forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ไฟเขียวบริษัทลูกแบงก์'ลงทุน-เทรด'เงินดิจิทัล

"แบงก์ชาติ" ไฟเขียวบริษัทลูกธนาคารพาณิชย์ ทั้ง"บล.-บลจ.-ประกัน"ลงทุนและให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัลได้ เพราะมีหน่วยงานกำกับดูแล โดยต้องบริหารความเสี่ยงอย่างรัดกุม ส่วน "แบงก์พาณิชย์" ยังไม่อนุญาตให้เข้าไปเกี่ยวข้อง

เว้นแต่ทำเพื่อพัฒนานวัตกรรมให้ทดลองได้ใน แซนด์บ็อกซ์ ด้านแบงก์กรุงเทพประเมินเงินดิจิทัลความเสี่ยงสูงควรจำกัดผู้เล่น

รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ส่งหนังสือเวียนไปยังสถาบันการเงินทุกแห่งเพื่อทำความเข้าใจเรื่องแนวทางประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัลของสถาบันการเงินและบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงิน

โดยหนังสือเวียนของ ธปท. ฉบับนี้กำหนดให้ บริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงินของสถาบันการเงินที่มีหน่วยงานกำกับดูแล เช่น บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บลจ.) และ บริษัทประกันภัย หรือบริษัทประกันชีวิต สามารถทำธุรกรรมหรือลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลได้ โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) หรือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กำหนด

กรณีนอกเหนือจากนี้ เช่น บริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ หากต้องการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล ให้บริษัทแม่ขออนุญาต ธปท.เป็นรายกรณี โดยบริษัทแม่ยังต้องดูแลความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจการเงินในภาพรวมและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ การกำกับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงิน

อย่างไรก็ตาม หากบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน จะทำธุรกรรมหรือประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลตามแนวทางข้างต้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงสุดของสถาบันการเงินแล้วแต่กรณี

นอกจากนี้ ต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างรัดกุม และบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจต้องดูแลความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจการเงินในภาพรวมและดูแลให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ธปท. โดยจะกำหนดหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจ หรือการดูแลความเสี่ยงเพิ่มเติมต่อไป

ห้ามแบงก์ออก-ลงทุนไอซีโอ

สำหรับในส่วนของสถาบันการเงิน เนื่องจากพัฒนาการของสินทรัพย์ดิจิทัลยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ยังไม่สามารถประเมินและบริหารความเสี่ยงได้ชัดเจน โดยเฉพาะการถือครองสินทรัพย์ดิจิทัล จึงอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความเชื่อมั่นผู้ฝากเงิน ดังนั้นระยะแรก จึงยังไม่ให้สถาบันการเงินเป็นผู้ออกโทเคนดิจิทัล หรือให้บริการเสนอขายโทเคนดิจิทัล

นอกจากนี้ ยังไม่อนุญาตให้สถาบันการเงินลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ทั้งโทเคนดิจิทัลและคริปโทเคอร์เรนซี และไม่อนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล รวมทั้งไม่ทำหน้าที่เป็นผู้ชี้ชวนหรือแนะนำให้มีการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลแก่ลูกค้าที่ไม่ใช่ ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่ตามประกาศก.ล.ต.

อย่างไรก็ตาม กรณีที่สถาบันการเงินประสงค์จะออกหรือลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน หรือเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการทางการเงินแก่ลูกค้า ให้สถาบันการเงินเข้าทดสอบได้ในสนามทดสอบของหน่วยงานทางการ (Regulatory Sandbox)

ห้ามรูดบัตรซื้อเงินดิจิทัล

รายงานระบุด้วยว่า ธปท.ยังไม่ประสงค์ให้ลูกค้าบุคคลธรรมดาของสถาบันการเงินและบริษัทในกลุ่มใช้บัตรเครดิตเพื่อซื้อสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อดูแลปัญหาการกู้ยืมไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งอาจกระทบต่อปัญหาลูกหนี้และปัญหาหนี้ครัวเรือนของประเทศ

อย่างไรก็ตาม ธปท. ไม่มีข้อห้ามหรือ ข้อกำหนดในเรื่องการเปิดบัญชีเงินฝาก การให้สินเชื่อ การก่อภาระผูกพัน หรือ การลงทุนในหลักทรัพย์ของกิจการที่ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล โดยให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อหรือลงทุนที่เกี่ยวข้อง

ธปท.แจงเหตุผล

นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การที่ธปท.เปิดให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงินของสถาบันการเงินสามารถทำธุรกรรม หรือลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลได้นั้น เพราะบริษัทเหล่านั้นมีหน่วยงานกำกับดูแลอยู่แล้ว ซึ่งอยู่ภายใต้พรก.สกุลเงินดิจิทัล ส่วนแบงก์พาณิชย์ยังไม่อนุญาตให้เข้าไปดำเนินการได้

