forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

เศรษฐกิจไทยจะโตดังหวังในปี พ.ศ. 2561 หรือไม่?

ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา เติบโตกว่าคาดการณ์ โดยในไตรมาสที่ 3 โตสูงสุดกว่า 4.3% สูงสุดในรอบ 18 ไตรมาสเลยทีเดียว เนื่องจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ทั้งเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา, สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น

โดยการส่งออกขยายตัวถึง 7.4% ดังนั้นรัฐบาลก็ปรับการคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจไทย และคาดหวังว่า เศรฐกิจในปี พ.ศ. 2561 อาจจะเติบโตถึง 4% แต่อาจจะมีหลายปัจจัยที่อาจจะสะกัดไม่ให้เศรษฐกิจไทยโตถึงเป้าหมาย โดยหนึ่งในปัจจัยหลักคือการส่งออก ซึ่งถือเป็นหนึ่งส่วนสำคัญของการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย

ค่าเงินบาทส่งผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกเช่นเดียวกัน

- ค่าเงินบาทแข็ง คือ จาก 1 ดอลลาร์ = 35 บาท แข็งขึ้นเป็น 1 ดอลลาร์ = 31 บาท
- ค่าเงินบาทอ่อน คือ จาก 1 ดอลลาร์ = 31 บาท แข็งขึ้นเป็น 1 ดอลลาร์ = 35 บาท

เงินบาทแข็ง หรือ อ่อน ดีกับส่งออก? แน่นอนว่าค่าเงินบาทอ่อนดีกับส่งออกเพราะหากคุณขายได้ เช่น 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ถ้า 1 ดอลลาร์ = 35 บาท ก็จะได้ 35ล้านบาท แต่ถ้าบาทแข็ง 1 ดอลลาร์ = 31 บาท จะได้เพียง 31ล้านบาท รายได้หายไปถึง 4 ล้านบาท

ในไตรมาสที่ 3 ของปี พ.ศ. 2560 ค่าเงินบาทประมาณ 1 ดอลลาร์ = 33-34 บาท ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ค่าเงินบาทเริ่มแข็งค่าขึ้น และเดือนมกราคม จนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2561 ค่าเงินบาทก็แข็งมาก แตะที่ระดับ 31.2 บาท ดังนั้นสาเหตุนี้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทยแน่นอน เพราะรายได้จากการส่งออกจะลดลง รวมถึงอาจะทำให้ศักยภาพการแข็งขันของผู้ส่งออกไทยอาจลดลง เพราะความสามารถแข็งขันด้านราคากับชาติอื่นที่ค่าเงินอ่อนกว่าอาจลดลงได้

ตามทฤษฎีแล้วการปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง จะช่วยให้ค่าเงินของประเทศนั้นๆแข็งค่าขึ้น แต่ถ้าดูจากสถิติ และการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯในปี พ.ศ. 2560 มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้ง ในเดือนกุมภาพันธ์, พฤษภาคม และธันวาคม โดยหลังการปรับอัตราดอกเบี้ยแล้ว ค่าเงินดอลลาร์อ่อนลง และเงินบาทก็แข็งขึ้น อาจะเป็นเพราะ อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำในประเทศไทยที่ระดับ 0.8% ซึ่งอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯสูงถึง 2.1% จึงทำให้ real term ของค่าเงินบาท ยังคงสูงกว่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แม้ว่าตอนนี้อัตราดอกเบี้ยของไทยและสหรัฐจะเท่ากันที่ 1.5% จึงดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้ามาในตลาดหุ้นไทยมากขึ้นเช่นกัน และอุปสงค์เงินบาทจึงเพิ่มขึ้น และค่าเงินบาทก็อาจจะยังมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าต่อเนื่อง

ในความคิดของดิฉัน หากแบงค์ชาติ ไม่ดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า และปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของตลาด ค่าเงินบาทอาจจะยิ่งแข็งค่าเพิ่ม และจะยิ่งส่งผลเสียต่อผู้ประกอบการส่งออกของไทย โดยก็อาจจะส่งผลเสียต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2561 นี้ หรือรัฐบาลไทยอาจต้องหานโยบายเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนในประเทศ ซึ่งเป็นสัดส่วนใหญ่ของจีดีพี ถึง 54.4% เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวตามเป้าหมายในปีนี้ได้

โดย นิรมล นิตย์นิธิพฤทธิ์
นักวิเคราะห์การเงิน, Olymp Trade

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"