forex_calendar

1.  ตั้งเวลาให้ตรงกับประเทศไทยคือ (GMT+7:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta
2.  ไว้สำหรับเลือกวันที่ต้องการดูข่าว
3.  เวลาข่าวออก
4.  ตระกูลเงินของข่าว
5.  ความรุนแรงของข่าว
6.  เหตุการณ์ของข่าว
7.  ค่าตัวเลขจริงที่ออก
8.  ค่าตัวเลขคาดการณ์
9.  ค่าตัวเลขครั้งก่อน

forex_calendar

เมื่อถึงเวลาข่าวออกตัวเลขค่าจริงจะแสดงออกมาในช่อง Actual ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันดังนี้

  • ตัวเลขออกเป็นสีเขียวแสดงตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีแดงแสดงว่าตัวเลขแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ตัวเลขออกเป็นสีดำแสดงว่าตัวเลขเท่ากับค่าที่คาดการณ์หรือใกล้เคียงกับสถิติเดิม (Previous)

 

สิ่งที่ต้องสนใจในการเทรดข่าว Forex

 

1.  เรื่องค่าสกุลเงิน ถ้าเทรดสกุลไหนก็ต้องสนใจเฉพาะสกุลนั้น เช่นถ้าเราเช่น EUR/USD ก็สนใจเฉพาะข่าวของ USD และ EUR และเราต้องรู้ด้วยว่าถ้าข่าวออกมาจะทำให้ค่าเงินเราขึ้นหรือลง เช่น ถ้าเราเล่น EUR/USD ถ้าข่าวดอลลาร์สหรัฐออกมาดีแสดงคู่เงินที่มี USD อยู่หลังกราฟจะลง แต่ถ้าข่าว USD ออกมาไม่ดีกราฟจะขึ้น ในทางกลับกันถ้าข่าว EUR ออกมาดีกราฟจะขึ้นแต่ถ้าข่าว EUR ออกมาไม่ดีกราฟจะลง

2. เรื่องระดับความแรงของข่าว ระดับความแรงขอข่าวจะมีสามระดับดังรูป

forex_calendar

3. ค่าตัวเลขจริงที่ออก(Actual) ถ้าค่าตัวเล่นจริงที่ออกมาต่างจากค่าก่อนหน้า(Previous)มาก ยิ่งมีผลทำให้ค่าเงินวิ่งขึ้นลงแรงมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับความแรงของข่าวด้วย

ตราสารหนี้จีน : ทำความรู้จัก "ตราสารหนี้จีน" ที่ในอนาคตจะมีบทบาทสำคัญในฐานะแหล่งการลงทุนของโลกมากขึ้น มีกี่ประเภท?

เมื่อเทียบตลาดพันธบัตร หรือตราสารหนี้จีน กับประเทศอื่นๆ ในโลกนั้นแตกต่างอย่างไร มีจุดเด่นอย่างไรบ้าง? เพราะอะไรนักลงทุนต่างชาติจึงเข้ามาลงทุนยังไม่มาก
เชื่อว่าหลายคนคงเคยลงทุนในเงินฝาก และตราสารหนี้จีนกันมาบ้างแล้ว

