forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

เช็กชีพจร เศรษฐกิจครึ่งปีหลัง ปี 2567

เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2567 มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวขึ้นจากปัจจัยลบหลายประการได้คลี่คลายลงไปแล้ว โดยเฉพาะการล่าช้าของงบประมาณภาครัฐฯ และการชะลอตัวของอุปสงค์โลกที่ทำให้ภาวะการส่งออกสินค้าหดตัวในปีที่ผ่านมา


ทิศทางเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง
1.การฟื้นตัวของภาคบริการ: ภาคบริการโดยเฉพาะการท่องเที่ยวต่างชาติได้รับการคาดการณ์ว่าจะฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติและรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยหนุนการบริโภคภาคเอกชนให้ขยายตัวได้ในระดับที่ใกล้เคียงกับภาวะปกติในช่วงก่อนที่โควิด-19 จะระบาด.
2.การลงทุนภาคเอกชน: แม้ว่าการลงทุนภาคเอกชนจะยังคงขยายตัวต่อเนื่อง แต่มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากปีก่อน เนื่องจากการฟื้นตัวของภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่ยังช้าและมีความเสี่ยงจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง.
3.อัตราเงินเฟ้อ: ภาพของอัตราเงินเฟ้อเริ่มมีทิศทางเร่งตัวขึ้นจากช่วงก่อน แม้จะแผ่วลงไปบ้างในเดือนมิถุนายน แต่ดีขึ้นกว่าช่วงก่อนที่หดตัวมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่กลางปี 2566.
4.นโยบายการเงิน: อัตราดอกเบี้ยนโยบายคาดว่าจะทรงตัวที่ระดับ 2.50% ในปีนี้ เนื่องจากทิศทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะปรับดีขึ้น อัตราเงินเฟ้อกำลังเร่งตัว และปัจจัยกดดันเชิงวัฎจักรได้คลี่คลายลงไปมากแล้ว.
ความเสี่ยงและท้าทาย
1.การเบิกจ่ายงบประมาณ: การเร่งขึ้นของการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐฯ จะมีเม็ดเงินลงไปสู่ภาคเศรษฐกิจจริง และช่วยพยุงเศรษฐกิจในช่วงที่การท่องเที่ยวเป็นช่วง Low Season ได้อย่างเพียงพอหรือไม่.
2.ภาระหนี้สินของครัวเรือน: ภาระหนี้สินของครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นจะกดดันการบริโภคของครัวเรือนไทยมากน้อยแค่ไหน รวมไปถึงการเร่งตัวขึ้นของหนี้ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ (SML) ว่าจะเปลี่ยนไปเป็น NPL ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นมากจนน่าเป็นห่วงหรือไม่ โดยเฉพาะสินเชื่อในกลุ่มรถยนต์ บัตรเครดิต และอสังหาริมทรัพย์ระดับกลาง-ล่าง.
3.การส่งออกสินค้า: การส่งออกสินค้าของไทยในระยะข้างหน้าคาดว่าจะได้รับอานิสงค์จาการค้าโลกที่ฟื้นตัวในระดับที่น้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับในอดีต เนื่องจากปัจจัยเชิงโครงสร้างของสินค้าส่งออกหลายหมวดที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงขึ้น กลับเป็นสินค้าที่โลกมีความต้องการลดลง.
ทั้งหมดนี้เป็นมุมมองและประมาณการจากหลายหน่วยงานที่ชี้ให้เห็นถึงทิศทางเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2567 รวมถึงความเสี่ยงและท้าทายที่ต้องจับตาเป็นอย่างยิ่ง.


คลิก

-------------------------------------------------------------------------------------

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4yo

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"