"แบงก์" เร่งปรับโครงสร้างหนี้ช่วยลูกหนี้ ก่อนหมดมาตรการช่วยเหลือ "แบงก์ชาติ" สิ้นปีนี้ "กรุงไทย" ชี้ยอดปรับโครงสร้างหนี้เพิ่มต่อเนื่อง สะท้อนหนี้ค้างชำระพุ่ง ยิ่งเฉพาะ เอสเอ็มอี-ครัวเรือน "ทีทีบี" ชี้ยอดปรับ โครงสร้างหนี้เพิ่มจากลูกหนี้เก่า "เครดิตบูโร"
คาดยอดปรับโครงสร้างหนี้ จ่อทะลุ "1 ล้านล้าน" รถยนต์-บ้าน ตกชั้นเพียบ
นายผยง ศรีวณิช กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB กล่าวว่า ปัจจุบัน ธนาคารอยู่ระหว่างการเร่งปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ภายใต้มาตรการช่วยเหลือของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่จะสิ้นมาตรการช่วยเหลือ ในสิ้นปี 2566 นี้ โดยเฉพาะการเข้าไปเร่งปรับโครงสร้างหนี้ ให้ลูกหนี้ที่มี ความเปราะบางจากภาวะเศรษฐกิจ โดยรวม ส่งผลให้ธนาคารยังคงเห็น ความเปราะบางจากลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง สะท้อนผ่านลูกหนี้ในกลุ่มสินเชื่อจัดชั้น กล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM) หรือกลุ่ม Stage2 ที่ยังปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
หลักๆ มาจากภาพรวมเศรษฐกิจปัจจุบันมีความท้าทายมากขึ้น และ ส่งออกที่ชะลอลงในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวที่ไม่ได้เพิ่มขึ้น อย่างที่คาด และสุดท้ายคือภาพการลงทุน ที่ปรับตัวลดลง ที่มีผลกระทบต่อรายได้ ของลูกหนี้ในภาพรวมให้ลดลง ดังนั้น หากมองไปข้างหน้าเชื่อว่ายอดปรับโครงสร้างหนี้จะยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
สำหรับกลุ่มที่เข้าสู่การปรับโครงสร้างหนี้มากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา หลักๆ อยู่ในกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีและสินเชื่อครัวเรือนเป็นหลัก
"เราเร่งปรับโครงสร้างหนี้มาตลอด ซึ่งการเพิ่มขึ้น มาจากความเปราะบางของภาพรวมที่ยังเห็นต่อเนื่อง เช่นเดียวกับ ที่เห็นหนี้ในกลุ่ม Stage2 ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ลูกหนี้ยังอยู่ในระดับความเปราะบางขึ้น"
ทั้งนี้ มองการออกมาแก้หนี้ของภาครัฐ โดยเฉพาะหนี้นอกระบบ ถือเป็น แนวทางที่ดี เนื่องจากจะทำให้เห็นข้อมูลทั้งระบบของหนี้นอกระบบได้มากขึ้น และเมื่อผนวกกับหนี้ที่อยู่ในระบบ สถาบันการเงิน ทำให้ภาพหนี้ต่างๆ มีความชัดเจนมากขึ้น ทำให้สามารถ ออกนโยบายหรือช่วยเหลืออย่างตรงจุดมากขึ้นในอนาคต
นายฐากร ปิยะพันธ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB กล่าวว่า ปัจจุบัน ธนาคารยังเห็น ยอดการขอรับความช่วยเหลือจากลูกหนี้ เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะลูกหนี้รายย่อยของธนาคารที่ต้องเร่งเข้าไปปรับโครงสร้าง ส่วนใหญ่ลูกหนี้ที่ขอรับการช่วยเหลือ มาจากกลุ่มเดิมที่เคยได้รับการช่วยเหลือมาแล้วผ่านมาตรการต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา และเคยผ่านการปรับโครงสร้างมาแล้ว ทั้งลูกหนี้ที่ค้างชำระก่อนสถานการณ์โควิด-19 และลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยเฉพาะลูกหนี้สินเชื่อรถยนต์ ที่เห็นการตกชั้น และหนี้ด้อยคุณภาพมากขึ้น
นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) กล่าวถึงภาพรวมหนี้สิน ครัวเรือนไทย ภายใต้ข้อมูลของเครดิตบูโร ไตรมาส 3 ปี 2566 ว่า ภายใต้ภาพรวม สินเชื่อที่อยู่ในข้อมูลของเครดิตบูโรที่ 13.5 ล้านล้านบาทในปีนี้ เป็นหนี้ ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอล อยู่ที่ 1.05 ล้านล้านบาท หรือ 7.7% ซึ่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หากเทียบกับช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ที่หนี้เอ็นพีแอลรวมอยู่ที่ 1.03 ล้านล้านบาท
ขณะที่หนี้ที่อยู่ระหว่างการ ปรับโครงสร้าง ปัจจุบันเพิ่มมาอยู่ที่ 9.9 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากช่วงไตรมาสที่ผ่านมาที่อยู่ระดับ 9.8 แสนล้านบาท ส่วนสินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษหรือหนี้ที่ค้างชำระแต่ไม่เกิน 90 วัน (SM) เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 4.9 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.4% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และเพิ่มขึ้น 3.7% จากไตรมาสก่อนหน้า หากดูข้อมูลสินเชื่อที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งมาจากการเร่งปรับโครงสร้างหนี้ให้ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน เนื่องจากจะหมดอายุมาตรการในสิ้นปีนี้ ทำให้คาดว่าในระยะข้างหน้าอาจ เห็นยอดปรับโครงสร้างหนี้ทะลุระดับ 1 ล้านล้านบาทได้
ที่น่าห่วงอีกสินเชื่อคือ สินเชื่อ ที่กำลังจะเสีย หรือค้างชำระแต่ไม่เกิน 90 วัน หรือ SM ปัจจุบันอยู่ที่ 4.9 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.4% หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่เพียง 4 แสนล้านบาท ที่เพิ่มขึ้นหลักๆ มาจากพอร์ตสินเชื่อบ้าน ที่มีหนี้กำลังจะเสียเพิ่มขึ้นมาเป็น 1.36 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 37.2% จาก 9.9 หมื่นล้านบาท หากเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน และมีจำนวนบัญชีที่กำลังจะเสีย เพิ่มขึ้นอีก 22.2% หรือ 105,461 บัญชี จาก 86,291 บัญชี ซึ่งกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้สินเชื่อบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท และเป็นกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางที่เป็นลูกหนี้แบงก์รัฐ ที่เริ่มเห็นสัญญาณ การผิดนัดชำระหนี้มากขึ้น
โดยถัดมาคือสินเชื่อรถยนต์ ที่มี หนี้ที่กำลังจะเสียเพิ่มขึ้น 17.5% หรือ 2.13 แสนล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่อยู่เพียง 1.81 แสนล้านบาท ขณะที่จำนวนบัญชีที่กำลังจะเป็นหนี้เสียเพิ่ม อยู่ที่ 560,427 ล้านบัญชี หรือเพิ่มขึ้น 15% จาก 487,477 บัญชี เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ซึ่งหากรวมหนี้ที่กำลังจะเสีย จากทั้งสองกลุ่ม ทั้งสินเชื่อบ้านและ สินเชื่อรถ พบว่าโดยรวมอยู่ที่เกือบ 3.5 แสนล้านบาท
Source: กรุงเทพธุรกิจ
Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011bิ
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you