โดยส่วนใหญ่มักเป็นการลงทุนผ่านกองทุนรวมในประเทศไทย ที่ไปลงทุนในเงินฝาก และตราสารหนี้ที่ผู้รับฝากเป็นธนาคารของรัฐ หรือผู้ออกเป็นรัฐวิสาหกิจในประเทศจีน
ตราสารหนี้ของจีนนั้นมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากสหรัฐฯและญี่ปุ่น โดยทั่วไปแล้วประกอบไปด้วย
1) พันธบัตรภาครัฐ (สกุลเงินหยวน) ซึ่งมีตั้งแต่ที่ไม่มีความเสี่ยงด้านเครดิตเลย จนถึงมีความเสี่ยงอยู่บ้างแต่อยู่ในระดับที่ต่ำมาก เช่น พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรมณฑล พันธบัตรเทศบาล พันธบัตรที่ออกโดยธนาคารภาครัฐ ซึ่งมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยผลตอบแทนของพันธบัตรธนาคารรัฐ จะสูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลเล็กน้อย ด้วยสภาพคล่องที่ต่ำกว่า และภาระภาษีที่เกี่ยวข้อง
2) พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ (สกุลเงินหยวน) ซึ่งไม่มีการค้ำประกันโดยรัฐบาล หรือเทศบาล เช่น พันธบัตรรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลกลาง ออกโดยรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลกลางเป็นเจ้าของ พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่ออกโดยองค์กรที่มีเทศบาลเป็นเจ้าของ เป็นต้น
3) พันธบัตรรัฐบาล หรือภาคเอกชนที่ออกในฮ่องกง (สกุลเงินหยวน) หรือมักเรียกกันว่า “พันธบัตรติ่มซำ” ซึ่งมีความเสี่ยงแตกต่างกันไปตามเครดิตของผู้ออกพันธบัตรหรือตราสารหนี้นั้นๆ พันธบัตรประเภทนี้เคยได้รับความนิยมอย่างมากในอดีต ในช่วงที่การลงทุนโดยตรงในพันธบัตรที่ออกในแผ่นดินใหญ่ยังมีการควบคุมจากรัฐบาลอย่างเข้มงวด
4) ตราสารหนี้ภาคเอกชน (สกุลเงินหยวน และ/หรือสกุลเงินดอลลาร์) เช่น พันธบัตรวิสาหกิจ ตราสารหนี้ภาคเอกชน Medium Term Notes เป็นต้น โดยมีความเสี่ยงตามระดับเครดิตของผู้ออกตราสารแต่ละราย
ลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของตลาดพันธบัตร หรือตราสารหนี้จีน เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในโลกนั้น ก็คือ การมีอัตราการผิดนัดชำระหนี้ที่ต่ำมาก ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากผู้ออกตราสารหนี้จำนวนมากนั้นอยู่ในกลุ่มภาครัฐ โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจจีนซึ่งมีมากกว่า 154,000 แห่ง ซึ่งเดิมมักถูกมองว่าได้รับการค้ำประกันแฝง (Implicit Guarantee) โดยรัฐนั่นเอง
แต่แม้จะพิจารณาข้อมูลเฉพาะในกลุ่ม “ตราสารหนี้ผลตอบแทนสูง” (High Yield Bond) อัตราการผิดนัดของตราสารหนี้จีนก็ยังคงต่ำเพียง 1.8% เท่านั้น เมื่อเทียบกับตราสารหนี้ผลตอบแทนสูงของเอเชียที่ 3.0% และสหรัฐฯที่ 6.5%
อย่างไรก็ดี แม้ว่าในระยะหลังรัฐบาลจีนเริ่มแสดงท่าทีที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นที่จะไม่อุดหนุนช่วยเหลือรัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทที่รัฐวิสาหกิจไปถือหุ้น ที่ระดมทุนมาขยายกิจการโดยไม่คำนึงถึงความเป็นไปได้ในทางธุรกิจ โดยรัฐบาลได้ปล่อยให้หลายบริษัทผิดนัดชำระหนี้ จนตลาดตราสารหนี้จีนปั่นป่วนกันไปช่วงหนึ่ง แต่หากเทียบกับตลาดตราสารหนี้จีนโดยรวมแล้ว ก็ถือว่ายังคงต่ำมาก
อัตราดอกเบี้ยของตราสารหนี้ภาคเอกชนจีนนั้นก็สูงมากโดยเปรียบเทียบ คือ เฉลี่ย 6-7% ต่อปีในรูปสกุลเงินหยวน ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา แต่แม้ผลตอบแทนจะสูงขนาดนี้ แต่กลับมีสัดส่วนการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในระดับที่ต่ำมากไม่ถึง 3% ของปริมาณตราสารหนี้ทั้งหมด (เทียบกับสัดส่วนมากกว่า 25% ในสหรัฐฯ และ 5% ในเกาหลีใต้)
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักลงทุนต่างชาติลงทุนในตลาดตราสารหนี้จีนไม่มากนักนั้น ก็เนื่องมาจากนโยบายควบคุมการไหลเข้าออกของเงินลงทุนระหว่างประเทศที่เข้มงวดของรัฐบาลจีน ซึ่งก็ได้มีการเริ่มผ่อนคลายมาอย่างต่อเนื่อง และมีนัยสำคัญอย่างยิ่งในพ.ศ. 2560 ผ่านนโยบาย Bond Connect ที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติ
สามารถซื้อขายตราสารหนี้สกุลเงินหยวนที่เสนอขายในจีนแผ่นดินใหญ่ได้อย่างสะดวกผ่านแพลตฟอร์มในฮ่องกง ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มเพิ่มการลงทุนในตราสารหนี้จีนที่อยู่ในสกุลเงินหยวนในประเทศจีนได้มากขึ้น จากเดิมที่จะเน้นลงทุนในพันธบัตรติ่มซำในฮ่องกงมากกว่า
ต่อไปในอนาคตเชื่อว่าตราสารหนี้จีนจะมีบทบาทสำคัญในฐานะแหล่งการลงทุนของโลกมากขึ้น และแม้ว่าอัตราผลตอบแทนจะเริ่มลดลงไปบ้าง ตามปริมาณความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นก็ตาม แต่ข้อดีก็คือจะมีผู้ลงทุนเข้าไปวิเคราะห์วิจัยความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสารเหล่านี้เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเมื่อประกอบกับการกระจายการลงทุนที่เพียงพอก็จะช่วยลดความเสี่ยงให้กับนักลงทุนในเชิงภาพรวมได้ดีขึ้นนั่นเอง
โดย ดารบุษป์ ปภาพจน์
คอลัมน์ INVESTMENT JOURNEY
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman

Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"