forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

รูดนอกวีซ่า/มาสเตอร์ชาร์จเพิ่ม 1%

กำลังเป็นประเด็นร้อนในเวลานี้ เมื่อสถาบันการเงินที่ให้บริการ บัตรเครดิต Visa และ Mastercard หลายแห่ง แจ้งผ่านเว็บไซต์ให้ลูกค้าทราบล่วงหน้าเมื่อ 1 มีนาคม ว่า ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป จะมีการเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก 1% จากยอดเงินใช้จ่ายสำหรับ

รายการใช้จ่ายในต่างประเทศที่จ่ายเป็นสกุลเงินบาท หรือ ซื้อสินค้าหรือบริการจากร้านค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนในต่างประเทศเป็นสกุลเงินบาท
รวมทั้ง การกดเงินสดจากตู้ ATM ในต่างประเทศเป็นสกุลเงินบาท ค่าธรรมทำเนียบที่เพิ่มขึ้น 1% นี้จะคิดจากยอดเงินในวันที่บันทึกรายการใช้จ่าย
เรียกว่า “ค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินต่างประเทศเป็นสกุลเงินบาท” หรือ Dynamic Currency Conversion Fee (DCC) คิดยังไงก็คิดไม่ออกว่า การแปลงเงินสกุลต่างประเทศเป็นสกุลเงินบาท จะต้องมีค่าใช้จ่ายอะไร
ร้านค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนในต่างประเทศ เช่น แอร์เอเชีย Apple Netflix Amazon TikTok Alipay Facebook Google Airbnb Agoda Booking.com Trip.com ฯลฯ ถ้าเลือกจ่ายเป็นสกุลเงินบาท ล้วนถูกเก็บเพิ่ม 1% บวกเข้าไปในรายการที่จ่ายทันที
อย่างเช่น การจองโรงแรมในต่างประเทศผ่าน Agoda หรือ Booking.com เลือกชำระเป็นสกุลเงินบาท เช่น 3,000 บาท จะมีค่า DCC Fee 1% ของยอดเงินที่จ่าย 3,000 บาท คือ 30 บาท บวกเข้าไปด้วยเป็นจ่ายจริง 3,030 บาท ปกติการจองโรงแรมในต่างประเทศผ่านเว็บไซต์เหล่านี้ ก็ให้จ่ายเป็นเงินบาทอยู่แล้ว เพื่อความสะดวกในการชำระเงิน การคิดค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก 1% จะคิดหลังจากที่แปลงเงินต่างประเทศเป็นเงินบาทแล้ว เท่ากับฟันกำไรสองต่อทั้งอัตราแลกเปลี่ยนและ DCC Fee 1% ปีนี้สมาคมการท่องเที่ยวคาดว่า จะมีคนไทยไปเที่ยวต่างประเทศ 10 ล้านคน ญี่ปุ่นประเทศเดียวก็ 1 ล้านคน ลองคิดเล่นๆ Visa และ Mastercard จะฟันกำไรฟรีๆอีก 1% มากมายขนาดไหน
ผมเห็นด้วยกับ คุณสมชาย เลิศลาภวศิน ผู้ช่วยผู้ว่าการแบงก์ชาติ สายนโยบายสถาบันการเงิน ที่แถลงว่า จะเรียกผู้เกี่ยวข้องมาหารือทั้งหมด ทั้ง สถาบันการเงินที่ออกบัตรเครดิต และ Visa และ Mastercard ถึงเหตุผลการเรียกเก็บ 1% จ่ายใครบ้าง จ่ายเท่าไหร่ มีต้นทุนเพิ่มขึ้นจากการให้บริการส่วนนี้อย่างไร ต่อให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้นจริง ผู้คิดค่าบริการก็ต้องมีการประกาศให้ประชาชนทราบว่า เป็นการเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการใช้จ่าย ไม่ใช่ลักษณะบังคับต้องจ่ายอย่างที่ประกาศ
ปัจจุบัน คนไทยถือบัตรเครดิตราว 26-27 ล้านใบ ข้อมูลหน้าเศรษฐกิจไทยรัฐเปิดเผยว่า ปี 2566 คนไทยชำระเงินด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศสูงถึง 302,826 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 จำนวน 49,049 ล้านบาท เป็นการชำระค่าสินค้าและบริการ ณ จุดขายในต่างประเทศด้วยบัตรเครดิต 121,452 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 35,444 ล้านบาท รองมาเป็นการชำระค่าสินค้าและบริการออนไลน์ในต่างประเทศด้วยบัตรเครดิต 82,042 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12,981 ล้านบาท จากปีก่อน
และข้อมูลจาก “ลงทุนแมน” ระบุว่า ปี 2564 Visa มีรายได้ 868,000 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 443,000 ล้านบาท ปี 2565 มีรายได้ 1.055 ล้านล้านบาท มีกำไรสุทธิ 539,000 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิสูงถึง 51% ของรายได้ เป็น “เสือนอนกิน” จริงๆ และ Mastercard ปี 2564 มีรายได้ 980,000 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 313,000 ล้านบาท ปี 2565 มีรายได้ 801,000 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 357,000 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิต่อรายได้ 45% มีธุรกิจอะไรที่ทำกำไรได้มากมายขนาดนี้ แค่เป็น “คนกลาง” ในการจ่ายเงินเท่านั้น
เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ เพราะเป็นการบังคับจ่ายโดยประชาชนผู้ใช้บัตรไม่มีทางเลือก เป็นเรื่องที่ แบงก์ชาติ และ กระทรวงการคลัง จะต้อง “บูรณาการ” ในการปกป้องไม่ให้ผู้ใช้บัตรถูกเอาเปรียบมากเกินไป วันนี้มีเพียง Visa Mastercard สองบัตรเครดิตเท่านั้นที่เรียกเก็บค่าฟีเพิ่ม 1% บัตรเครดิตอื่น เช่น JCB UnionPay ยังไม่มีการเก็บ อาจเป็นทางเลือกใหม่ในอนาคตของผู้ถือบัตรเครดิตก็ได้ เป็น “เสือนอนกิน” กำไรมากขนาดนี้ยังไม่ยอมพอ.
“ลม เปลี่ยนทิศ”
Source: ไทยรัฐออนไลน์
คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students

-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"