forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

คอลัมน์ DEEP Talk: 'วิรไท'ห่วงเศรษฐกิจไทยภูมิคุ้มกันต่ำ ภาครัฐ-ครัวเรือนเผชิญหนี้ท่วม

"ภาพเศรษฐกิจไทยแย่ลง หากเทียบกับความท้าทายที่เราต้องเผชิญทั้งในปัจจุบันและอนาคตแย่ลงทั้งภาครัฐในระดับมหภาค ระดับครัวเรือน แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยมีภูมิคุ้มกันในระดับที่น่าห่วง"
นี่คือคำกล่าวของ "วิรไท สันติประภพ" อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)

ฉายภาพเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ผ่านรายการ "Deep Talk" กรุงเทพธุรกิจ ในช่วงที่ผ่านมา
"วิรไท" กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยวันนี้ "แย่ลง" หากเทียบกับปี 2540 ทั้งในระดับภาครัฐ ที่เป็นมหภาค และภาคครัวเรือนไทย ที่ปัจจุบันเผชิญปัญหาหนี้สูงขึ้นต่อเนื่อง คนไทยที่มีเงินออมเพียงพอที่จะดูแลตัวเองมีสัดส่วนค่อนข้างน้อย อีกทั้งคนไทยเป็นหนี้เร็วขึ้น เป็นหนี้เสียมากขึ้น เหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ภูมิคุ้มกันในระดับครัวเรือนอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง!
หากถามว่าเศรษฐกิจไทยมีความสามารถในการรับแรงกระแทกได้หรือไม่ เวลาที่เกิดวิกฤติภายนอกประเทศเกิดเหตุการณ์อะไรที่ไม่พึงประสงค์ คนมักจะคิดถึง 2-3ตัว ตัวแปรแรก ทุนสำรองระหว่างประเทศเพียงพอหรือไม่ หากทุนสำรองระหว่างประเทศ มีจำกัด เวลาที่เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นเงินก็ ไหลออกได้ง่าย เหล่านี้ส่งผลกระทบทั้งเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศ และสภาพคล่องภายในประเทศให้ลดลงด้วย ดังนั้นหากดูทุนสำรองในปัจจุบันของไทยเทียบวิกฤติปี 2540 วันนี้ทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยอยู่ระดับสูง มีความมั่นคง และไม่คิดว่า จะเป็นปัญหาในระยะข้างหน้า
อีกตัวแปรที่สำคัญ คือ ฐานะของ ภาคการคลัง ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปี 2540 ภาครัฐ ใช้เงินค่อนข้างมากเพื่อช่วยแก้ปัญหาวิกฤติสถาบันการเงินและดูแลเศรษฐกิจ ส่งผลให้หนี้ภาครัฐกระโดดขึ้น แต่ต่อมา การทำนโยบายประชานิยมหรือกึ่งประชานิยมมากขึ้น ถือเป็นรายจ่ายก้อนใหญ่ ทำให้หนี้ภาครัฐกระโดดขึ้น มากเช่นเดียวกัน จนกระทั่งเจอกับวิกฤติโควิด-19 ที่ภาครัฐต้องเข้ามาช่วยดูแลประชาชนและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจำให้หนี้ภาครัฐกระโดดขึ้น มาเหมือนขั้นบันไดสูงขึ้นต่อเนื่อง
วันนี้ หนี้ภาครัฐของไทยอยู่ในระดับค่อนข้างค่อนข้างสูง หากมองไปข้างหน้า การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ก็มีความจำเป็นของภาครัฐที่จะต้องจัดสรรเงินมาดูแลสวัสดิการให้กับประชาชน รายจ่ายของภาครัฐในอนาคตน่าจะเพิ่มสูงขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ น่าห่วง โดยเฉพาะเมื่อผู้มีอำนาจรัฐ อาจไม่ได้ระมัดระวังในเรื่องของวินัยการเงิน การคลัง ไม่ได้คำนึงถึงความคุ้มค่าของการใช้งบประมาณภาครัฐหรือมีการใช้งบประมาณภาครัฐที่ยังมีลักษณะเป็นประชานิยมมากๆ ที่อาจกระทบกับคนที่อยู่ในฐานะยากจน ที่จะใช้เงินไม่ระมัดระวัง จนอาจสร้างผลกระทบ และภูมิคุ้มกันของระบบเศรษฐกิจใน ระยะยาวให้ลดลงได้
ยิ่งไปกว่านั้น หากดูความสามารถในการปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างน้อยทั้งจากวิกฤติภูมิอากาศ ปัญหาโลกเดือด การแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศก็จะรุนแรงมากขึ้น ในขณะที่คนไทยจำนวนมากฝากชีวิตไว้ก็คือภาคเกษตรเป็นภาคที่เปราะบางมากกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะภูมิอากาศ อีกทั้งยังกระทบต่อผลผลิตในภาคการเกษตรให้ ลดลง หรือกระทบต่อภาคท่องเที่ยว
