forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

สำรวจความต้องการทองคำของผู้บริโภคไทยโตแรง9.5%พุ่งด้านลงทุนและเก็งกำไร

สำรวจความต้องการทองคำ พบผู้บริโภคไทยช้อปแรงสุดในอาเซียน ต้นปี 2023 เพิ่ม 9.5% จากปีก่อน คาด 5 ปีข้างหน้าหน้าพุ่งสวนทางฝั่งธนาคารกลาง พุ่งด้านลงทุนและเก็งกำไร
YLG สรุปสถานการณ์ความต้องการทองคำล่าสุด

จากการเปิดเผยรายงานภาพรวมตลาดทองคำในปี 2023 ของสภาทองคำโลก (World Gold Council : WGC) พบว่า ภาพรวมความต้องการทองคำ (Gold Demand) ทั่วโลก ซึ่งไม่รวมการซื้อขายนอกตลาด (OTC: Over-the-counter) ในปี 2023 อยู่ที่ระดับ 4,448.4 ตัน โดยปรับตัวลดลง 5.3% จากปี 2022 ที่ระดับ 4,699.0 ตัน แต่หากรวมการซื้อขายนอกตลาด (OTC) เข้าไปด้วย ความต้องการทองคำทั่วโลกในปี 2023 จะอยู่ในระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่มีการเก็บข้อมูล ที่ระดับ 4,898.8 ตัน และนับเป็นการปรับตัวสูงขึ้น 3.1% จากปี 2022 ที่ระดับ 4,751.9 ตัน
สำหรับความต้องการทองคำที่แข็งแกร่งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนี้ นอกจากได้ปัจจัยบวกมาจากธนาคารกลางสหรัฐที่ใกล้เข้าสู่วงจรอัตราดอกเบี้ยขาลงแล้ว อีกส่วนหนึ่งมาจากผลต่อเนื่องจากความตึงเครียดภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งนำไปสู่กระแส “De-dollarization” หรือการลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐที่ใช้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ หรือใช้ในการค้าระหว่างประเทศ
ส่งผลให้ธนาคารกลางทั่วโลกหันมาลดสัดส่วนการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐในฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศ และเพิ่มสัดส่วนในการถือทองคำมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยในปี 2022 และ 2023 ที่ผ่านมา ธนาคารกลางทั่วโลกได้เข้าซื้อทองคำที่ระดับ 1,081.9 ตัน และ 1,037.4 ตัน ตามลำดับ ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากการซื้อปกติที่ราว 400-600 ตันต่อปี มาตลอดนับสิบปี
ทั้งนี้หากแบ่งเป็นความต้องการในส่วนทองคำแท่งและเหรียญทองคำ (Gold Bar and Coin) ทั่วโลก ปรากฏว่ามีความต้องการที่ลดลง 2.7% สู่ระดับ 1,189.5 ตันในปี 2023 จากระดับ 1,222.6 ตันในปี 2022 ขณะที่ความต้องการในเครื่องประดับ (Jewellery) ทั่วโลกนั้นปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.2% สู่ระดับ 2,092.6 ตันในปี 2023 จากระดับ 2,088.9 ตันในปี 2022
ขณะที่ในประเทศไทยมีความต้องการซื้อทองคำผู้บริโภค (Consumer gold demand) ในปี 2023 ซึ่งเติบโตในระดับสูงที่สุดในอาเซียน โดยปรับเพิ่มขึ้นถึง 9.5% สู่ระดับ 42.1 ตัน จากระดับ 38.4 ตันในปี 2022 โดยการเติบโตนี้เป็นผลมาจากความต้องการทองคำแท่งและเรียญทองคำ (Gold Bar and Coin) ที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 13.3% สู่ระดับ 32.9 ตัน จากระดับ 29.0 ตันในปี 2022 ซึ่งช่วยชดเชยความต้องการในเครื่องประดับ (Jewellery) ที่ลดลง 2.2% สู่ระดับ 9.2 ตันในปี 2023 จากระดับ 9.4 ตันในปี 2022
อย่างไรก็ดี ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่เคยเข้าซื้อทองคำราว 90.20 ตัน ในปี 2021 ซึ่งถือเป็นการเพิ่มปริมาณทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศ (International Reserves) มากที่สุดในบรรดาธนาคารกลางทั่วโลก ขณะที่ในปี 2022 และ 2023 ธปท. ไม่ได้มีการเข้าซื้อทองคำเพิ่มขึ้นจากระดับดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ ในปี 2023 แรงซื้อทองคำของประเทศไทย จึงมาจากความต้องการซื้อของผู้บริโภคในประเทศเป็นหลัก
