forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

Update -ยอดเงินฝากรวมคนไทยลดลงครั้งแรกในรอบ 10 ปี จากเศรษฐกิจฝืด คนแห่ลงทุนทองคำ

สถาบันคุ้มครองเงินฝากเผย ยอดเงินฝากรวมในปี 2022 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี จากสภาวะเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังรวมถึงปัจจัยของผู้ฝากเงินที่เน้นการลงทุนในสินทรัพย์ที่ผลตอบแทนมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นทองคำ หรือแม้แต่ลงทุนในสกุลเงินต่างประเทศอย่างดอลลาร์สหรัฐที่ดอกเบี้ยมากกว่า

ทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ ผู้อำนวยการ สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) ได้กล่าวถึงสถานการณ์เศรษฐกิจโลกคร่าวๆ ถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา โดยมีการคงดอกเบี้ยไว้ และเขามองว่าเงินเฟ้อจะอยู่ไปอีกสักระยะหนึ่งซึ่งอาจนานกว่า 6-12 เดือน
สำหรับทางฝั่งของประเทศไทยนั้นตัวเลขในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ปริมาณเงินฝากทั้งหมดในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 15.96 ล้านล้านบาท ลดลงจากปีที่ผ่านมา 1.32% โดยเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 10 ปี โดยในปี 2022 มีเงินฝากในระบบ 16.17 ล้านล้านบาท
ขณะที่จำนวนผู้ฝากที่ได้รับการคุ้มครองมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 93.46 ล้านราย เพิ่มขึ้นจากปี 2022 จำนวน 3.05 ล้านราย คิดเป็นการเติบโต 3.37%
ผู้อำนวยการ สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ได้กล่าวว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้ ปริมาณการฝากเงินลดลงเนื่องจากคนถอนเงินไปลงทุนอย่างอื่น หรือหาผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือแม้แต่การฝากเงินในสกุลอื่นเช่น ดอลลาร์สหรัฐ เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงสภาวะเศรษฐกิจ
นอกจากนี้เขายังได้กล่าวว่า จำนวนผู้ฝากที่มีเงินฝากไม่เกิน 50,000 บาท มีจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องทุกปี โดยตัวเลขล่าสุดจำนวนคนไทยที่มีเงินฝากน้อยกว่า 50,000 บาท มากถึง 81 ล้านราย
ทรงผลยังกล่าวว่า คนที่มีเงินฝากมากกว่า 50,000 จำนวนยิ่งน้อยลง และคนมีเงินฝากน้อยลงเพิ่มมากขึ้น และยังรวมถึงค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น จนท้ายที่สุดต้องนำเงินฝากออกมาใช้ สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ
ผู้อำนวยการ สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ยังชี้ว่า ถ้าหาก GDP ของไทยโต เงินฝากมักจะเป็นบวกตามเสมอๆ
ปัจจุบันสถาบันคุ้มครองเงินฝากมีผู้ฝากเงินที่ได้รับความคุ้มครองผ่าน 32 สถาบันการเงิน โดยมีเงินทุนมากถึง 140,000 ล้านบาท โดยลงทุนในตราสารสภาพคล่องสูง โดยปัจจุบันวงเงินคุ้มครองเงินฝากตามที่กฎหมายกำหนด อยู่ที่ 1 ล้านบาท ครอบคลุมผู้ฝากเงินรายย่อยส่วนใหญ่ของประเทศ คิดเป็นสัดส่วน 98.09% ของผู้ฝากเงินที่ได้รับความคุ้มครองทั้งระบบ
ในปี 2024 แผนการของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ได้วางเป้าหมายการดำเนินงานในเรื่องความพร้อมทั้งการจ่ายเงินคุ้มครองที่รวดเร็ว การชำระบัญชีและการบริหารสินทรัพย์ และมีความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งการติดตามเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน รวมถึงการให้ความรู้พื้นฐานเรื่องการคุ้มครองเงินฝากกับประชาชน

