

บทความสนับสนุนโดย FXPro
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"