forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ประเทศจีนกับปัญหาเรื่องปริมาณหนี้ น่ากลัวสุดๆ จริงหรือไม่ ??

ก่อนอื่น เรามาลองดูโครงสร้างปริมาณหนี้สินของประเทศจีนกันคร่าวๆ ประเทศจีนมีหนี้รวมทั้งหมด 260% ต่อ จีดีพี โดยมีตัวเลขคร่าวๆ คือ มีหนี้รัฐบาลประมาณ 50% มีหนี้ภาคเอกชนประมาณ 168% ต่อจีดีพี

และมีหนี้ภาคครัวเรือนประมาณ 48% ต่อจีดีพี ดังนั้น หนี้ที่มีปัญหาคือหนี้ภาคเอกชนที่มีสูงถึง 168% ต่อจีดีพี ในขณะที่หนี้สินตัวอื่นๆ ยังอยู่ในสภาวะปลอดภัย

พฤติกรรมการใช้จ่ายเงินและการลงทุนของคนจีน กับหนี้ครัวเรือน 48% ต่อจีดีพี

แม้ตัวเลขหนี้ของประเทศจีนโดยรวมจะสูงจนอยู่ในระดับที่น่ากลัว แต่ตัวเลขอีกหนึ่งตัวที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือตัวเลขของจำนวนเงินที่ถูกเก็บอยู่ในบัญชีธนาคารของทั้งประเทศจีน ที่มีตัวเลขเงินเก็บอยู่ถึง 23 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ หากเทียบกับจีดีพีของประเทศจีนที่มีปริมาณ 11 ล้านล้านเหรียญแล้ว ถือได้ว่าประเทศจีนเป็นประเทศที่มีเงินฝากธนาคารสูงถึง 200% ต่อจีดีพี 

การที่มีเงินเก็บในธนาคาร แปลว่านั่นเป็นเงินที่เหลือจากการใช้จ่าย ที่ผ่านมา การบริโภคภายในประเทศจีนเติบโตอย่างมหาศาล อุตสาหกรรมต่างๆ เติบโต 10 - 30% นั่นแปลว่าบริษัทจีนภาพรวมมีรายได้เพิ่มขึ้น เมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้น จึงมีความสามารถที่จะก่อหนี้มากขึ้นด้วยเป็นเงาตามตัว ดังนั้น หนี้ครัวเรือนที่ 48% ต่อจีดีพีจึงไม่ใช่ตัวเลขที่ก่อให้เกิดปัญหาแต่อย่างใด

นอกจากนี้ การเก็บเงินของคนจีนไม่ได้เก็บเงินเฉพาะในบัญชีธนาคารเท่านั้น แต่ด้วยค่านิยมของคนจีนที่นิยมทำมาค้าขาย และเห็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นความมั่นคงอย่างหนึ่งของชีวิต คนจีนจึงนิยมซื้อบ้าน ซื้อตึกแถว โดยเชื่อว่าในอนาคตมันจะมีราคาสูงขึ้น รวมไปถึงซื้อมาเพื่อขยายธุรกิจ หรือให้ลูกเอาไว้เป็นสินทรัพย์สำหรับแต่งงานอีกด้วย เพราะเหตุนี้ เมื่อเงินในประเทศจีนมีเยอะเต็มไปหมดเช่นนี้ ความต้องการซื้อในอุตสาหกรรมอสังหาจึงเติบโตเร็วมาก เราจึงเห็นตึกที่ทำการก่อสร้างแต่ยังไม่มีคนอยู่อาศัยเต็มไปหมด ส่วนหนึ่งมาจากความต้องการเก็บเงินในอสังหาแทนการเก็บเงินในบัญชีธนาคารนั่นเอง

ธุรกิจ เทคโนโลยี และการจัดการทางการเงินยุคใหม่ในประเทศจีน

ด้วยนโยบายของประเทศจีนที่ต้องการขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเงิน สังคมไร้เงินสด พ่วงด้วยการเติบโตของธุรกิจโทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ตในประเทศจีน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับการใช้ชีวิตของคนจีนไปอย่างสิ้นเชิง 

