forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

https://www.eluforex.com/

หลายคนอาจไม่รู้ว่าคนไทยกว่า 1 ใน 3 มี ‘หนี้’ และจำนวนมากมีหนี้ในปริมาณสูง คนไทยที่มีหนี้เกิน 1 ล้านบาทมีจำนวนถึง 14% คนไทยที่มีหนี้เกิน 1 แสนบาทมีจำนวนมากถึง 57% และมูลค่าหนี้เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าใน 10 ปีที่ผ่านมา นอกจากนั้น คนไทยยังมีหนี้ ‘หลายบัญชี’ โดยกว่า 32% ของคนไทยมีหนี้ 4 บัญชีขึ้นไป

ทำให้ ‘สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP’ ของไทย สูงกว่าประเทศตลาดเกิดใหม่ (emerging market economies) ด้วยกัน อย่างเช่น อินเดีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
เราจะเห็นว่า ‘สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP’ ของไทย สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก เพราะสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยสูงพอๆ กับประเทศพัฒนาแล้ว (advanced economies) อย่างสวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
ที่สำคัญ สัดส่วนหนี้ต่อ GDP ของไทยยังขยายตัวเร็วกว่าหลายประเทศอย่างชัดเจน โดยเพิ่มขึ้นถึง 55% ในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา (2552-2564)
อีกอย่าง คือ 2 ใน 3 ของบัญชีหนี้ครัวเรือนไทยเป็น ‘สินเชื่อที่ไม่สร้างรายได้’ เป็นสินเชื่อส่วนบุคคล 39% และบัตรเครดิต 29% หรือเรียกว่า หนี้เพื่อการอุปโภค ใช้แล้วหมดไป ไม่ช่วยให้มีรายได้เพิ่มหรือมีชีวิตดีขึ้นในอนาคต
ขณะที่หนี้ที่สามารถสร้างรายได้ อย่างหนี้เพื่อธุรกิจและหนี้บ้านมีสัดส่วนเพียง 4% จากบัญชีทั้งหมด ทั้งๆ ที่พอไปเทียบกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่มีสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ใกล้เคียงกันกับไทยนั้นมีสัดส่วนหนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้บ้าน
ทำให้ ธปท. มองว่า สถานการณ์นี้ของคนไทย ‘ค่อนข้างน่ากังวล’ เพราะหนี้ส่วนใหญ่ไม่สร้างรายได้ รวมถึง 20% ของคนไทยที่เป็นหนี้มี ‘หนี้เสีย’
ส่วนใหญ่ ‘วัยเริ่มทำงาน’ (20-35 ปี) มีสัดส่วนหนี้ที่อาจไม่สร้างรายได้สูงที่สุด และมีสัดส่วนของผู้กู้ที่มีหนี้เสียสูงที่สุด คือ 25%
อีกกลุ่ม คือ กลุ่มเกษตรกรและกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่มีสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้สูงที่สุด และสุ่มเสี่ยงที่จะชำระหนี้ไม่ได้ หรือชำระได้เพียงดอกเบี้ยหรือบางส่วน
จึงทำให้ ‘ปัญหาหนี้ครัวเรือนไทย’ ยังเป็นที่พูดถึงอย่างต่อเนื่อง เพราะจะส่งผลกระทบฉุดรั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจ และเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ
ด้าน ธปท. อธิบายว่า หนี้ครัวเรือนเกิดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น
– ขาดภูมิคุ้มกัน : จากรายได้ที่ไม่แน่นอนและจะไม่แน่นอนมากขึ้นในอนาคต ร่วมกับยังไม่มีระบบสวัสดิการที่เข้าถึงได้และมีประสิทธิภาพมารองรับ
– ขาดรายได้ : โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง รายได้น้อย ขาดสภาพคล่อง ทำให้เข้าไม่ถึงหนี้ในระบบ
– ขาดความรู้ : ไม่มีความรู้เรื่องการเงิน หนี้ และกฎหมาย ทำให้เสียเปรียบตอนกู้และค้างจ่าย
– ขาดวินัย : ค่านิยมของมันต้องมี ซื้อของที่อยากได้เกินจ่ายไหว ไม่ออมก่อนใช้ ถูกกระตุ้นด้วยโฆษณาชวนซื้อและชวนกู้ โดยไม่คำนึงถึงภาระหนี้
โดย ธปท. ก็ได้เร่งออกแนวทางแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืนหลายด้าน แต่ยืนยันว่าจะต้องขยายผลไปอีก 30% ที่ไม่ได้อยู่ในกำกับของ ธปท. ด้วย
ส่วนพรรคแกนนำรัฐบาลอย่าง ‘เพื่อไทย’ ก็มีแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยหลักการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และขยายโอกาส เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย ‘ประเทศไทย 2570 คนไทยไร้จน’ โดยมีหลากหลายนโยบายที่มุ่งช่วยแก้ปัญหาหนี้สินให้ประชาชน
ทั้งนี้ ‘หนี้ครัวเรือน’ คือ เงินที่สถาบันการเงินให้คนทั่วๆ ไปอย่างเรากู้ยืม โดยหมายรวมถึงหนี้บัตรเครดิต หนี้ส่วนบุคคล หนี้บ้าน หนี้รถยนต์ และอื่นๆ อีกมากมาย
หมายเหตุ : เป็นการจัดอันดับจากการรวบรวมข้อมูลของ Trading Economics ที่มีจำนวนประเทศทั้งหมด 45 ประเทศจากหลากหลายภูมิภาคทั่วโลก อาทิ ประเทศในยุโรป อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ เอเชีย และออสเตรเลีย
Source: workpointtoday

คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students

-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"