forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

'แบงก์' ตั้งรับลูกค้าจ่ายขั้นต่ำ

เดือน ม.ค.2567 นี้ ดีเดย์ ปรับผ่อนขั้นต่ำบัตรเครดิตเป็น 8% จาก 5% "กสิกรไทย" เร่งเตือนลูกค้าล่วงหน้าก่อน 3 เดือน ก่อนปรับขั้นต่ำ คาดผลกระทบไม่มาก แต่ไม่นิ่งนอนใจติดตามลูกหนี้ใกล้ชิด "ทีทีบี" เผย 3 เดือนแรกชี้ชะตาพอร์ตลูกหนี้ จ่ายขั้นต่ำ มีพอร์ตลูกหนี้จ่ายขั้นต่ำเพียง 5% "ยูโอบี"

ลั่นมีพอร์ตลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ ราว 10% เร่งงัดมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ก่อนตกชั้น
หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ทำให้ มาตรการช่วยเหลือทางการเงิน ที่เคยประกาศใช้เมื่อตอน 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบันเริ่มทยอยลดการผ่อนปรน และหลายมาตรการมีการปรับไปสู่ระดับปกติมากขึ้น เช่นเดียวกัน การปรับอัตราผ่อนขั้นต่ำ ของบัตรเครดิตที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับลดลงสู่ 5% จากระดับ 10% เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ในช่วงโควิด-19
ทว่าปัจจุบัน ธปท.มองว่าสถานการณ์เริ่มเข้าสู่ปกติมากขึ้น ทำให้ยกเลิกมาตรการผ่อนปรนดังกล่าว และทยอยปรับขึ้นการผ่อนขั้นต่ำบัตรเครดิตเพิ่มหลังจากนี้ นับตั้งแต่เดือน ม.ค.2567 การผ่อนขั้นต่ำ ผ่านบัตรเครดิตจะปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 8% และปี 2568 จะปรับขึ้นมาสู่ระดับปกติที่ 10% แต่การปรับผ่อนขั้นต่ำเพิ่มขึ้น มีการ ตั้งคำถามว่าในภาวะที่เศรษฐกิจไม่ฟื้นตัว เต็มที่ ลูกหนี้จะสามารถกลับมาชำระที่ระดับ 8-10% ได้หรือไม่?
นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า จากประสบการณ์ในอดีตที่มีการปรับผ่อน ขั้นต่ำเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับเกณฑ์ดังกล่าว ลูกค้าแบงก์ก็ได้รับผลกระทบ แต่วิธีที่จะทำให้ผลกระทบตรงนี้ลดลง คือการสื่อสารกับลูกค้าบัตรเครดิตล่วงหน้าก่อน 3 เดือน ตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่มาตรการจะมีผลบังคับใช้
หากดูพอร์ตลูกหนี้บัตรเครดิตของธนาคาร ปัจจุบันมีสัดส่วนการจ่ายขั้นต่ำอยู่ที่ ราว 50% และอีก 50% เป็นการชำระเต็มวงเงิน ขณะที่ใน 50% ที่ผ่านชำระขั้นต่ำ มีลูกค้า ไม่มากที่ผ่อนชำระขั้นต่ำที่ระดับ 10% ดังนั้น เชื่อว่าการปรับขึ้นการผ่อนขั้นต่ำการจ่ายบัตรเครดิตครั้งนี้ไม่น่ากระทบต่อพอร์ตลูกค้าของธนาคารมาก
อย่างไรก็ตาม สำหรับลูกค้าที่ผ่อนชำระ ไม่ไหว ธนาคารก็มีมาตรการในการช่วยเหลือ ลูกหนี้เข้ามารองรับ โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างหนี้ การปรับจากบัตรเคตดิต เป็น สินเชื่อหมุนเวียน เพื่อให้ลูกหนี้มีภาระการจ่ายหนี้ที่ลดลง