อนึ่ง ความต้องการซื้อทองคำผู้บริโภค ประกอบด้วย ปริมาณการบริโภคเครื่องประดับ (Jewelry Consumption) และการลงทุนในทองคำแท่งและเหรียญทองคำทั้งหมดในประเทศ กระนั้น หากพิจารณาเฉพาะความต้องการทองคำในส่วนของเครื่องประดับ พบว่า แม้ในช่วงไตรมาส 4 ความต้องการเครื่องประดับทองคำในไทยปรับตัวขึ้น สู่ระดับ 3.0 ตัน จากระดับ 2.5 ตัน ในไตรมาส 3
สำหรับแรงซื้อทองคำในประเทศไทยนั้น ถูกขับเคลื่อนด้วยวัตถุประสงค์ของการลงทุนหรือการเก็งกำไร ซึ่งหากพิจารณาเพิ่มเติมในช่วงระหว่างปี 2013 – 2022 พบข้อมูลที่น่าสนใจ คือ ปริมาณการบริโภคทองคำของไทยโดยเฉลี่ย อยู่ที่ 63.0 ตัน นับว่าสูงสุดเป็นอันดับที่ 7 ของโลก ขณะที่ในภูมิภาคเอเชีย ระดับการบริโภคดังกล่าวนับว่าอยู่ในอันดับที่ 3 เป็นรองเพียงจีนและอินเดีย โดยการลงทุนในทองคำแท่ง ถูกคาดว่าเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก
อย่างไรก็ดี มีแนวโน้มว่าการลงทุนในระยะหลังของไทย โดยเฉพาะในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาการลงทุนในทองคำแท่งด้วยความต้องการถือ เพื่อเป็นสินทรัพย์กระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน หรือด้วยวัตถุประสงค์ในการลงทุนระยะยาวอาจลดลง สะท้อนผ่านข้อมูลการส่งออก-นำเข้าทองคำในประเทศ ที่การนำเข้าทองคำกายภาพ (Physical Gold) ในปี 2023 อยู่ในระดับ 128.88 ตัน ปรับตัวลง 36.37% จากปีก่อนหน้า
ด้วยการนำเข้าทองคำที่ลดลงดังกล่าว คาดว่า มีส่วนมาจากการที่นักลงทุนหันมาเก็งกำไรผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่อ้างอิงทองคำ หรือลงทุนใน Paper Gold ซึ่งมีความสะดวกมากกว่า และมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการลงทุนในทองคำแท่งแบบกายภาพ นอกจากนั้น นายเซาไก ฟาน ผู้อำนวยการส่วนวิจัยด้านภูมิภาคเอเชียและธนาคารกลางทั่วโลกของ WGC ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ด้วยความนิยมในการลงทุนผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีการซื้อขายทองคำในระยะสั้นมากขึ้น อันเป็นผลให้การลงทุนแบบถือในระยะยาวนั้นมีสัดส่วนลดลง
ในส่วนการซื้อทองคำของประเทศไทยในอีก 5 ปีข้างหน้านั้น YLG มองว่าปี 1-2 ปีที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไม่ได้มีการเพิ่มสัดส่วนการถือครองทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศ (International Reserves) แต่ในระยะข้างหน้า ธปท. อาจมีการเพิ่มสัดส่วนทองคำฯ เพื่อรองรับความความไม่แน่นอนของประเด็นเศรษฐกิจและการเมืองในระดับโลก อันมีส่วนทำให้เกิดความผันผวนของสกุลเงินหลักที่เพิ่มมากขึ้น
กระนั้นในช่วงต้นปี 2023 ทางสภาทองคำโลก (World Gold Council : WGC) ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นต่อประเด็นแนวโน้มสัดส่วนทองคำและเงินดอลลาร์ในทุนสำรองระหว่างประเทศ จากธนาคารกลางราว 57 แห่งทั่วโลก ซึ่งผลการสำรวจได้บ่งชี้ว่า ความต้องการซื้อทองคำของเหล่าธนาคารกลางยังคงอยู่ในทิศทางขาขึ้นต่อไปอีกในอนาคต นับเป็นสัญญาณเชิงบวกของราคาทองคำ
เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อแนวโน้มสัดส่วนการถือครองทองคำในอนาคตของธนาคารกลางทั่วโลกนั้น พบว่า ราว 71% มีความเห็นว่าการถือครองสำรองทองคำในอีก 12 เดือนข้างหน้า จะมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ราว 24% ให้ความเห็นว่า ธนาคารกลางของตนนั้นมีแผนเพิ่มสัดส่วนการถือครองทองคำ สอดคล้องกับการเข้าซื้อทองคำของธนาคารกลางในช่วงครึ่งแรกของปี 2023 ที่เพิ่มขึ้นราว 26.59% เมื่อเทียบจากปี 2022
ขณะเดียวกัน ในแบบสอบถามได้มีการบรรจุคำถามที่สำคัญ นั่นคือ สัดส่วนการถือครองทองคำในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยผลการสำรวจระบุว่า 62% ของธนาคารกลาง ลงความเห็นว่า สัดส่วนการถือครองทองคำในอีก 5 ปีข้างหน้านั้น จะปรับตัวขึ้นจากระดับเฉลี่ยที่ 15% ในปัจจุบัน ซึ่งราว 59% ให้ความเห็นว่าจะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 16-25% ขณะที่อีก 3% ให้ความเห็นว่า จะปรับตัวขึ้นสู่ระดับเหนือ 25%
ปัจจุบัน แม้ธปท. ถือครองทองคำสำรอง 244.16 ตัน สูงสุดในบรรดาธนาคารกลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เนื่องด้วยระดับทุนสำรองฯ ที่สูงราว 2.25 แสนล้านดอลลาร์ ทำให้ทองคำคิดเป็นสัดส่วนเพียง 7.26% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของสัดส่วนทองคำฯ ของธนาคารกลาง 57 แห่งทั่วโลก
อย่างไรก็ดี ด้วยแนวโน้มเศรษฐกิจชั้นนำของโลกที่เปราะบางต่อการเกิดวิกฤติ อันมีส่วนฉุดรั้งการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และความเป็นไปได้ต่อการปะทุขึ้นของการสู้รบระหว่างประเทศ รวมไปถึงความพยายามลดการพึ่งพิงเงินดอลลาร์ หรือ De-dollarization ทั้งหมดนี้ คาดว่าจะเป็นปัจจัยชี้นำให้ธนาคารกลางทั่วโลก ซึ่งรวมถึงไทย เข้าถือครองทองคำในสัดส่วนต่อทุนสำรองฯ ที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อกระจายความเสี่ยงและเพิ่มเสถียรภาพด้านต่างประเทศ หรืออัตราแลกเปลี่ยน
ขณะเดียวกัน นักลงทุนและผู้บริโภคในประเทศ อาจมีการตอบสนองต่อความเสี่ยงจากความความไม่แน่นอนของประเด็นเศรษฐกิจและการเมืองในระดับโลกด้วยเช่นกัน ทำให้ความต้องการซื้อทองคำผู้บริโภค (Consumer gold demand) นั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับคาดการณ์ราคาทองคำภายใน 5 ปี ข้างหน้า ที่อาจปรับตัวขึ้นแตะบริเวณ 3,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ทั้งนี้แนวโน้มความต้องการซื้อทองคำของไทยในระยะ 5 ปี ต่อจากนี้ คาดว่า ความต้องการซื้อทองคำผู้บริโภค จะมีอัตราการเร่งตัวขึ้นสูงกว่าทางธนาคารกลาง หรือธปท. แต่ทางธปท. อาจเป็นผู้เพิ่มปริมาณความต้องการซื้อทองคำของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ หากมีการปรับเพิ่มสัดส่วนของการถือครองทองคำต่อทุนสำรองฯ ในช่วงเวลาดังกล่าว
แต่หากพิจารณาเฉพาะความต้องการซื้อทองคำผู้บริโภค YLG ประเมินว่า แนวโน้มการซื้อทองคำในรูปแบบเครื่องประดับอาจปรับตัวลดลง แต่ภาพรวมความต้องการทองคำผู้บริโภค จะสูงขึ้นจากการถูกชดเชยด้วยความต้องการซื้อทองคำเพื่อการลงทุน อย่างไรก็ดี แนะนำนักลงทุนให้ติดตามความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจและการเงินโลก เพื่อไม่ให้พลาดแนวโน้มการลงทุนที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต
Source: Posttoday

คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students

-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"