forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

แบงก์ชาติญี่ปุ่นส่อขาดทุน สะเทือนถึงรัฐบาล และอาจถูกลด “ความอิสระ”.

การปรับทิศนโยบายการเงินจาก “ผ่อนคลายเป็นพิเศษ” ไปสู่นโยบายการเงินแบบ “ปกติ” กำลังจะสร้างปัญหาใหญ่ให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan: BOJ)
ธนาคารกลางญี่ปุ่นใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบมาหลายปี เพิ่งขึ้นดอกเบี้ยสู่ 0.1%

เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และกำลังจะปรับขึ้นอีกในเร็ว ๆ นี้ ซึ่ง “เดอะ เจแปนไทม์ส” (The Japan Times) รายงานเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า นักเศรษฐศาสตร์มองว่าการขึ้นดอกเบี้ยอาจจะทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นเจอปัญหา “ไม่สามารถทำกำไรได้” เพราะอัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายนั้นสูงขึ้น
แล้วหากธนาคารกลางญี่ปุ่นต้องกลายเป็นองค์กรที่ขาดทุน ความเป็นอิสระของธนาคารกลางก็อาจจะถูกคุกคามโดยการแทรกแซงของรัฐบาล
ณ ปัจจุบัน ธนาคารกลางญี่ปุ่นมีขนาดงบดุล 750 ล้านล้านเยน (ประมาณ 170 ล้านล้านบาท) โดยเงินส่วนใหญ่ที่ใช้ซื้อพันธบัตรนั้นเป็นเงินฝากที่สถาบันการเงินเอกชนนำมาฝากไว้ ซึ่งมีดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางต้องจ่าย หรือพูดโดยสรุปว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นยืมเงินที่ธนาคารพาณิชย์นำมาฝากไว้ไปซื้อพันธบัตร
ปัจจุบันเงินฝากเหล่านั้นมีมูลค่ารวมประมาณ 470 ล้านล้านเยน (ประมาณ 106 ล้านล้านบาท) และมีอัตราดอกเบี้ยประมาณ 0.1%
แต่เนื่องจาก BOJ กำลังจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จึงหมายความว่าดอกเบี้ยที่ BOJ ต้องจ่ายให้ธนาคารพาณิชย์จะเพิ่มขึ้น ซึ่งหาก BOJ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 1% ก็จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเกือบ 5 ล้านล้านเยน (ประมาณ 1.13 ล้านล้านบาท) ต่อปี
เมื่อ BOJ ต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากมากขึ้น ก็จะส่งผลให้จำนวนเงินที่จ่ายออกไปนั้นไม่สมดุลกับจำนวนเงินที่ได้รับจากผลตอบแทนของพันธบัตรที่ถืออยู่ แล้วเมื่อถึงจุดหนึ่ง รายจ่ายโดยรวมก็จะมากกว่ารายรับโดยรวม
ฮิเดโอะ คุมาโนะ (Hideo Kumano) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของสถาบันวิจัย ไดอิจิไลฟ์ (Dai-Ichi Life) ซึ่งเป็นอดีตเจ้าหน้าที่ของ BOJ กล่าวว่า “มันค่อนข้างเป็นไปได้ที่ BOJ จะขาดทุน”
ทาคาฮิเดะ คิอุจิ (Takahide Kiuchi) นักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันวิจัยโนมูระ (Nomura Research Institute) ประมาณการในรายงานที่เผยแพร่เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาว่า BOJ จะ “ขาดทุน” หากปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นไปเป็น 0.6%
BOJ เองก็ตระหนักถึงความเสี่ยงดังกล่าวแล้ว จึงวางแผนจะลดขนาดการถือครองพันธบัตรรัฐบาล เพื่อลดภาระผูกพันและความเสี่ยงที่มาพร้อมกับพันธบัตรเหล่านั้น โดยวางแผนลดการซื้อพันธบัตรรัฐบาลชุดใหม่ ขณะที่พันธบัตรจำนวนหนึ่งที่ถืออยู่กำลังถึงกำหนดไถ่ถอน
ในการประชุมนโยบายการเงินเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา BOJ บอกว่าจะประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับการลดงบดุลในเดือนกรกฎาคมนี้ และจะเริ่มดำเนินการในเดือนสิงหาคมนี้ต่อเนื่องไปเป็นเวลาประมาณ 1-2 ปี
ทั้งนี้ ผลกำไรของ BOJ ส่วนใหญ่นั้นจะนำไปจ่ายให้กับรัฐบาล และนับตั้งแต่ปี 1998 ที่มีการผ่านร่างกฎหมายธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกำหนดให้ธนาคารกลางมีอิสระมากขึ้น BOJ ไม่เคยขาดดุลรายปีเลยแม้แต่ปีเดียว
ในปีงบฯ 2023 รัฐบาลญี่ปุ่นได้รับเงินจาก BOJ จำนวน 2.17 ล้านล้านเยน (ประมาณ 490,000 ล้านบาท) ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 2% ของงบประมาณทั้งหมดของรัฐบาล
คุมาโนะกล่าวว่า รัฐบาลจะสูญเสียรายได้และจะสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงหาก BOJ ต้องขาดทุน และรัฐบาลก็อาจจะจำกัดความอิสระในการกำหนดนโยบายการเงินของ BOJ เนื่องจากอาจต้องเผชิญกับการโจมตีทางการเมือง
อย่างไรก็ตาม คุมาโนะกล่าวเสริมว่า BOJ จะขาดทุนจริง ๆ หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับอัตราการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและความเร็วในการตัดลดงบดุลของ BOJ เอง กล่าวคือ หากอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นช้า และการตัดลดงบดุลตัดลดลงเร็ว การขาดทุนก็อาจจะไม่เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแต่น้อย

 

คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4yo

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"