ส่วนเรื่องการกำกับดูแลธุรกรรมดิจิทัลเพย์เม้นท์ยังมีเรื่องที่ต้องทำอีก 5 ด้าน ได้แก่
1.การให้ประชาชนเข้าถึงได้ทุกภาคส่วน

2.การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์คนที่หลากหลายและตอบโจทย์ของภาคธุรกิจมากขึ้นและส่งเสริมการค้าขายในประเทศและต่างประเทศ

3.โครงสร้างพื้นฐานที่ต้องพัฒนาต่อเนื่องให้เข้มแข็ง เพื่อที่คนจะได้มั่นใจในระบบและใช้งานมากขึ้น

4.การสร้างภูมิคุ้มกันระบบและยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแลให้เข้มข้นมากขึ้น 5.การนำข้อมูลที่มีประโยชน์มาใช้หรือวิเคราะห์มากขึ้น เช่น การทำบิ๊กเดต้า ซึ่งเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ในการให้บริการหรือจัดทำนโยบายที่ตอบสนองใช้บริการในอนาคตมากขึ้น

แบงก์กรุงเทพชี้เสี่ยงสูง

นายจรัมพร โซติกเสถียร กรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL กล่าวว่าสกุลเงินดิจิทัลมีความเสี่ยงค่อนข้าง สูงมาก เพราะปัญหาของสินทรัพย์ดิจิทัลคือไม่มีใครการันตีว่ามูลค่าที่แท้จริงได้ โดยการเคลื่อนบนไหวของมูลค่าก็ขึ้นอยู่กับดีมานและซับพลายเท่านั้น จึงทำให้การเหวี่ยงของราคาจึงมีมาก ต่างจากสกุลเงินต่างๆที่มีบุ๊คแวลูอ้างอิงแน่นอน

หากไล่เลียงความเสี่ยงผลิตภัณฑ์การลงทุนจากน้อยไปหามากจะพบว่า ความเสี่ยงที่ต่ำสุดคือพันธบัตรรัฐบาล รองลงมาคือเงินฝาก, หุ้นกู้บริษัทเอกชนที่มีอันดับเครดิตเรทติ้ง, หุ้น, หุ้นบลูชิบ, หุ้นที่สวิงเยอะๆ และสุดท้ายคือเดริเวทีฟ แต่ความเสี่ยงของสกุลเงินดิจิทัลมีมากกว่าเดริเวทีฟ เนื่องจากเดริเวทีฟยังมีหุ้นที่อ้างอิง แต่เงินดิจิทัลไม่มีอะไรอ้างอิงเลย ซึ่งการเคลื่อนไหวอิงกับดีมานและซับพลายเท่านั้น

แนะจำกัดผู้ลงทุน

ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรใช้กฎเกณฑ์หรือกำหนดกลุ่มผู้ลงทุนที่จะเข้าถึงได้ ไม่ใช่เปิดกว้างให้คนที่ฝากเงินทั่วไปมาลงทุนได้ โดยหลักเกณฑ์ของสกุลเงินดิจิทัลอย่างต่ำก็ต้องควบคุมความเสี่ยงให้ไม่น้อยกว่าการลงทุนในเดริเวทีฟ หรือจำกัดกลุ่มคนที่เข้าถึง เช่น เฉพาะกลุ่มนักลงทุนสถาบัน หรือคนที่มีสินทรัพย์ 100 ล้านบาทขึ้นไป

"สกุลเงินดิจิทัลไม่ใช่สกุลเงิน เพราะไม่มีสินทรัพย์มารองรับและเอาไปแลกเปลี่ยนก็ไม่อิสระมากพอ ซึ่งเอาไปซื้อได้เฉพาะที่เขารองรับเท่านั้น ขณะที่มูลค่าก็แกว่งมากเกินไปไม่เหมาะสำหรับการใช้จ่าย แต่เหมาะแก่การก็งกำไรอย่างเดียว ซึ่งอย่างนี้ผมไม่เรียกสกุลเงิน" นายจรัมพร กล่าว

Source: กรุงเทพธุรกิจ

- หนังสือเวียน ธปท. เรื่อง
แนวทางการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital asset) ของสถาบันการเงินและบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงิน
(ธปท.ฝนส.(23)ว. 1759/2561)

https://www.bot.or.th/Thai/FIPCS/Documents/FPG/2561/ThaiPDF/25610186.pdf 

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

บทความสนับสนุนโดย FXPro
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"