forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ลุ้น ธปท.อุ้มลูกหนี้รายย่อยต่อ บรรเทาพิษโควิดระลอก 3 ยาวถึงสิ้นปี’64

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาด ธปท.ต่ออายุมาตรการช่วยลูกหนี้รายย่อยเจอพิษโควิดระลอก 3 ช่วงครึ่งปีหลัง ฟากแบงก์เร่งสำรวจความต้องการใช้ “สินเชื่อฟื้นฟู-พักทรัพย์ พักหนี้” คาดเอสเอ็มอีต้องการสภาพคล่องมากขึ้น“แบงก์กสิกรฯ” คาดเริ่มปล่อยกู้สินเชื่อฟื้นฟูได้ในเดือน พ.ค. ส่วน

“พักทรัพย์ พักหนี้” เริ่ม มิ.ย. ด้าน “แบงก์กรุงเทพ” หนุนสินเชื่อฟื้นฟูลูกค้ากลุ่มใหม่ที่ยังไม่เคยได้ซอฟต์โลน
นางสาวธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากการระบาดระลอก 3 ของโควิด-19 ล่าสุด คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) น่าจะพยายามต่ออายุมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบออกไปอีก จากเดิมมาตรการจะสิ้นสุดในสิ้นเดือน มิ.ย.นี้ โดยอาจจะพิจารณาให้มาตรการรองรับลูกหนี้ที่ยังไม่เคยใช้ หรือเข้าร่วมมาตรการมาก่อนด้วย เพื่อให้เกิดความครอบคลุมมากขึ้น
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่าประสิทธิผลของมาตรการควบคุมสกัดการแพร่ระบาดของโควิดจะเป็นตัวแปรสำคัญที่บ่งชี้ถึงความเพียงพอของมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้
โดยในกรณีที่ทุกฝ่ายร่วมมือกันควบคุมการระบาดได้ดีและภาครัฐเดินหน้าเยียวยาเศรษฐกิจตามแผนที่วางไว้คาดว่ามาตรการช่วยเหลือทางการเงินที่มีอยู่ น่าจะช่วยประคองสถานะทางการเงินของผู้ประกอบการไปได้ระดับหนึ่ง เพียงแต่อาจต้องขยายเวลาช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยให้ครอบคลุมช่วงครึ่งปีหลัง
นายชัยยศ ตันพิสุทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า หลังจากพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 พ.ศ. 2564 มีผลบังคับใช้แล้ว
ล่าสุดธนาคารอยู่ระหว่างสำรวจลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่มีอยู่หลายหมื่นรายถึงความต้องการใช้สภาพคล่องจาก “สินเชื่อฟื้นฟู” และลูกหนี้ที่ต้องการเข้า “พักทรัพย์ พักหนี้” โดยเบื้องต้นพบว่าลูกค้าเอสเอ็มอีมีความต้องการสินเชื่อมาเสริมสภาพคล่องค่อนข้างมาก
“คาดว่าจะเริ่มปล่อยสินเชื่อฟื้นฟูได้ในเดือน พ.ค.นี้ และหลังจากนั้นอีก 1 เดือน หรือในเดือน มิ.ย.จะเริ่มเห็นลูกค้าเข้ามาตรการ “พักทรัพย์ พักหนี้”เนื่องจากมีขั้นตอนนิติกรรมกับกรมสรรพากรที่ค่อนข้างซับซ้อนและการวางระบบของธนาคาร จึงทำให้การดำเนินการจะล่าช้ากว่าสินเชื่อฟื้นฟู”
ทั้งนี้ ผลจากการระบาดของโควิดระลอก 3 อาจเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้มีความต้องการใช้สินเชื่อฟื้นฟูมีมากขึ้น เพื่อเสริมสภาพคล่องในช่วงนี้ อย่างไรก็ดี เอสเอ็มอีน่าจะคำนึงถึงต้นทุนดอกเบี้ยที่ต่ำมากกว่าผลกระทบจากการระบาดระลอกใหม่
