forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

KBANK คาดกรอบบาทสัปดาห์หน้า 34.85-35.50 จับตาจีดีพี Q2-การเมืองไทย

สำหรับกรอบค่าเงินบาทในสัปดาห์ถัดไป (19-23 ส.ค.) ธนาคารกสิกรไทยคาดว่าจะเคลื่อนไหวในช่วง 34.85-35.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่:

  1. ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2/2567 ของไทย: ตัวเลขนี้จะช่วยประเมินการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา
  2. ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.): การตัดสินใจของ กนง. จะมีผลต่อทิศทางของดอกเบี้ยและเงินบาท
  3. สถานการณ์การเมืองและนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่: ความไม่แน่นอนในด้านการเมืองอาจมีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน
  4. ทิศทางเงินทุนต่างชาติ: การเคลื่อนไหวของเงินทุนจากต่างประเทศจะส่งผลต่อค่าเงินบาท
  5. สัญญาณเกี่ยวกับทิศทางดอกเบี้ยจากประธานเฟด: การพูดคุยของประธานเฟดในงานสัมมนาที่เมืองแจ็กสัน โฮล อาจส่งผลต่อคาดการณ์ดอกเบี้ยในสหรัฐฯ

นอกจากนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่:

  • ยอดขายบ้านมือสองและยอดขายบ้านใหม่เดือนกรกฎาคม
  • บันทึกการประชุมเฟดเมื่อวันที่ 30-31 กรกฎาคม
  • ตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

ตลาดยังคงจับตาการประกาศอัตราดอกเบี้ย LPR ของจีน อัตราเงินเฟ้อเดือนกรกฎาคมของยูโรโซนและญี่ปุ่น รวมถึงดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคบริการ (เบื้องต้น) เดือนสิงหาคมของญี่ปุ่น ยูโรโซน อังกฤษ และสหรัฐฯ

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา (12-16 ส.ค.) เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 7 เดือนที่ 34.84 บาท/ดอลลาร์ฯ ก่อนจะอ่อนค่าลงบ้างในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจาก:

  • การฟื้นตัวของเงินดอลลาร์ฯ จากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ดีขึ้น
  • แรงขายสุทธิพันธบัตรไทยจากนักลงทุนต่างชาติ
  • การปรับตัวขึ้นของราคาทองคำที่สนับสนุนเงินบาท

ค่าเงินบาทปิดตลาดในประเทศวันที่ 16 ส.ค. ที่ 35.02 บาท/ดอลลาร์ฯ เทียบกับ 35.29 บาท/ดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (9 ส.ค.) ขณะที่สถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ระหว่างวันที่ 13-16 ส.ค.67 พบว่ามีการซื้อสุทธิหุ้นไทย 429.8 ล้านบาท แต่มี Net Outflows จากตลาดพันธบัตรไทย 27,923 ล้านบาท

คลิก

Cr.กรุงเทพธุรกิจ

----------------------------------------------------------

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4yo

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"