forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ผวา 'หยวน' อ่อนค่า หวั่นเปิดฉาก 'สงครามค่าเงิน'

ประเด็นหนึ่งที่กำลังถูกจับตามองไปพร้อม ๆ กับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ก็คือการอ่อนค่าของเงินหยวน ซึ่งปรากฏว่า ณ วันที่ 3 กรกฎาคม เงินหยวนอ่อนค่าที่สุดในรอบ 11 เดือน โดยตลาดออนชอร์ซื้อขายอยู่ที่ 6.6748 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ

ถือเป็นครั้งแรกนับจากเดือนสิงหาคม ปีที่แล้ว ที่อ่อนค่าเกิน 6.7 หยวนต่อดอลลาร์ จากปกติที่ธนาคารแห่งชาติจีนกำหนดค่ากลางไว้ที่ 6.6497 หยวนต่อดอลลาร์

เฉพาะเดือนมิถุนายน ซึ่งสหรัฐเริ่มประกาศรายชื่อสินค้าจากจีนที่จะถูกสหรัฐเก็บภาษีนำเข้า ส่งผลให้เงินหยวนอ่อนค่าไปแล้ว 3.25% ทำให้บางคนเปรียบเทียบว่าสถานการณ์ดังกล่าวคล้าย ๆ กับเดือนสิงหาคมปี 2558 เมื่อธนาคารกลางจีนปล่อยให้เงินหยวนอ่อนค่ามากอย่างไม่คาดฝันเกือบ 3% เทียบกับดอลลาร์สหรัฐ จนเกิดความปั่นป่วนทั่วโลก เพราะต้องการกระตุ้นการส่งออก หลังจากการส่งออกลดลงและเศรษฐกิจชะลอตัวมาก

การอ่อนค่าของหยวนในรอบนี้ ทำให้ถูกจับตาว่าจีนจะใช้ค่าเงินตอบโต้สหรัฐและเอื้อการส่งออก จนอาจนำไปสู่สงครามค่าเงินหรือไม่ อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ไม่ได้มองว่าจีนจงใจลดค่าเงิน แต่เกิดจากกลไกตลาดที่สืบเนื่องมาจากความเสี่ยง ของสงครามการค้า เพราะหลังจาก สหรัฐตั้งกำแพงภาษีสินค้าจากจีน บรรดานักลงทุนก็พากันทิ้งสกุลเงินตลาดเกิดใหม่แล้วหันมาถือครองดอลลาร์เพื่อความปลอดภัยแทน ทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น จึงเป็นธรรมดาที่ค่าเงินหยวนจะอ่อนลง

ไอริส ผาง นักเศรษฐศาสตร์ธนาคารไอเอ็นจีในจีน ระบุว่า การลดค่าเงินหยวนเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2558 ถือเป็นวิกฤตที่เกิดจากความจงใจของธนาคารกลาง แต่ในครั้งนี้การอ่อนค่าถูกขับเคลื่อนด้วยกลไกตลาดเพื่อสะท้อนความเสี่ยง จากสงครามการค้า และมันบ่งชี้ว่าธนาคารกลางจีนปล่อยให้พลังของ ตลาดเป็นผู้กำหนดความเร็วของการอ่อนค่า ทั้งนี้ไอเอ็นจีคาดการณ์ว่า ค่าเงินหยวนเมื่อถึงสิ้นปีจะอยู่ระหว่าง 6.6 ถึง 7 หยวนต่อดอลลาร์

อลัน รัสกิน นักกลยุทธ์อัตราแลกเปลี่ยนดอยช์แบงก์ บอกว่า ยังไม่ชัดเจนว่าการอ่อนค่าของเงินหยวนสิ้นสุดลงแล้ว แต่เรื่องสงครามค่าเงินนั้น ไม่คิดว่าจะมีฝ่ายไหนเปิดสงครามการค้าเต็มรูปแบบจนนำไปสู่สงครามค่าเงิน เพราะไม่เป็นผลดีต่อผลประโยชน์ของตัวเอง ขณะเดียวกันการที่เงินหยวนอ่อนค่า ก็เกิดจากนโยบายผ่อนคลายทางการเงินของจีนเพื่อรับมือสงครามการค้า อย่างเช่นการลดกันสำรองธนาคารพาณิชย์เพื่อประคองเศรษฐกิจ ไม่ใช่เป็นการจงใจลดค่าเงินโดยตรง

มีรายงานว่า นายอี้ กาง ผู้ว่าการธนาคารกลางจีน ชี้แจงว่า การอ่อนค่าของเงินหยวนเกิดจากการแข็งค่าของดอลลาร์ รวมทั้งปัจจัยภายนอกหลายอย่างที่ไม่มีความแน่นอน และยืนยันว่าจีนจะดำเนินนโยบายการเงินอย่างรอบคอบระมัดระวัง รวมทั้งจะรักษา ค่าเงินให้อยู่ในระดับสมเหตุสมผล

ส่วนมุมมองของ บอริส ชลอสส์เบิร์ก แห่งบีเค แอสเสท แมเนจเมนต์ ความกังวลในตลาดเงินตราถูกยกออกไป บางส่วน หลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ มีท่าทีผ่อนปรนลง เห็นได้จากทรัมป์สนับสนุนให้ยกเครื่องคณะกรรมาธิการการลงทุนของต่างชาติในสหรัฐ โดยคณะกรรมาธิการจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าบริษัทจีนควรได้รับอนุญาตให้เป็นเจ้าของกิจการในสหรัฐหรือไม่ ซึ่งถือว่าเป็นมาตรการที่ผ่อนคลายความแข็งกร้าวลงจากเดิมที่ห้ามไม่ให้บริษัทใดก็ตามที่มีจีนถือหุ้น 25% เข้าซื้อกิจการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีในสหรัฐ

ที่ผ่านมาจีนถูกรัฐบาลสหรัฐกล่าวหาบ่อย ๆ ว่าจงใจกดค่าเงินหยวนให้อ่อนเพื่อสร้างความได้เปรียบในการส่งออก เมื่อมาถึงรัฐบาลทรัมป์ การกล่าวหาจีนยิ่งรุนแรงขึ้น โดยจีนเกือบถูกสหรัฐจัดให้อยู่ในประเทศที่มีการ "บงการค่าเงิน"

อย่างไรก็ตาม การที่ปัญหาความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสองประเทศยังไม่ได้รับการแก้ไข จึงทำให้ ตลาดยังคงถูกปกคลุมด้วยความไม่แน่นอน ต้องรอลุ้นว่าจะเกิดสงครามการค้าเต็มรูปแบบจนนำไปสู่สงครามค่าเงินหรือไม่

Source: ประชาชาติธุรกิจออ

https://www.prachachat.net/world-news/news-186625 

เพิ่มเติม
- China Won’t Weaponize the Yuan in Trade War, PBOC Official Says :

https://www.bloomberg.com/news/articles/2018-07-03/china-to-keep-yuan-stable-at-equilibrium-level-pboc-s-yi-says 

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

บทความสนับสนุนโดย FXPro
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"