forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

หนี้โลกทุบสถิติใหม่ที่ 307 ล้านล้านดอลลาร์! 80% เป็นของชาติมหาอำนาจ

สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) เปิดเผยว่าปริมาณหนี้สินทั่วโลกทำสถิติใหม่ที่ 307 ล้านล้านดอลลาร์ ในไตรมาส 2 ของปีนี้ และคาดว่าสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีโลกจะพุ่งทะลุ 337% ภายในช่วงสิ้นปี
รายงานของ สถาบันการเงินระหว่างประเทศ หรือ IIF

ที่เผยแพร่ล่าสุดเดือนกันยายนนี้ ระบุว่า หนี้ทั่วโลก ที่ปรับสูงขึ้น ได้ทำให้ สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพี เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกันที่ระดับ 336% จากที่ก่อนหน้านี้ระดับหนี้ต่อจีดีพีลดลงมา 7 ไตรมาสรวด
ทั้งนี้ IIF คาดว่าระดับหนี้ต่อจีดีพีจะทะยานทะลุ 337% ภายในช่วงปลายปี 2566
และเมื่อมองเป็นรายประเทศ จะพบว่า มากกว่า 80% ของหนี้โลก มาจากประเทศพัฒนาแล้ว อย่างสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อังกฤษ และฝรั่งเศส ที่มีระดับหนี้เพิ่มขึ้นสูงสุด ส่วนจีน อินเดีย และบราซิล นำทีมประเทศในกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่มีก่อหนี้เพิ่มขึ้นสูงสุด
ในรายงานของ IIF ยังไม่ได้คำนวณผลกระทบจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของระบบธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าเฟดอาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในกรอบ 5.25%-5.5% ต่อไปอย่างน้อยจนถึงเดือนพฤษภาคมปีหน้า (2567) และอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปอีกนานสำหรับสหรัฐอเมริกา
ยูเอ็นเตือนหนี้สาธารณะประเทศกำลังพัฒนาเข้าขั้นวิกฤต
กลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา สหประชาชาติ (ยูเอ็น)ได้ออกโรงเตือนว่า เกือบ 40% ของประเทศกำลังพัฒนาอยู่ในภาวะหนี้ขั้นวิกฤต ซึ่งที่กล่าวมานี้ ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ระดับหนี้สาธารณะทั่วโลกแตะระดับสูงสุดทำสถิติที่ 92 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อปี 2565 (แต่ปัจจุบัน หนี้สาธารณะทั่วโลกได้ทุบสถิติใหม่ ที่ระดับ 307 ล้านล้านดอลลาร์เรียบร้อยแล้ว)
นายอันโตนิโอ กูเทอเรซ เลขาธิการใหญ่ยูเอ็น กล่าวกับผู้สื่อข่าวในระหว่างการเปิดตัวรายงาน A World of Debt เมื่อเดือนก.ค.ว่า “ประชากรราว 3.3 ล้านล้านคน หรือเกือบครึ่งหนึ่งของมวลมนุษยชาติ อาศัยอยู่ในประเทศที่ใช้ชำระหนี้กู้ยืมขนานใหญ่มากกว่าทุ่มงบประมาณไปกับการศึกษาหรือสาธารณสุข”
รายงานของยูเอ็นฉบับนี้ ชี้ว่า ประเทศกำลังพัฒนา 59 ประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับระดับหนี้ต่อจีดีพีที่ 60% หรือสูงกว่านั้น เพิ่มจาก 22 ประเทศเมื่อปี 2554 ซึ่งเลขาฯ ยูเอ็นระบุว่า ประเทศกำลังพัฒนามีระดับหนี้สาธารณะน้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้วก็จริง แต่กลับมีต้นทุนที่ต้องจ่ายชำระคืนในสัดส่วนที่สูงกว่า “โดยเฉลี่ยแล้วประเทศในแอฟริกาต้องชำระหนี้มากกว่าสหรัฐถึง 4 เท่า และมากกว่ากลุ่มประเทศร่ำรวยในยุโรปถึง 8 เท่าตัว”
กูเทอเรซ กล่าวด้วยว่าระดับหนี้ภาครัฐเป็นเครื่องมือด้านการเงินที่สำคัญ ที่จะสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาและช่วยรัฐบาลในการปกป้องและลงทุนกับประชาชนของพวกเขาได้ “แต่เมื่อประเทศทั้งหลายถูกบีบให้ต้องกู้ยืมเพื่อความอยู่รอดทางเศรษฐกิจ ภาระหนี้กลายเป็นกับดักที่สร้างหนี้ขึ้นมาเพิ่มอีกเรื่อย ๆ ”
เลขาธิการใหญ่ยูเอ็น ยังได้แนะนำให้นานาประเทศสร้างเครื่องมือบริหารจัดการหนี้ที่สนับสนุนระบบการพักชำระ เงื่อนไขการกู้ยืมที่นานขึ้น และอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมต่ำ ให้กับกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางที่เปราะบาง
Source: ฐานเศรษฐกิจออนไลน์

คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students

-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"