forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

 ดาวโจนส์ปิดร่วง 473.66 จุด เหตุวิตกเงินเฟ้อฉุดหุ้นดิ่งหนัก

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (11 พ.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐได้กดดันให้นักลงทุนเทขายหุ้นกลุ่มต่างๆเป็นวงกว้าง ตั้งแต่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีไปจนถึงกลุ่มพลังงาน โดยความตื่นตระหนกเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อ

ได้ทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อสำนักงานสถิติของกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยข้อมูลที่บ่งชี้ถึงภาวะขาดแคลนแรงงานในสหรัฐ ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเม.ย.ของสหรัฐในวันนี้
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,269.16 จุด ลดลง 473.66 จุด หรือ -1.36% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,152.10 จุด ลดลง 36.33 จุด หรือ -0.87% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,389.43 จุด ลดลง 12.43 จุด หรือ -0.09%
ไรอัน เดทริค นักวิเคราะห์จากบริษัทแอลพีแอล ไฟแนนเชียล ในรัฐนอร์ธแคโรไลนา กล่าวว่า ขณะนี้ความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อไม่เพียงแต่ฉุดหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังกดดันให้เกิดแรงเทขายในหุ้นกลุ่มอื่นๆเป็นวงกว้าง โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดความกังวลดังกล่าวมาจากการที่สหรัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นวงเงินสูงสุดเป็นประวัติการณ์ รวมทั้งราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้น และล่าสุดทางการสหรัฐเปิดเผยข้อมูลที่บ่งชี้ถึงภาวะขาดแคลนแรงงาน
สำนักงานสถิติของกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยผลสำรวจการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) พบว่า ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงาน พุ่งขึ้น 8% สู่ระดับ 8.12 ล้านตำแหน่งในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่เริ่มมีการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวในเดือนธ.ค.2543
ทั้งนี้ ตัวเลข JOLTS นับเป็นข้อมูลที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสนใจ โดยมองว่าเป็นมาตรวัดภาวะตึงตัวในตลาดแรงงาน ซึ่งเป็นปัจจัยในการพิจารณานโยบายการเงิน และอัตราดอกเบี้ยของเฟด
หุ้น 10 ใน 11 กลุ่มที่คำนวณในดัชนี S&P500 ปรับตัวลง นำโดยดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลง 2.56% โดยหุ้นเอ็กซอน โมบิล ร่วงลง 3.18% หุ้นโคโนโคฟิลลิปส์ ร่วงลง 2.19% หุ้นเชฟรอน ดิ่งลง 2.62% หุ้นอ็อคซิเดนเชียล ปิโตรเลียม ร่วงลง 7.89%
ดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารดิ่งลง 1.67% โดยหุ้นแบงก์ ออฟ อเมริกา ร่วงลง 1.14% หุ้นโกลด์แมน แซคส์ ดิ่งลง 2.39% หุ้นเจพีมอร์แกน เชส ลดลง 1.66% หุ้นมอร์แกน สแตนลีย์ ร่วงลง 1.79%
หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีถูกเทขายอย่างต่อเนื่อง โดยหุ้นอินเทล ร่วงลง 1.66% หุ้นแอปเปิล ลดลง 0.74% หุ้นไมโครซอฟท์ ปรับลง 0.38% หุ้นอัลฟาเบท ลดลง 0.95%
หุ้นโนวาแวกซ์ ดิ่งลง 13.91% หลังจากบริษัทประกาศเลื่อนกำหนดเวลาการผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อีกครั้ง และคาดว่าจะไม่สามารถยื่นขออนุมัติการใช้งานจากหน่วยงานกำกับดูแลในสหรัฐ, อังกฤษ และยุโรปได้จนกว่าจะถึงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ เนื่องจากทางบริษัทยังคงเผชิญความยากลำบากในการเข้าถึงวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการผลิตวัคซีน
หุ้นโบอิ้ง ปรับตัวลง 1.75% หลังบริษัทเปิดเผยยอดการส่งมอบเครื่องบินรุ่น 737 MAX เพียง 4 ลำเท่านั้นในเดือนเม.ย. เนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า
นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐในวันนี้ ซึ่งหากตัวเลข CPI พุ่งขึ้นมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ก็จะทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น และหนุนให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐดีดตัวขึ้น รวมทั้งอาจส่งผลให้เฟดชะลอการผ่อนคลายนโยบายการเงิน โดยอาจลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เพื่อสกัดเงินเฟ้อ จากปัจจุบันที่เฟดทำ QE อย่างน้อย 1.2 แสนล้านดอลลาร์/เดือน
นอกจากนี้ นักลงทุนยังรอดูข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐในสัปดาห์นี้ด้วย ซึ่งรวมถึง จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนเม.ย., ยอดค้าปลีกเดือนเม.ย., ราคานำเข้าและส่งออกเดือนเม.ย., การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย., สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนมี.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนพ.ค.
Source: อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman

Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"