forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

เศรษฐกิจไทยติดหล่มโควิด หดตัวต่อเนื่อง 5 ไตรมาส ปีหน้าส่อโตต่ำ

ไม่ได้เป็นเรื่องเกินคาดเมื่อสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ประกาศตัวเลขอัตราการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของไทยในไตรมาสแรกปี 2564 ออกมาหดตัวที่ -2.6% ต่อปี ติดลบต่อเนื่องกันเป็นไตรมาส 5 แล้วนับจากไตรมาสแรกปีก่อน

“ดนุชา พิชยนันท์” เลขาธิการ สศช.กล่าวว่า ได้ปรับประมาณการจีดีพีใหม่โดยคาดว่าปีนี้จะโตได้ราว 2% หรืออยู่ในช่วง 1.5-2.5% ลดลงจากประมาณการเดิมที่คาดจะโตในช่วง 2.5-3.5% ทั้งนี้ ไตรมาสแรกจีดีพีหดตัวไป -2.6% เป็นผลกระทบมาจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ตั้งแต่ช่วงต้นปี
“โควิด” สร้างความไม่แน่นอน
การปรับประมาณการรอบนี้ สศช.ได้คำนึงถึงการแพร่ระบาดของโควิดที่ยังไม่มีความแน่นอน แต่ประเมินว่าจะสามารถควบคุมได้ในช่วงเดือน มิ.ย.เป็นต้นไป อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยปีนี้ยังมีข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโควิด รวมทั้งความล่าช้าในการกระจายวัคซีนโดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา ขณะที่ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นจากไวรัสสายพันธุ์ใหม่จะสร้างความวิตกกังวลมากขึ้น และมีผลต่อการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว ซึ่ง สศช.ประมาณการว่าจะทำให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเพียง 5 แสนราย
การเงิน “ครัวเรือน-ธุรกิจ” เสี่ยง
ยังมีปัจจัยเสี่ยงในเรื่องฐานะการเงินภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4/2563 อยู่ที่ 89.3% อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในแง่หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ต่อสินเชื่อทั้งหมดอยู่ที่ 3.1% ถือว่ายังอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้
นอกจากนี้ ความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลก ไม่ว่าจะเป็นทิศทางการดำเนินนโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลัก โดยเฉพาะนโยบายการค้าของสหรัฐอเมริกาและจีนก็เป็นความเสี่ยงสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยด้วย รวมทั้งการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และประเทศสำคัญในระยะถัดไป ซึ่งจะมีแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลกและราคาโภคภัณฑ์
แนะ 7 แนวทางดูแลเศรษฐกิจ
เลขาธิการ สศช.เสนอแนะแนวทางการบริหารเศรษฐกิจในปีนี้ 7 แนวทาง ได้แก่ 1.ควบคุมการแพร่ระบาดของโควิดภายในประเทศ เพื่อให้จำนวนผู้ติดเชื้อลดลงและอยู่ในวงจำกัดโดยเร็ว และการเร่งรัดจัดหาและกระจายวัคซีนให้กับประชาชนอย่างครอบคลุมทั่วถึง รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของระบบสาธารณสุขให้เพียงพอรองรับการแพร่ระบาด 2.ดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจ เพื่อช่วยเหลือเยียวยาประชาชน แรงงาน และภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ และฟื้นฟูเศรษฐกิจ ทั้งเร่งรัดมาตรการที่ดำเนินการไปแล้ว และพิจารณาออกมาตรการเพิ่มเติม รวมถึงมีมาตรการช่วยเหลือภาคแรงงาน
3.ขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าไปยังตลาดหลักที่มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน และสร้างตลาดใหม่ให้สินค้าที่มีศักยภาพ 4.ส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน 5.รักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ 6.เตรียมพร้อมสำหรับการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และ 7.รักษาบรรยากาศทางการเมืองในประเทศ