"เราคงไม่ได้เจอวิกฤติเหมือนปี 2540 แต่หากปล่อยปัญหาเหล่านี้ไว้ จะทำให้ทุกอย่างถดถอยลงไปเรื่อยๆ แล้วมันก็จะดึงกลับขึ้นมายาก โดยเฉพาะเมื่อคู่แข่งของเรากำลังวิ่งไปข้างหน้า แต่เราอยู่กับที่หรือเดินถอยหลังด้วยซ้ำไป ตอนที่เราอยู่กับที่อาจจะไม่รู้สึกว่าถอยหลัง เพราะว่าเราก็จะวุ่นวายกับเรื่องที่เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศ ดังนั้นอาจจะไม่ได้เกิดวิกฤติทันที แต่ถ้าสะสมไปเรื่อยๆ ถึงจุดหนึ่งก็น่าห่วง"
ดังนั้นในภาพรวม ยอมรับว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยเผชิญความท้าทายสูงขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต และหากย้อนดูภาพ "เศรษฐกิจไทย" ช่วงเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา ถือว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก และมีพัฒนาการหลายด้าน ซึ่งเรื่องที่จำเป็นสำหรับเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า
เรื่องแรกในเรื่องของการบริหารจัดการเศรษฐกิจมหภาค หากดูโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ปัจจุบันสิ่งที่พึงมี มองว่ามี 4 แกนหลัก คือ การเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) การกระจายผลประโยชน์อย่างทั่วถึง (Incusivity) การสร้างภูมิคุ้มกัน (Immunity) และความสามารถในการปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง(Adaptability)
"ความท้าทายที่เราต้องเผชิญเมื่อเทียบกับ ประเทศอื่นๆ ไทยน่าห่วง ยิ่งหากดูจาก ภาคสำคัญของเศรษฐกิจไทยที่มีผลกระทบ กับชีวิตคนส่วนมาก เช่น ภาคเกษตร ที่ผลผลิตต่อไร่ของพืชหลักแทบจะทุกชนิดคงที่ และอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ขณะที่ คู่แข่งของไทยมีผลิตภาพในภาคเกษตรที่สูงขึ้น จากการใช้เครื่องจักรเข้าไปในการทำ การเกษตร ส่งผ่านต้นทุนถูกลง ดังนั้น เมื่อแข่งขันในตลาดโลกจึงมีความสามารถในการแข่งขันสูงกว่าประเทศไทย หรือแม้แต่ผลิตภาคด้านการศึกษาของไทยที่อยู่ระดับต่ำ"
ยิ่งในอนาคต ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุเต็มรูปแบบ คนไทยมีวัยทำงานลดลง รัฐบาลมีภาระในการดูแลผู้สูงอายุ มากขึ้น แปลว่า คนไทยจะต้องหารายได้ มากขึ้นมากขึ้น ดังนั้นการทำสิ่งเหล่านี้ได้ ผลิตภาพคนไทยจะต้องเพิ่มขึ้น เพื่อให้มีความสามารถที่จะหารายได้เพียงพอที่จะเลี้ยงดู ผู้สูงวัยในสังคม
ในทางกลับกันการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ทำได้ยาก โดยเฉพาะการปฏิรูปที่เกิดขึ้น ได้ยาก ภายใต้ปัญหาของเศรษฐกิจไทย ที่ยังมีความเหลื่อมล้ำที่ขยายกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนหนึ่งมองว่า ทั้งความสามารถในการแข่งขันของเอสเอ็มอี ที่ไม่เท่าทันการเปลี่ยนแปลงกับ คู่แข่งที่ใหญ่กว่าในประเทศไทย รวมทั้งสินค้านำเข้าจากประเทศที่เป็นฐานการผลิตใหญ่ที่มีต้นทุนต่ำที่ออกมาจำนวนมาก
จะเห็นว่า เหล่านี้เป็นปัญหาสำคัญ หลายภาคส่วนของประเทศไทยไม่สามารถ ยกผลิตภาพขึ้นมาได้ โดยเฉพาะ "เอสเอ็มอีไทย" ที่สายป่านสั้น เป็นแหล่งจ้างงานของคนไทยจำนวนมาก ยิ่งปล่อยไว้ รังแต่จะสร้างปัญหา และยิ่งสร้างความเหลื่อมล้ำต่อเศรษฐกิจไทยมากขึ้น เชื่อว่าเป็นประเด็นที่น่าห่วงอย่างมาก
โดย วิชชุลดา ภักดีสุวรรณ

 

คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4yo

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"