forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

สรุปมาตรการแก้หนี้ แบงก์ชาติช่วยลูกหนี้กลุ่มไหน เงื่อนไขอะไรบ้าง

ธนาคารแห่งประเทศไทย สานต่อการแก้หนี้ครัวเรือน ช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางอย่างต่อเนื่อง หลังมาตรการแก้หนี้ระยะยาว ช่วงโควิดหมดอายุ จึงต้องมีมาตรการ Responsible lending ที่กำหนดให้สถาบันการเงินต้องให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ และเป็นธรรม

คุณสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สถานการณ์หนี้ครัวเรือนในปัจจุบันเริ่มดีขึ้น ตั้งแต่ช่วงวิกฤตการณ์โควิด-19 ที่หนี้ครัวเรือนพุ่งสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 94.7% ต่อ GDP ปัจจุบันหนี้ครัวเรือนมีการชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 90.9% ณ ไตรมาส 3/2566 เป็นผลมาจากการขยายตัวของ GDP ที่เพิ่มขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ในขณะที่สินเชื่อขยายตัวชะลอเล็กน้อย เนื่องจากตั้งแต่ช่วงโควิด-19 ธปท.ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง ทั้งมาตรการช่วยเหลือในวงกว้าง และเฉพาะจุด
สำหรับมาตรการ Responsible lending ที่กำหนดให้สถาบันการเงินต้องให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม ที่ประกาศออกมาในไตรมาสที่ 3/2566 หลักเกณฑ์บางส่วนเริ่มมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2567 ที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนในระยะยาว เปลี่ยนหนี้เสียให้เป็นหนี้ที่มีคุณภาพมากขึ้น ประกอบด้วย 3 แนวทาง
1.ปรับปรุงโครงสร้างหนี้
กลุ่มเป้าหมาย
-ลูกหนี้ทั้งรายย่อย และลูกหนี้ SMEs (ที่ไม่เคยผ่านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้มาก่อน)
แนวทางการช่วยเหลือ
ตั้งแต่ 1 ม.ค. 67 ผู้ให้บริการจะต้องเสนอแนวทางปรับโครงสร้างหนี้ที่สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ สำหรับลูกหนี้ที่เริ่มมีปัญหาชำระหนี้ แต่ยังไม่เป็นหนี้เสีย (NPL) อย่างน้อย 1 ครั้ง และสำหรับลูกหนี้ NPL อีกอย่างน้อย 1 ครั้ง โดยจะไม่ถูกโอนขายหนี้ก่อน 60 วัน นับจากวันที่ผู้ให้บริการเสนอเงื่อนไขปรับโครงสร้างหนี้ให้ลูกหนี้
หมายเหตุ ผู้ให้บริการที่รับซื้อหนี้จะต้องพิจารณาเงื่อนไขการผ่อนชำระของลูกหนี้ให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้
2.ช่วยลูกหนี้เรื้อรังให้ปิดจบหนี้
กลุ่มเป้าหมาย
ลูกหนี้เรื้อรังกลุ่มเปราะบาง (PD) ที่มีหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ประเภทวงเงินหมุนเวียน (ไม่รวมสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล และบัตรเครดิต)
แนวทางความช่วยเหลือ
ตั้งแต่ 1 เม.ย. 67 ผู้ให้บริการจะต้องแจ้งเตือน และเสนอแนวทาง ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เรื้อรัง (PD) ให้สามารถปิดจบหนี้ได้ โดยแบ่งลูกหนี้เป็น 2 ประเภท
1.ลูกหนี้ที่เริ่มมีสัญญาณเป็นหนี้เรื้อรัง (General PD)
ที่จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นในช่วง 3 ปี หรือ 4 ปีที่ผ่านมา ผู้ให้บริการจะต้องให้ข้อมูลแจ้งเตือนลูกหนีว่าเริ่มมีสัญญาณเป็นหนี้เรื้อรัง และเสนอเพิ่มจำนวนการผ่อนจ่าย เพื่อให้ปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยทั้งสัญญาลดลง และแจ้งช่องทางติดต่อผู้ให้บริการ เพื่อแก้ไขหนี้หากมีปัญหาทางด้านการเงิน รวมถึงผู้ให้บริการต้องมีแนวทางการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่เหมาะสมและเป็นธรรม
2.ลูกหนี้ที่เป็นหนี้เรื้อรัง (Severe PD)
ที่จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงิน และบริษัทในเครือ ที่มีรายได้น้อยกว่า 20,000 บาท และลูกหนี้นอนแบงก์อื่นๆ ที่มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาท จะได้รับแจ้งเตือนให้เข้าร่วมมาตรการแก้หนี้เรื้อรัง (opt-in) เพื่อเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญาให้เป็นสินเชื่อที่ผ่อนชำระเป็นงวด (installment loan) ให้ปิดจบหนี้ภายใน 5 ปี ด้วยอัตราดอกเบี้ยแท้จริงไม่เกิน 15%
3.คุ้มครองสิทธิลูกหนี้
โดยลูกหนี้จะได้รับการดูแลให้การคิดดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมอย่างเป็นธรรม
มาตรการเริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค. 67
-ห้ามคิดค่าปรับไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด (prepayment fee) สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลทุกประเภท ยกเว้นกรณี refinance สินเชื่อบ้านในช่วงเวลา 3 ปีแรก เพื่อให้ลูกหนี้มีโอกาสได้ดอกเบี้ยต่ำ
-ห้ามคิดค่าธรรมเนียมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
มาตรการเริ่มตั้งแต่ 1 ก.ค. 67
-ห้ามคิดดอกเบี้ยทบต้น สำหรับสินเชื่อรายย่อยยกเว้นค่าประเมินราคาหลักประกัน ซึ่งจำเป็นต้องนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ประกอบการพิจารณากำหนดเงื่อนไขการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 67 ที่ผ่านมา ธปท.ได้เริ่มตรวจสอบการโฆษณาสินเชื่อเกินจริงของสถาบันการเงิน และนอนแบงก์ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล โดยใช้เครื่องมือ social listening และ test analytics ในการดักจับข้อความโฆษณาต้องห้าม ที่กระตุ้นให้คนอยากเป็นหนี้ เช่น ของมันต้องมี รวมถึงข้อความที่ต้องมี เพื่อเตือน และให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจกับผู้กู้
โดยกำหนดให้การโฆษณาสินเชื่อต้องมีคำเตือน “กู้เท่าที่จำเป็น และชำระคืนไหว” และบอกอัตราดอกเบี้ยต่ำสุด-สูงสุดอย่างชัดเจน หลังตรวจพบจะทำการส่งหนังสือเตือน หากไม่มีการปรับปรุงจะดำเนินคดีตามกฎหมาย
Source: ไทยรัฐ Money


Cr.Bank’s Scholarship Students

-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"