forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

การอธิบายการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินถือเป็นความพยายามของนักเศรษฐศาสตร์การเงินทุกยุคทุกสมัย

Extrapolative Beliefs and Exchange Rate Markets - การอธิบายการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินถือเป็นความพยายามของนักเศรษฐศาสตร์การเงินทุกยุคทุกสมัย H.L. Mencken นักวิชาการชาวอเมริกันถึงกับเปรียบเปรยความซับซ้อนดังกล่าวไว้ว่า

“As for the foreign exchange, it is almost as romantic as young love, and quite as resistant to formulae”

ทฤษฎีหนึ่งซึ่งถือเป็นรากฐานของความเข้าใจเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน คือ Uncovered Interest Rate Parity (UIP) ทฤษฎี UIP กล่าวว่าหากอัตราดอกเบี้ยของเงินสกุลหนึ่งสูงกว่าเงินอีกสกุล สกุลเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่ามักจะอ่อนค่าลงเสมอ เพื่อทำให้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรของทั้งสองสกุลมีค่าเท่ากัน กล่าวอีกนัยหนึ่ง อัตราแลกเปลี่ยนจะทำงานในทิศทางที่สวนทางกับความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ย (interest rate differentials) เสมอ แม้ว่าทฤษฎี UIP จะได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง แต่บ่อยครั้งข้อมูลจริงกลับไม่สอดคล้องกับทฤษฎีดังกล่าว แล้วเราจะอธิบายปรากฏการณ์นี้ได้อย่างไร?

งานวิจัยเรื่อง “Extrapolative Beliefs and Exchange Rate Markets” พยายามตอบคำถามข้างต้น โดยใช้ข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนครอบคลุมทั้งของประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาในหลายภูมิภาคทั่วโลก การศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนโดยส่วนใหญ่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ย เพราะส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยมีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน แต่อัตราแลกเปลี่ยนกลับเปลี่ยนแปลงแบบ random walk

ข้อเท็จจริงนี้อธิบายว่าเหตุใดผลตอบแทนพันธบัตรของสกุลเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงจึงมักสูงกว่าที่ทฤษฎี UIP คาดไว้ ทั้งนี้ งานวิจัยชิ้นนี้ใช้พฤติกรรมของนักลงทุนมาอธิบายรูปแบบของความสัมพันธ์ดังกล่าว กล่าวคือ นักลงทุนมักตีความว่าสกุลเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าคือสกุลเงินที่มีความแข็งแรงมากกว่า (extrapolative belief) มุมมองเชิงบวกของนักลงทุนทำให้เงินสกุลนั้นยิ่งแข็งค่าขึ้นอีกในอนาคต ก่อให้เกิดผลตอบแทนส่วนเกินจากพันธบัตร

ขณะเดียวกัน เมื่อเวลาผ่านไป ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยจะลดลงเรื่อย ๆ ส่งผลให้เกิดแรงกดดันด้านอ่อนค่าต่อสกุลเงินนั้น ๆ (depreciating force) ในภาพรวม แรงกดดันด้านแข็งค่าจากมุมมองของนักลงทุนและแรงกดดันด้านอ่อนค่าจากการลดลงของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยทำให้ผลตอบแทนอัตราพันธบัตรส่วนเกินลดลงจนเป็นลบในที่สุด นอกจากนี้ แรงกดดันทั้งด้านแข็งค่าและอ่อนคงก็จะลดลงอย่างต่อเนื่องจนทำให้อัตราแลกเปลี่ยนกลับไปสู่ค่าที่สอดคล้องกับทฤษฎี UIP ในระยะยาว

อ่านฉบับเต็ม
https://www.pier.or.th/wp-content/uploads/2018/04/pier_dp_084.pdf 

Source: PIER

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

บทความสนับสนุนโดย FXPro
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"