forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

3 ปัจจัยเสี่ยงใช้บิตคอยน์เป็นทุนสำรองฯ

ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มี "เงินสำรองระหว่างประเทศ" ในรูปแบบ เงินตราและสินทรัพย์สกุลประเทศต่างๆ รวมถึงทองคำ ซึ่งแบงก์ชาติได้เพิ่ม การถือครองทองคำสำรองตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เพื่อบริหารความเสี่ยงในสัดส่วนการลงทุนของ ธปท.โดยระบุว่า

มูลค่าทองคำสำรอง ของ ธปท.อยู่ที่ 1.56 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือราว 5.6 แสนล้านบาท นับถึงวันที่ 20 ต.ค.ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นกว่า 51% จาก 7.5 พันล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 2.7 แสนล้านบาท ณ สิ้นปี 2562
โดยการบริหารเงินสำรองทางการ ของธนาคารแห่งประเทศไทย อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2485 และพ.ร.บ. เงินตรา พ.ศ.2501 ซึ่งจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ธปท. กำหนด โดยต้องคำนึงถึงความมั่นคง สภาพคล่อง และผลประโยชน์ตอบแทน ของสินทรัพย์ ตลอดจนความเสี่ยงในการบริหารจัดการเป็นสำคัญ
จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด หรือ Bitkub กล่าวกับฐานเศรษฐกิจ ถึงมุมมองในการใช้ "บิตคอยน์" เป็นทุนสำรองประเทศ โดยแนะนำ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสำคัญกับบิตคอยน์มากขึ้น
เพราะบิตคอยน์เปรียบเสมือน "ทองคำ ในโลกการเงินดิจิทัล" เป็นจุดเชื่อมโยงเศรษฐกิจและกำหนดมูลค่าของสินทรัพย์แต่ละชนิดที่จะออกมาในอนาคต เป็นค่ากลาง กำหนดทุกดิจิทัลเคอร์เรนซีที่จะเข้ามาสู่ตลาด ซึ่งได้กลายเป็น The 1st International Digital Commodity หรือสินค้าโภคภัณฑ์ดิจิทัลระดับโลกอันดับที่ 1 ไปแล้ว
แม้เป็นสินทรัพย์แรกที่จับต้องไม่ได้ แต่กลายเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก หากเป็นไปได้ ธปท. ควรนำบิตคอยน์ เข้าไปเป็น Reserve Currency (สกุลเงินสำรอง) ซึ่งหมายถึง เงินตราต่างประเทศ ที่ธนาคารกลางหรือสถาบันการเงินขนาดใหญ่ถือไว้จำนวนมาก เพื่อใช้ในการค้า การลงทุนและการชำระหนี้ ระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคง ในระยะยาว
"เดิมเรามีแค่ ทองคำ ที่เก็บไว้ที่แบงก์ชาติ ของอังกฤษ และมี SDR หรือ Special Drawing Rights (สิทธิการกู้เงินพิเศษ) ที่ออกโดย IMF ตั้งแต่ปี 1969 ซึ่งตอนนี้เหลือเวลาอีกไม่เยอะ เพราะราคาอาจสูงขึ้นในอนาคต ถ้านานาประเทศเริ่มให้ความสนใจ ทำให้ต้นทุนก็จะยิ่งแพงขึ้น"
บุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยกับทางกรุงเทพธุรกิจ ถึงนิยามของคำว่า "เงินสำรอง" คือเงินตราและ/หรือสินทรัพย์ต่างประเทศของเศรษฐกิจ โดย มีไว้เพื่อรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน ของประเทศ และเพื่อรักษาอำนาจในการซื้อ (Global Purchasing Power)
ดังนั้นสินทรัพย์ที่นำมาเป็นเงินสำรองจะต้องมีสภาพคล่อง ไม่มีความผันผวนสูง เพราะถ้าหากว่าประเทศมีความจำเป็น ในการใช้เงินในช่วงวิกฤตใดๆก็ตามที่เกิดขึ้น ในหลายประเทศพร้อมกัน การเทขาย สินทรัพย์ดังกล่าวจะต้องมีตลาดรองรับและ จะต้องมีสภาพคล่องสูง และสำคัญอีกประการ คือ สินทรัพย์ดังกล่าวต้องเป็นสื่อกลาง ที่นานาประเทศยอมรับ ซึ่งสามารถใช้ซื้อขาย แลกเปลี่ยนจากเงินสำรองเป็นสกุลเงินดอลลาร์ น้ำมัน อาหารหรือยารักษาโรคได้
ถ้าหากว่าในอนาคต "บิตคอยน์" ซึ่งเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ดิจิทัลที่นับว่ามีราคา ผันผวนสูง ถูกนำมาเป็นเงินสำรองที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอนาคต มี 3 สิ่งที่ต้อง คำนึงถึง คือ 1.ความผันผวน 2.สภาพคล่อง และการยอมรับ เพราะหากเกิดปัญหาในการขายสินทรัพย์ไม่ได้ราคา เนื่องจากราคาผันผวนและตลาดไม่มีสภาพคล่อง อาจนำไปสู่การขาดทุนในท้ายที่สุด
อีกทั้งบิตคอยน์จะต้องเป็นสินทรัพย์ ที่ได้รับการยอมรับมากพอสมควรจนมี ความเชื่อมั่นว่าเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ปลอดภัย เพราะสินทรัพย์ปลอดภัยบางอย่างเช่น "ที่ดิน" ที่มีความปลอดภัยกว่า ทั้งในแง่ของสินทรัพย์ ที่จับต้องได้และราคาไม่ผันผวน อีกทั้ง ยังมีมูลค่าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ยังไม่ถูกยอมรับในการนำมาเป็นทุนสำรอง
รวมทั้งมองว่าเงินสำรองควรเป็นเงิน ที่มีมูลค่าสามารถจับต้องได้ ซึ่งในปัจจุบันต้องยอมรับว่าบิตคอยน์ยังเป็นสินทรัพย์ในอากาศ ไร้การควบคุมดูแลโดยภาครัฐ จากการไม่มีที่มาที่ไปของผู้สร้าง แม้ว่า จะถูกยอมรับจากนักลงทุนในตลาดบางกลุ่มแต่รูปแบบการใช้งานยังเป็นการเก็งกำไรทำให้การนำสินทรัพย์ดิจิทัลเข้ามาเป็น หนึ่งในเงินทุนสำรองของประเทศ ไม่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้สำหรับประเทศไทยและทั่วโลก
ข้อดีประการเดียวของบิตคอยน์ คืออุปทานที่มีจำกัดเพียง 21 ล้านเหรียญเท่านั้น ซึ่งต่างจากสกุลเงินเฟียตที่สามารถพิมพ์เงินออกมาเพื่ออัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้อย่างไม่จำกัด
แม้จะมีความท้าทายเหล่านี้ แต่บางประเทศ ได้สำรวจการใช้สกุลเงินดิจิทัลเป็นสกุลเงินประจำชาติ โดยเอลซัลวาดอร์กลายเป็นประเทศแรกของโลกที่นำบิตคอยน์มาใช้เป็น เงินที่ "ถูกต้องตามกฎหมาย" ซึ่งยังต้องรอดูว่า การทดลองนี้จะประสบความสำเร็จเพียงใด
กานต์ชนก พรรัตนวิสัย
Source - กรุงเทพธุรกิจ

Cr.Bank’s Scholarship Students

-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"