"พอร์ตลูกหนี้เราไม่มาก ที่ผ่อนขั้นต่ำ แต่เหล่านี้เราไม่นิ่งนอนใจ และมีการติดตามพอร์ตลูกหนี้ใกล้ชิด ซึ่งเรา หวังว่าลูกหนี้เราจะกระทบไม่มาก และเบื้องต้นยังไม่มีการประเมินว่าการ ปรับขั้นต่ำครั้งนี้จะกระทบแบงก์มากน้อย แค่ไหน"
นายฐากร ปิยะพันธ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทหารไทยธนชาต หรือ ทีทีบี กล่าวว่า เชื่อว่าการปรับการจ่ายขั้นต่ำ บัตรเครดิตเป็น 8% ลูกค้าธนาคารจะไม่ได้ รับผลกระทบมาก เนื่องจากลูกค้าที่จ่าย 8% ปัจจุบันมีเพียง 5% ของพอร์ตลูกค้าธนาคารที่มีจำนวน 8 แสนใบ ทั้งนี้ ปัจจุบัน ธนาคารมีลูกหนี้ราว 65% ที่ชำระไม่เต็มจำนวน และอีก 35% เป็นกลุ่มที่ชำระเต็มจำนวน
แต่ธนาคารจะติดตามลูกหนี้ใกล้ชิด โดยเฉพาะช่วง 3 เดือนแรกของปี 2567 เมื่อ ปรับการจ่ายขั้นต่ำเป็น 8% ลูกหนี้สามารถผ่อนชำระไหวหรือไม่ ซี่งหากไม่ไหว ก็เชื่อว่า ในอนาคต เมื่อปรับการจ่ายขั้นต่ำเป็น 10% ลูกหนี้ที่จ่ายขั้นต่ำส่วนนี้ก็จะได้รับ ผลกระทบเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม สำหรับลูกหนี้ที่ไม่ไหว ธนาคารก็มีมาตรการช่วยเหลือรองรับเช่นเดียวกัน ทั้งการปรับโครงสร้างหนี้ และปรับเป็นสินเชื่อหมุนเวียน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ
"3 เดือนแรกของปีนี้ ถือเป็นการชี้ชะตา พอร์ตลูกหนี้ว่าไหวหรือไม่ไหว หากลูกหนี้ ผ่านไปไม่ได้ เมื่อปรับขั้นต่ำ 8% ตอนปรับ ขั้นต่ำเป็น 10% ลูกหนี้ก็คงไม่ไหว แต่หาก ลูกหนี้สามารถผ่านไปได้ ก็เชื่อว่าหลังจากนี้ การชำระหนี้ของลูกหนี้บัตรเครดิตจะไม่มีปัญหา"
นายยุทธชัย เตยะราชกุล กรรมการ ผู้จัดการ สายงานบุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า การปรับขั้นต่ำบัตรเครดิตเป็น 8% คาดว่าจะมีลูกหนี้ธนาคารที่ได้รับผลกระทบราว 10% ของพอร์ตบัตรเครดิต โดยรวม จากปัจจุบันมีลูกค้าที่ผ่อนชำระขั้นต่ำราว 20% ของพอร์ต และที่เหลือจะเป็นกลุ่มชำระเต็ม ส่วนหนึ่งมาจากฐานลูกค้าบัตรเครดิตเป็นกลุ่มรายได้ 3-5 หมื่นบาทต่อเดือน ที่มีสัดส่วนมากกว่า 50% ของฐานลูกค้าบัตรเครดิตที่มีกว่า 2.4 ล้านใบ
โดยที่ผ่านมาธนาคารได้หารือกับ ธปท. อย่างต่อเนื่อง ในการเข้าไปช่วยเหลือลูกหนี้ กลุ่มนี้ หากได้รับผลกระทบจากการ ปรับเกณฑ์ดังกล่าว โดยจะเป็นมาตรการโอน วงเงินบัตรเครดิตเป็นสินเชื่อผ่อนชำระเป็น งวดที่น้อยลง ซึ่งจะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
ทั้งนี้ เชื่อว่าลูกค้าที่มีปัญหาในการผ่อนชำระได้ผ่านจุดต่ำสุดในช่วงที่มี การระบาดของโควิด-19 มาแล้ว สะท้อนจาก จำนวนลูกค้าที่เข้าโครงการช่วยเหลือ ลดลง
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

Cr.Bank’s Scholarship Students

-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"