forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

รัฐเล็งโยก 'หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ' คืน ’ธปท.‘ ลดหนี้สาธารณะ-เปิดพื้นที่การคลัง

รัฐบาลเล็งโยกเงินกองทุนฟื้นฟูสถาบันการเงินฯ 8 แสนล้าน ให้แบงก์ชาติแทนการใช้ FIDF แบบในปัจจุบัน เปิดพื้นที่การคลัง ลดเพดานหนี้สาธารณะ หลังก่อนหน้านี้สมัยเป็นรัฐบาลครั้งก่อน เคยโยกภาระการจ่ายดอกเบี้ยไปให้สถาบันการเงินมาแล้ว

เตรียมหารือแบงก์ชาติทำเป็นขั้นตอน ตลอด 8 เดือน บนเก้าอี้นายกรัฐมนตรี ของนายเศรษฐา ทวีสิน มีประเด็นที่เห็นแตกต่างจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไม่ว่าจะเป็นโครงการเงินดิจิทัล รวมถึงความเป็นอิสระของ ธปท.ที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยมองเป็นอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
ล่าสุดมีความเห็นของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในงาน ‘10 เดือนที่ไม่รอ ทำต่อให้เต็ม 10’ เมื่อวันที่ 3 พ.ค.2567 โดยเห็นว่ากฎหมายพยายามให้ ธปท.เป็นอิสระจากรัฐบาล
สำหรับประเด็นดังกล่าว น.ส.แพทองธาร เห็นว่าเป็นอุปสรรคในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เพราะนโยบายการคลังถูกใช้งานข้างเดียวอย่างหนัก จนทำให้หนี้สาธารณะสูงขึ้นทุกปี จากการที่รัฐบาลต้องตั้งงบประมาณแบบขาดดุล รวมทั้งเห็นว่านโยบายการเงินที่บริหารโดย ธปท.ไม่ยอมเข้าใจและร่วมมือ จะทำให้ประเทศจะไม่มีทางลดเพดานหนี้ลงมาได้
นอกจากนี้เป้าหมายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลและ ธปท.แตกต่างกัน โดยรัฐบาลตั้งเป้าหมายในช่วง 4 ปี เศรษฐกิจจะต้องเติบโตเฉลี่ยปีละ 5% ในขณะที่ ธปท.ประมาณการเศรษฐกิจปี 2567 ขยายตัว 2.5-3.0%
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า รัฐบาลกำลังวางแนวทางในการบริหารงานเกี่ยวกับ ธปท.เพื่อให้ส่งเสริมนโยบายการทำงานของรัฐบาลได้มากขึ้น โดยหนี้สาธารณะบางส่วนที่อยู่ในบัญชีบริหารหนี้สาธารณะที่เกิดจากความเสียหายของสถาบันการเงินตั้งแต่วิกฤติการเงินปี 2540
สำหรับหนี้ส่วนนี้ปัจจุบันอยู่ในบัญชีของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (Financial Institutions Development Fund) หรือ FIDF ปัจจุบันมีหนี้คงเหลืออยู่ตามบัญชี FIDF 1 และ FIDF 3 ณ เดือน เม.ย.2567 เป็นวงเงิน 590,869 ล้านบาท จากยอดที่รับมาดำเนินการเมื่อเดือน ม.ค.2555 อยู่ที่ 1.13 ล้านล้านบาท แบ่งได้ ดังนี้
1.FIDF 1 ยอดที่รับมาดำเนินการเมื่อเดือน ม.ค.2555 อยู่ที่ 463,275 ล้านบาท ปัจจุบันเหลือ 265,327 ล้านบาท
2.FIDF 3 ยอดที่รับมาดำเนินการเมื่อเดือน ม.ค.2555 อยู่ที่ 675,030 ล้านบาท ปัจจุบันเหลือ 325,542 ล้านบาท
ทั้งนี้ หนี้ในส่วนนี้แม้ว่าปัจจุบันรัฐบาลจะมีการออกกฎหมายเมื่อปี 2555 ให้หนี้ส่วนนี้อยู่ในความรับผิดชอบของ ธปท.โดยมีการออก พ.ร.ก.การปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
โดยกำหนดให้ ธปท.นำอัตราเงินนำส่งเงินสมทบกองทุนฟื้นฟูฯ (FIDF fee) จากธนาคารพาณิชย์อัตรา 0.46% ต่อปี มาเข้ากองทุนเพื่อชดเชยส่วนนี้แทนการตั้งงบประมาณใช้คืนที่ทำมานับสิบปีปีละ 50,000-60,000 ล้านบาท แต่ปัจจุบันหนี้ส่วนนี้ยังนับเป็นหนี้สาธารณะ เพราะอยู่ในบัญชีหนี้สาธารณะของรัฐบาลทำให้สำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ต้องบันทึกหนี้สาธารณะรายงานและคำนวณในหนี้สาธารณะของประเทศทุกปี
###
### รัฐบาลเล็งหารือ ธปท.รับภาระหนี้กองทุน FIDF
นอกจากนี้ รัฐบาลมีมุมมองว่าหนี้ในส่วนนี้ควรจะมีการหารือกับ ธปท.ในการรับหนี้จำนวนนี้ไปอยู่ในบัญชีการบริหารหนี้ของ ธปท.เองทั้งหมด เพื่อให้หนี้ในส่วนนี้ไม่ต้องอยู่กับกองทุน FIDF ที่จะต้องมานับเป็นหนี้สาธารณะ ซึ่งจะช่วยให้บริหารงบประมาณและหนี้สาธารณะในส่วนของรัฐบาลได้คล่องตัวมากขึ้น และสอดคล้องกับระดับหนี้สาธารณะปัจจุบันที่อยู่ใกล้ระดับ 70% ซึ่งเป็นเพดานหนี้สาธาณระด้วย
> “หนี้ในส่วนนี้เกิดจากสถาบันการเงิน ซึ่งไม่ใช่หนี้ของรัฐบาลและประชาชนอยู่แล้วแต่เกิดจากความเสียหายของสถาบันการเงินในปี 2540 ที่เกิดวิกฤติขึ้น ซึ่งหากสามารถที่จะคุยกับ ธปท.และนำหนี้ส่วนนี้ออกไปให้ ธปท.บริหาร

