forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

เสถียรภาพระบบการเงินต้นกำาเนิด 'วิกฤติเศรษฐกิจ'

Big Data Analysis เสถียรภาพระบบการเงินต้นกำเนิด "วิกฤติเศรษฐกิจ" ต้นเหตุของวิกฤติเศรษฐกิจในหลายๆ ครั้ง เกิดจากความไม่มีเสถียรภาพในระบบการเงิน จะเห็นว่าในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา

วิกฤติเศรษฐกิจมักมีต้นกำเนิดจากความไร้เสถียรภาพในระบบการเงิน ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติเศรษฐกิจใน อาร์เจนตินา แคเมอรูน แอฟริกากลาง ปารากวัย และ แซมเบีย

ปี 2538 ซึ่งเป็นวิกฤติสถาบันการเงิน สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจสูงถึง 13% ของจีดีพี วิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 หรือ วิกฤติต้มยำกุ้ง ที่เกิดจากประเทศไทย ก่อนขยายวงไปยังประเทศอื่นๆ ก็เกิดจากความไร้เสถียรภาพในภาคสถาบันการเงินและลามไปสู่วิกฤติค่าเงิน สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจราว 49% ของจีดีพี

โดยวิกฤตครั้งนั้นเกิดจากการเปิดเสรีด้านเงินทุนจนเงินต่างชาติไหลเข้าจำนวนมาก ก่อฟองสบู่ในภาคอสังหาฯ ขณะที่สินเชื่อขยายตัวสูงแบบไร้คุณภาพวิกฤติสินเชื่อด้อยคุณภาพ หรือ วิกฤติซับไพร์ม ในสหรัฐเมื่อปี 2551 ก็มีสาเหตุสำคัญจากภาคสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อให้กับหละหลวม โดยให้เงินกู้กับบุคคลที่ไม่พร้อมหรือไม่มีศักยภาพในการกู้เงินอย่างแท้จริง

ส่งผลให้มีภาระหนี้เกินตัวท้ายสุดไม่สามารถชำระคืนหนี้ได้ จึงกลายเป็นวิกฤติในท้ายที่สุด ซึ่งสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจราว 35% ของจีดีพี

Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/806600 

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

บทความสนับสนุนโดย FXPro
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"