“เริ่มเห็นลูกค้าเอสเอ็มอีแจ้งความจำนงขอใช้สินเชื่อฟื้นฟูทยอยเข้ามาแล้วโดยเฉพาะรายเล็กที่มีความคุ้นเคยกับการใช้โปรดักต์โปรแกรมกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ซึ่งไม่ว่าผลกระทบจากโควิดจะเป็นระลอก 3 หรือ 4 กลุ่มนี้อาจจะไม่สนใจมากเท่ากับประเด็นต้นทุนสินเชื่อต่ำโดยซอฟต์โลนใหม่ที่ออกมาก็ค่อนข้างผ่อนคลายและต้นทุนต่ำ จึงคาดว่าน่าจะมีลูกค้าให้ความสนใจเยอะ”
นายศิริเดช เอื้องอุดมสิน รองผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพกล่าวว่า จากการระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ธนาคารมีการให้ความช่วยเหลือลูกค้าต่อเนื่อง โดยในช่วงที่ผ่านมา ธนาคารก็ได้ปล่อยสินเชื่อจากซอฟต์โลนก้อนเดิมในช่วงที่มีการระบาดระลอกแรกและสองไปแล้วเกือบ 4 หมื่นล้านบาท
ขณะที่เมื่อมีซอฟต์โลนใหม่ หรือ “สินเชื่อฟื้นฟู”ธนาคารก็ยังคงให้ความช่วยเหลือลูกค้าเอสเอ็มอีต่อเนื่อง โดยจะมุ่งเน้นปล่อยสินเชื่อใหม่ไปในกลุ่มที่ยังไม่ได้สินเชื่อซอฟต์โลน เพราะสินเชื่อฟื้นฟูให้สามารถทำได้ ซึ่งจะช่วยกระจายสภาพคล่องไปได้ทั่วถึงมากขึ้น และลูกค้าจะได้เข้าถึงสินเชื่อต้นทุนต่ำด้วย
“ตอนนี้เราก็สำรวจลูกค้า แต่อาจจะสะดุดไปบ้างเพราะมีช่วงวันหยุดยาวและการระบาดระลอกใหม่ แต่เชื่อว่าลูกค้ามีความต้องการสินเชื่อพอสมควร แต่ธนาคารจะพิจารณาไปในกลุ่มลูกค้าใหม่มากขึ้น โดยเป็นกลุ่มที่ยังพอไปไหว แต่ต้องการสภาพคล่องควบคู่กับลูกค้าเดิม ส่วนพักทรัพย์ พักหนี้เรามีพอร์ตลูกค้าที่เป็นรายใหญ่ ซึ่งอาจจะยังไม่ได้มีความต้องการเข้าโครงการ แต่ธนาคารก็ยินดีให้ความช่วยเหลือหากลูกค้าต้องการเข้าโครงการดังกล่าว” นายศิริเดชกล่าว
นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวในงานประชุมนักวิเคราะห์ (analyst meeting) ครั้งที่ 1/2564 ว่า สินเชื่อฟื้นฟู และ “พักทรัพย์ พักหนี้” เป็นมาตรการที่มาช่วยปิดช่องว่างสินเชื่อซอฟต์โลนเดิมที่มีปัญหาเรื่องการกระจายสภาพคล่องไปสู่ธุรกิจเอสเอ็มอี
โดยสินเชื่อฟื้นฟูออกแบบรองรับธุรกิจที่มีการฟื้นตัวช้า มีความยืดหยุ่นและครอบคลุมทั้งสินเชื่อใหม่และเดิมด้วยต้นทุนการเงิน(credit cost) ที่ค่อนข้างต่ำ
“การกระจายวงเงินสินเชื่อฟื้นฟู 2.5 แสนล้านบาท อาจจะไม่ได้ออกครั้งเดียว แต่จะเป็นเฟส ๆ คือ ช่วงแรก เน้นค่าใช้จ่ายของธุรกิจ ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าจ้างพนักงาน เป็นต้น และเฟสต่อไปจะเป็นการใส่เม็ดเงินเพื่อฟื้นฟูธุรกิจ ขณะที่พักทรัพย์ พักหนี้ วงเงิน 1 แสนล้านบาท ออกแบบเพื่อธุรกิจที่ฟื้นตัวช้าและใช้เวลานาน ยังไม่สามารถคาดเดาการใช้วงเงิน แต่เบื้องต้นคาดว่าการเบิกใช้วงเงินระยะแรกจะอยู่ที่ 3-5 หมื่นล้านบาท”
Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman

Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"