คนจีนปัจจุบันนี้ เคยชินกับการซื้อของออนไลน์ คาดหวังกับการซื้อของและได้รับสินค้าภายใน 1 วัน เวลาชำระเงินก็ไม่ชำระเงินสด แต่ใช้ WeChat หรือ Alipay ในการจ่ายแทน จะทำธุรกรรมอะไรก็ไม่ต้องใช้เงินสดทั้งนั้น ทุกอย่างสามารถเชื่อมโยงกับการจ่ายเงินผ่าน WeChat และ Alipay ได้ทั้งหมด โดยเฉพาะ Alipay นั้น คนจีนไม่ได้มองว่า Alipay เป็นแอปพลิเคชันสำหรับการชำระเงินอีกต่อไป แต่มองว่าเป็นแอปพลิเคชันที่ตอบสนองการใช้ชีวิตไปแล้ว 

เมื่อปัจจัยด้านเทคโนโลยี เชื่อมโยงเข้ากับพฤติกรรมการซื้อของออนไลน์และชำระเงินอันง่ายดาย ทั้งหมดนั้นก่อให้เกิดจำนวนครั้งที่ใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นโดยผู้ซื้อบางทีก็ไม่รู้ตัว เมื่อการหมุนของเงินในระบบหมุนเร็วขึ้นควบคู่กับการเติบโตของยอดขาย ทั้งหมดนั้นส่งผลให้เศรษฐกิจเติบโตแบบมัลติพลายมากขึ้น

หนี้ภาครัฐบาล

หนี้ภาครัฐบาลจีนอยู่ที่ประมาณ 50% ต่อจีดีพี และธนาคารกลางของจีน ยังไม่เคยใช้นโยบาย QE มาก่อน ในขณะที่หนี้ภาครัฐบาลของสหรัฐอยู่ที่ 105% ต่อจีดีพี หนี้ภาครัฐบาลญี่ปุ่น 253% ต่อจีดีพี หนี้ภาครัฐบาลของเขตยูโรโซน 86% ต่อจีดีพี และทั้งหมดในกลุ่ม G3 นี้ ต่างก็ทำ QE มาแล้วเป็นจำนวนมหาศาล 

ดังนั้น หากดูตัวเลขหนี้ภาครัฐบาลของจีนเมื่อเทียบกับกลุ่ม G3 ซึ่งล้วนแล้วแต่อยู่ในตะกร้าเงิน ซึ่งเป็น Reserve Currency ของโลกใบนี้ เราจะพบว่าสถานะทางการเงินของธนาคารกลางจีนนั้นยังห่างไกลจากคำว่าวิกฤตยิ่งนัก ยังไม่นับว่าประเทศจีนเป็นประเทศที่มีการสะสมทองคำมาตลอด จากการรายงานของ Bullionstar สิงคโปร์ รายงานการคาดการณ์เอาไว้ในปี 2017 ว่า ประเทศจีนในเวลานี้ น่าจะมีทองคำสะสมเอาไว้มากกว่า 20,000 ตันแล้ว

ด้วยเหตุนี้ หากเกิดเหตุการณ์ที่เศรษฐกิจจีนมีปัญหาในภาคเอกชน ธนาคารจีนนั้นมีศักยภาพเหลือเฟือที่จะเข้าช่วยเหลือ หรือแม้แต่หากประเทศใดเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ ประเทศจีนเองก็เป็นประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพสูงมากที่จะเข้าให้ความช่วยเหลือแทนที่ IMF

หนี้ภาคเอกชน

ตอนนี้ความกังวลเกี่ยวกับหนี้นั้นพุ่งตรงเข้าสู่หนี้ภาคธุรกิจจีน ที่มีปริมาณสูงถึง 168% ต่อจีดีพี ถ้าถามว่าเรื่องนี้ถือว่ามีปัญหาไหม ก็ต้องตอบว่าเป็นปัญหาหนึ่งของรัฐบาลจีนในขณะนี้ นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประเทศจีนประกาศการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ เพื่อกลับมาตรวจสอบธุรกิจที่มีปัญหาในเรื่องของโครงสร้างหนี้ที่มีการกู้ยืมมากเกินไป 