ซึ่งอาจมีการกำหนดสัดส่วนในการใช้หนี้คืนให้มากขึ้นซึ่งสามารถจะจัดการหนี้ได้ วงเงินที่ลดลงจากหนี้สาธารณะส่วนนี้ก็จะสามารถมาทำนโยบายที่เป็นประโยชน์กับประชาชนได้”
ด้านนายนณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโสสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่าหนี้ของกองทุนฟื้นฟูสถาบันการเงินฯนั้นมีการออกกฎหมายให้ ธปท. ดูแลอยู่แล้ว แต่ใช้รายได้ส่วนแบ่งจากดอกเงินฝากที่ประชาชนออมมาใช้หนี้ซึ่งตรงนี้ซึ่งตรงนี้ต้องนับเป็นหนี้สาธารณะเพราะเป็นมรดกหนี้ที่มาจากในอดีต ซึ่งหากจะลดหนี้ตรงนี้ก็ต้องหาทางบริหารจัดการให้มีการใช้หนี้ได้มากขึ้น
> “หนี้ส่วนนี้ไม่ว่าจะใครดูแล มันคือหนี้ของประเทศที่เกิดขึ้นสมัยวิกฤติเศรษฐกิจปี 40 เป็นมรดกจากการ รักษาความน่าเชื่อถือของประเทศโดยการกำหนดเป็นหนี้สาธารณะเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในภาคการเงินของไทย จึงนับเป็นส่วนหนึ่งของหนี้สาธารณะ โดยการลดหนี้ก็คือต้องเร่งการใช้หนี้ให้เร็วขึ้น” นายนณริฏ กล่าว
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"