*************
ยอดเงินฝากคนไทยเติบโตติดลบ ครั้งแรกในรอบ 10 ปี : สถาบันคุ้มครองเงินฝากเผยยอดเงินฝากคนไทยโตติบลบครั้งแรกในรอบ 10 ปี พบ 81 ล้านคนมีเงินในบัญชีน้อยกว่า 5 หมื่นบาท ระบุการคุ้มครองเงินฝากลดลง 2.12 แสนล้านบาท
นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ ผู้อำนวยการ สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) เปิดเผยว่า สถานการณ์เงินฝากที่สถาบันการเงินคุ้มครองเงินฝากให้การคุ้มครองทั้งหมด 32 แห่ง ปัจจุบันมีแนวโน้มลดลง ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี ที่เงินฝากมีการติดลบของการโต ซึ่งแบ่งเป็น
- ในปี 64 มีเงินฝากอยู่ที่ 15.59 ล้านล้านบาท
- ขณะที่ปี 65 อยู่ที่ 16.17 ล้านล้านบาท
- ล่าสุด เดือนส.ค.66 อยู่ที่ 15.96 ล้านล้านบาท
ทั้งนี้ สาเหตุของการลดลงมาจากปัญหาสถารการณ์เศรษฐกิจ หรือประชาชนบางส่วนนำเงินไปลงทุนในเครื่องมือที่มีผลตอบแทนดีกว่า เช่น การลงทุนทองคำ หุ้น อสังหาริมทรัพย์ ตาสารหนี้ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หากมองในรายละเอียดจะพบว่า คนทุกกลุ่มตั้งแต่คนรวยไปจนถึงคนจนต่างมีเงินฝากในบัญชีลดลงอย่างถ้วนหน้า โดยผู้ฝากเงินที่มีเงินในบัญชีไม่เกิน 5 หมื่นบาท มีการหดตัว 3.61% ณ เดือนสิงหาคมนี้ โดยมีจำนวนรวมกันประมาณ 3.4 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการหดตัวที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับสิ้นปีที่แล้วที่หดตัว 0.63% คิดเป็นจำนวนเงิน 3.6 แสนล้านบาท
“ในกลุ่มคนที่มีเงินในบัญชีน้อยกว่า 5 หมื่นบาท มีกว่า 81 ล้านคน มากกว่า 80% ของจำนวนผู้มีเงินฝากทั้งหมด 93.46 ล้านราย และพบว่าค่าเฉลี่ยส่วนใหญ่ของคนกลุ่มนี้ มีเงินในบัญชีน้อยกว่า 5,000 บาท”
ขณะที่กลุ่มคนที่มีบัญชีเงินฝากมากกว่า 5 หมื่นบาทแต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท มีการปรับลดลงทั้งจำนวนเงินฝากและจำนวนผู้ฝากตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เช่น บัญชีที่มีเงินฝากตั้งแต่ 2-5 แสนบาท มีจำนวนรายที่ลดลง 33% แม้แต่ผู้ฝากรายใหญ่ก็มีจำนวนเงินฝากลดลงในปีนี้เช่นกัน
อย่างไรก็ดี มองว่าตัวเลขติดลบดังกล่าวจะกลับมาดีขึ้นตามสถานการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่าจะดีขึ้นใน 1-2 ปีข้างหน้า
ขณะที่ปัจจุบันมีจำนวนเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก จำนวน 15.96 ล้านล้านบาท ลดลงจากสิ้นปีที่แล้วจำนวน 2.12 แสนล้านบาท เนื่องจากปัญหาด้านเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา รวมทั้งปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นด้วย ขณะที่จำนวนผู้ฝากเงินที่ได้รับการคุ้มครอง มีจำนวน 93.46 ล้านราย เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีที่แล้ว 3.37%
สำหรับจำนวนบัญชีผู้ฝากเงินที่ได้รับการคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ยังคงขยายตัว เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีที่แล้ว 3.05 ล้านราย คิดเป็นการเพิ่มขึ้น3.37% ปัจจุบันสถาบันคุ้มครองเงินฝากให้การคุ้มครองเงินฝาก 1 บัญชีต่อ 1 ธนาคาร โดยคุ้มครองไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อบัญชี ซึ่งวงเงินการคุ้มครองดังกล่าว สามารถให้การคุ้มครองผู้ฝากรายย่อยได้เป็นส่วนใหญ่ คิดเป็น 98.09%ของผู้ฝากเงินที่ได้รับการคุ้มครองทั้งระบบ
นายทรงพล กล่าวอีกว่า ปัจจัยที่จะมีผลต่อเศรษฐกิจและเงินฝากในบัญชีนั้นคือ
- ปัญหาเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยในตลาดที่ปรับสูงขึ้น แม้ว่าเฟดจะmaintainอัตราดอกเบี้ยแล้วก็ตาม แต่ยังคาดว่าปัญหาเงินเฟ้อจะยังอยู่กับเราอีกนาน อาจจะตั้งแต่6เดือนถึง1ปี
- สงครามที่เกิดขึ้นตั้งแต่สงครามรัสเซีย-ยูเครน จนถึงปัจจุบันสงครามระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ ซึ่งภาวะสงครามดังกล่าวเป็นการซำ้เติมเศรษฐกิจไทยหลังจากก่อนหน้านี้ในช่วงปี 2020-2021ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด
- ปัญหาภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระกับสูงในปัจจุบัน
ขณะที่อัตราดอกเบี้ยในสหรัฐที่มีอัตราสูงถึง 5% เทียบกับอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่อยู่ที่2% ทำให้มีผู้ฝากเงินจำนวนหนึ่ง ถอนเงินฝากที่เป็นเงินบาท แล้วนำไปแลกเป็นดอลลาร์สหรัฐ นำไปฝากในบัญชีเงินฝากต่างประเทศ foreign deposit
อย่างไรก็ตาม ผู้ฝากในบัญชีเงินตราต่างประเทศจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก และต้องรองรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนอีกด้วย แม้จะได้รับอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าก็ตาม
Source: ฐานเศรษฐกิจออนไลน์

 

คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students

-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"