เราได้เห็นการจัดการกับบริษัทที่รายได้ไม่ตอบสนองภาระหนี้ของรัฐบาลจีนที่ปล่อยให้บริษัทนั้นล้ม หรือบางบริษัทที่มีความสำคัญและมีศักยภาพ รัฐบาลจีนจะใช้วิธีการให้บริษัทใหญ่ เช่น บริษัท Tencent / Alibaba หรือ JD เป็นต้น เข้ามาให้ความช่วยเหลือทั้งในเรื่องของโครงสร้างการบริหารและโครงสร้างทางการเงิน 

อีกหนึ่งปัจจัยที่น่าสนใจคือ บริษัทใหญ่จำนวนมากของจีน จะมีรัฐบาล หรือรัฐบาลท้องถิ่น เข้าไปมีส่วนร่วมในการถือหุ้นด้วย ดังนั้นจึงสามารถพูดได้ว่า ประเทศจีน เป็นประเทศที่มี เจ้าหนี้ (ธนาคาร) และ ลูกหนี้ (บริษัท) เป็นคนกลุ่มเดียวกัน คือ รัฐบาลจีน ดังนั้น ในหลายๆ ครั้ง การจัดการหนี้สินเป็นเรื่องของการเคลื่อนย้ายเงินจากกระเป๋าซ้ายไปกระเป๋าขวา อย่างที่ครั้งหนึ่ง รัฐบาลจีนเคยแยกหนี้เสียออกมาจากหลายๆ บริษัทมารวมกัน และตั้งบริษัทมาดูแลหนี้เสียเหล่านี้ หลังจากระยะเวลาผ่านไป พอสถานการณ์ดีขึ้น บริษัทที่เคยมีปัญหาเหล่านี้ก็เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และหนี้ที่เคยเป็นหนี้เสียก็สามารถนำมาขายกลับเป็นหนี้ดีได้อีกครั้ง 

เพราะเหตุนี้ หนี้สินภาคเอกชนอาจจะเป็นปัญหาก็จริง ยิ่งในช่วงของดอกเบี้ยขาขึ้นเช่นนี้ หากปล่อยปละละเลยก็จะทำให้กลายเป็นผลเสียกับเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ในเมื่อรัฐบาลจีนได้ตระหนักถึงปัญหานี้และเข้ามาดูแลจัดการ รวมทั้งเมื่อพิจารณาถึงศักยภาพของธนาคารกลางจีนด้วยแล้ว หนี้ภาคเอกชนมีแนวโน้มที่จะได้รับการแก้ไขให้ปัญหาเบาบางลง มากกว่าที่ปัญหานี้จะก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในภายภาคหน้า 

สรุป

ถ้ามองตัวเลขปริมาณหนี้ในภาคส่วนต่างๆ เราจะเห็นได้ว่าส่วนที่มีปัญหามากที่สุดคือหนี้สินภาคเอกชน ซึ่งหากรัฐบาลจีนมองข้าม ละเลย ปัญหานี้ มันก็จะเป็นความเสี่ยงที่น่ากลัวของเศรษฐกิจจีน อย่างไรก็ตาม จากท่าทีของรัฐบาลจีนที่ประกาศครั้งแล้วครั้งเล่าว่าปัญหาเรื่องหนี้สินและความไม่มั่นคงทางการเงินของภาคเอกชนเป็นปัญหาที่รัฐบาลรับรู้ อยู่ในสายตา และกำลังแก้ไขปัญหานี้อยู่ หนี้สินที่สูงขึ้นนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความร้อนแรงของเศรษฐกิจจีน ดังนั้นเราจึงได้เห็นในสองสามปีที่ผ่านมานี้ รัฐบาลจีนประกาศว่าต้องการลดตัวเลขการเติบโตของ GDP ส่วนหนึ่งเพื่อควบคุมปริมาณหนี้สิน อีกส่วนหนึ่งก็เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจกลายเป็นฟองสบู่ 

ดังนั้น เกี่ยวกับเรื่องหนี้สินของจีน หลายฝ่ายมองตรงกันว่ามันมีปัญหาในระบบเศรษฐกิจของจีน แต่เป็นปัญหาที่สามารถบริหารจัดการได้ และไม่ใช่ปัญหาที่น่ากลัวเหมือนอย่างที่สื่อฟากตะวันตกนำเสนอแต่อย่างใด

Mei

Credit : https://youtu.be/AzNjHYoCVKc

#China #Debt #MacroEconomics #Dinotech

Cr.DinoTech5.0

บทความสนับสนุนโดย FXPro
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"