“บริโภค-ท่องเที่ยว” ส่อโตต่ำ
“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ชี้ว่า จากการระบาดระลอกใหม่ยังไม่สามารถควบคุมได้ จึงยังคงประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้ที่ 1.8% โดยความเสี่ยงจากโควิดยังอยู่ในระดับสูง ท่ามกลางอัตราการฉีดวัคซีนของไทยที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งจะกระทบความเชื่อมั่นและพฤติกรรมของผู้บริโภค ส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนมีทิศทางขยายตัวต่ำกว่าที่เคยประเมิน
อีกทั้งความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดจะส่งผลให้นักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวในไทยต่ำกว่าคาด แม้ว่าจะมีการทยอยเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยว โดยในปีนี้นักท่องเที่ยวอาจอยู่ในกรอบ 0.25-1.20 ล้านคนเท่านั้น
เสี่ยงรายได้ลด-ค่าครองชีพพุ่ง
“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ชี้ด้วยว่า ท่ามกลางเงินเฟ้อของไทยมีทิศทางเพิ่มสูงขึ้นตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ไทยมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับภาวะ stagflation กล่าวคือ รายได้ลด แต่ค่าครองชีพกลับสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้มาตรการภาครัฐยังคงมีความจำเป็นที่จะบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของครัวเรือน
“ธปท.-แบงก์” ประคองลูกหนี้
ด้าน “สุวรรณี เจษฎาศักดิ์” ผู้อำนวยการอาวุโสธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า แนวโน้มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เป็นสิ่งที่ ธปท.และธนาคารพาณิชย์กังวล โดยเฉพาะในเซ็กเตอร์ท่องเที่ยวที่น่าห่วง ทั้งโรงแรม ขนส่ง การบิน หรือที่เกี่ยวเนื่องกับร้านอาหาร แต่เชื่อว่าหลังจากรัฐคลายเกณฑ์คุมโควิด กิจการเหล่านี้ก็อาจกลับมาดีขึ้นได้
อย่างไรก็ดี คุณภาพสินเชื่อในไตรมาสแรกปีนี้โดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่คุณภาพสินเชื่ออุปโภคบริโภคมีความเปราะบางมากขึ้น ทั้งส่วนสินเชื่อบุคคล สินเชื่อรถยนต์ และสินเชื่อบัตรเครดิต
“ในระยะต่อไปคาดว่าลูกหนี้ยังต้องการความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ซึ่ง ธปท.มีการหารือกับสถาบันการเงินตลอดเวลาในการช่วยเหลือลูกค้า ล่าสุดก็ออกมาตรการช่วยลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 3 ออกมา” นางสาวสุวรรณีกล่าว
ฉีดวัคซีนช้าฉุด ศก.โตต่ำยันปีหน้า
ฟาก “ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี” ประเมินว่า ภาพรวมทั้งปี 2564 เศรษฐกิจจะโตได้ 1.9% ต่อปี ขณะที่ปี 2565 คาดว่าจีดีพีจะโตได้ 3.6% อย่างไรก็ดี หากสามารถกระจายวัคซีนได้เร็วมากขึ้น อย่างกรณีฉีดได้ 5 แสนโดสต่อวัน ก็จะเป็นปัจจัยเร่งให้เปิดประเทศได้เร็ว ตั้งแต่เดือน พ.ย. 2564 สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ตลาดนักท่องเที่ยว ซึ่งจะส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีหน้ามีแนวโน้มเพิ่มเป็น 13.8 ล้านคน เป็นแรงหนุนดันให้เศรษฐกิจปีหน้าขยายตัวได้เพิ่มขึ้นเป็น 4.4% ได้
ถ้าไม่อยากให้เศรษฐกิจไทยติดหล่ม “โควิด” ตกอยู่ใน “วงจรอุบาทว์” ซ้ำซาก รัฐบาลต้องปรับแผนเรื่องวัคซีนให้เร็วขึ้นอีก จะทำได้หรือไม่ต้องติดตามกันต่อไป
Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman

Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"